การส่งต่อผู้ป่วยในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (Coronavirus disease 2019) หรือ COVID-19 สามารถแพร่เชื้อได้หลายทางทั้งทางฝอยละออง ทางการสัมผัส หรือทางลมหายใจ โรคนี้เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ยังไม่มียารักษา หรือวัคซีนป้องกัน ทำให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในการ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: พรรณวิไล ตั้งกุลพานิชย์, จีรนันท์ บริบูรณ์, กษมณฑ์ อร่ามวาณิชย์, Panvilai Tangkulpanich, Jeeranun Boriboon, Kasamon Ararmvanich
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
Format: Review Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72241
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (Coronavirus disease 2019) หรือ COVID-19 สามารถแพร่เชื้อได้หลายทางทั้งทางฝอยละออง ทางการสัมผัส หรือทางลมหายใจ โรคนี้เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ยังไม่มียารักษา หรือวัคซีนป้องกัน ทำให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล ซึ่งเป็นการทำงานในสถานที่ปิดและอากาศถ่ายเทไม่ดี การประเมินผู้ป่วยก่อนการเดินทางและการเตรียมอุปกรณ์ในการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดเหตุไม่คาดคิดระหว่างเดินทาง อันจะนำไปสู่การทำหัตถการช่วยเหลือที่มักจะก่อให้เกิดฝอยละอองขนาดเล็ก ดังนั้น หากประเมินแล้วว่าผู้ป่วยอาจเกิดความเสี่ยงในระหว่างส่งต่อ บุคลากรควรทำการใส่หลอดสอดคาท่อลมในโรงพยาบาลก่อนส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ การให้ยาขยายหลอดลมควรเปลี่ยนเป็นการใช้เครื่องมือสูดพ่นยา (Metered-dose inhaler, MDI) แทนการใช้ยาพ่นเป็นละออง ดังนั้น มาตรฐานการทำงานและฝึกฝนควรประกอบด้วย การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกัน (Personal protective equipment, PPE) อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับบุคลากร รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติงาน การสื่อสาร และขั้นตอนการทำความสะอาด