ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดโรคกระดูกและข้อ

จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลเป็นตัวชี้วัดคุณภาพของการรักษาพยาบาลที่สำคัญ ประการหนึ่ง เนื่องจากจำนวนวันนอนโรงพยาบาลที่มีระยะเวลาที่นานจะส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วย ญาติ และโรงพยาบาล การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย คัดสรร (ระดับอัลบูมินในเลือด ความสามารถในการทำกิจกรรมเมื่อแร...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อมรตา อาชาพิทักษ์, สุภาพ อารีเอื้อ, พรทิพย์ มาลาธรรม
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/52538
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลเป็นตัวชี้วัดคุณภาพของการรักษาพยาบาลที่สำคัญ ประการหนึ่ง เนื่องจากจำนวนวันนอนโรงพยาบาลที่มีระยะเวลาที่นานจะส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วย ญาติ และโรงพยาบาล การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย คัดสรร (ระดับอัลบูมินในเลือด ความสามารถในการทำกิจกรรมเมื่อแรกรับเข้าโรงพยาบาล ความ ปวดหลังผ่าตัดที่ลดลง ภาวะสับสนเฉียบพลัน จำนวนภาวะแทรกซ้อนขณะอยู่โรงพยาบาล และ จำนวนโรคประจำตัว) กับจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดโรค กระดูกและข้อ กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 99 ราย มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดโรคกระดูกและข้อในส่วนของกระดูกสันหลัง กระดูก สะโพก และข้อเข่า ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์และการบันทึกอาการตามแบบสอบถาม โดยยึดหลักการพิทักษ์สิทธิ์ผู้เข้าร่วมวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนวันนอนโรงพยาบาลตั้งแต่ 7 ถึง 81 วัน โดยมีค่าเฉลี่ย 21.16 วัน โดย ระดับอัลบูมินในเลือดและความสามารถในการทำกิจกรรมเมื่อแรกรับเข้าโรงพยาบาลมีความ สัมพันธ์ทางลบกับจำนวนวันนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดโรคกระดูกและ ข้อโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่การเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันและจำนวนภาวะ แทรกซ้อนขณะอยู่โรงพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับจำนวนวันนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วย กลุ่มดังกล่าว ผลการวิจัยนี้ ชี้ให้เห็นว่าการส่งเสริมภาวะโภชนาการ การคงไว้ซึ่งความสามารถใน การทำกิจกรรมเมื่อแรกรับเข้าโรงพยาบาลของผู้สูงอายุ การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ เกิดขึ้นในโรงพยาบาลและการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันมีความสัมพันธ์กับจำนวนวันนอนใน โรงพยาบาลที่สั้นของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดโรคกระดูกและข้อ ซึ่งน่าจะนำไปสู่การส่งเสริม ให้ผู้ป่วยฟื้นหายจากความเจ็บป่วย และกลับบ้านได้เร็วขึ้น