CD103+ tissue resident memory T cells in oral lichen planus
โรคไลเคนแพลนัสช่องปาก เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเป็นผลมาจากความผิดปกติของทีเซลล์ที่เข้ามาในรอยโรค ทิชชูเรสซิเดนต์เม็มโมรีทีเซลล์ เป็นทีเซลล์ที่มีซีดี 103 แสดงบนผิวเซลล์ เซลล์ชนิดนี้อยู่ประจำเป็นเวลานานในเยื่อเมือกช่องปากที่เคยเกิดการอักเสบมาก่อน เพื่อทำหน้าที่ป้องกันเฉพาะส่วนต่อการรุกราน...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Theses and Dissertations |
Language: | English |
Published: |
Chulalongkorn University
2017
|
Subjects: | |
Online Access: | https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:21805 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | English |
Summary: | โรคไลเคนแพลนัสช่องปาก เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเป็นผลมาจากความผิดปกติของทีเซลล์ที่เข้ามาในรอยโรค ทิชชูเรสซิเดนต์เม็มโมรีทีเซลล์ เป็นทีเซลล์ที่มีซีดี 103 แสดงบนผิวเซลล์ เซลล์ชนิดนี้อยู่ประจำเป็นเวลานานในเยื่อเมือกช่องปากที่เคยเกิดการอักเสบมาก่อน เพื่อทำหน้าที่ป้องกันเฉพาะส่วนต่อการรุกรานของจุลชีพก่อโรคได้อย่างรวดเร็ว เซลล์ชนิดนี้ยังถูกคาดคะเนว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคหลายโรค รวมไปถึงโรคไลเคนแพลนัสช่องปากด้วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบจำนวนและสัดส่วนของซีดี 103+ ทิชชูเรสซิเดนต์เม็มโมรีทีเซลล์ ระหว่างเนื้อเยื่อโรคไลเคนแพลนัสช่องปาก กับเยื่อเมือกช่องปากปกติ การศึกษาทำโดยนำเนื้อเยื่อทั้ง 2 ชนิด ชนิดละ 15 ชิ้น มาย้อมด้วยแอนติบอดีต่อซีดี 3, ซีดี 4, ซีดี 8 และซีดี 103 ด้วยวิธีทางอิมมูโนฮิสโตเคมี จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาทดสอบทางสถิติ ซึ่งประกอบด้วย Unpaired t-test, Paired t-test, Mann-Whitney U test และ Wilcoxon Signed Ranks test โดยกำหนดให้ p < 0.05 มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า เนื้อเยื่อโรคไลเคนแพลนัสช่องปากมีจำนวนซีดี 3+, ซีดี 4+, ซีดี 8+ และซีดี 103+ เซลล์ ต่อพื้นที่ (เซลล์/ตารางมิลลิเมตร) มากกว่าเยื่อเมือกปกติ (p < 0.001) โดยเซลล์เหล่านี้ถูกพบอยู่ในชั้นเนื้อเยื่อยึดต่อใต้เยื่อบุผิว มากกว่าในชั้นเยื่อบุผิว (p < 0.005) เนื้อเยื่อโรคไลเคนแพลนัสช่องปากยังมีร้อยละของซีดี 103+ เซลล์ ต่อซีดี 3+ เซลล์ ในชั้นเนื้อเยื่อยึดต่อใต้เยื่อบุผิว มากกว่าเยื่อเมือกปกติ (p < 0.001) แต่ไม่พบความแตกต่างกันในชั้นเยื่อบุผิวระหว่างเนื้อเยื่อทั้ง 2 ชนิด (p = 0.062) นอกจากนี้ยังพบว่า เนื้อเยื่อโรคไลเคนแพลนัสช่องปากมีร้อยละของซีดี 103+ เซลล์ ต่อซีดี 3+ เซลล์ ในชั้นเนื้อเยื่อยึดต่อใต้เยื่อบุผิว น้อยกว่าในชั้นเยื่อบุผิวด้วย (p < 0.001) โดยสรุป การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า เนื้อเยื่อโรคไลเคนแพลนัสช่องปากมีความหนาแน่นของซีดี 103+ เซลล์ เพิ่มขึ้นจากเยื่อเมือกปกติหลายเท่า ซึ่งอาจบ่งบอกได้ว่า ซีดี 103+ ทิชชูเรสซิเดนต์เม็มโมรีทีเซลล์ อาจมีความสัมพันธ์กับพยาธิกำเนิดของโรคไลเคนแพลนัสช่องปาก |
---|