Comparison of time to umbilical cord separation using 3 cord-care regimens : triple dye, alcohol and no antiseptic agent
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระยะเวลาการหลุดของสายสะดือทารกเปรียบเทียบระหว่างการเช็ดสะดือที่บ้านด้วยทริปเปอร์ดายส์ แอลกอฮอล์ และไม่ใช้สารป้องกันการติดเชื้อใด ๆ ตลอดจนเปรียบเทียบความพึงพอใจของบิดา มารดา อัตราการพบเชื้อแบคทีเรียที่สะดือ และความชุกของภาวะแทรกซ้อน ของการเช็ดสะดือทั้ง 3 วิธี รูปแบบการวิจัย :...
محفوظ في:
المؤلف الرئيسي: | |
---|---|
مؤلفون آخرون: | |
التنسيق: | Theses and Dissertations |
اللغة: | English |
منشور في: |
Chulalongkorn University
2003
|
الموضوعات: | |
الوصول للمادة أونلاين: | https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:31306 |
الوسوم: |
إضافة وسم
لا توجد وسوم, كن أول من يضع وسما على هذه التسجيلة!
|
الملخص: | วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระยะเวลาการหลุดของสายสะดือทารกเปรียบเทียบระหว่างการเช็ดสะดือที่บ้านด้วยทริปเปอร์ดายส์ แอลกอฮอล์ และไม่ใช้สารป้องกันการติดเชื้อใด ๆ ตลอดจนเปรียบเทียบความพึงพอใจของบิดา มารดา อัตราการพบเชื้อแบคทีเรียที่สะดือ และความชุกของภาวะแทรกซ้อน ของการเช็ดสะดือทั้ง 3 วิธี รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงทดลองทางคลินิก แบบสุ่มตัวอย่าง สถานที่ทำการวิจัย : โรงพยาบาลพระมงกุฎ เกล้า ระเบียบวิธีวิจัย : ทารกครบกำหนดที่คลอดในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าและเข้าเกณฑ์การคัดเลือก จะได้รับการสุ่มเข้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตามชนิดของสารที่ใช้เช็ดสะดือที่บ้าน คือ กลุ่ม 1: ทริปเปอร์ดายส์ กลุ่ม 2: แอลกอฮอล์ หรือ กลุ่ม 3: เช็ดสะดือให้แห้งโดยไม่ใช้สารป้องกันการติดเชื้อ ทารกทุกรายได้รับ การเช็ดสะดือด้วยทริปเปอร์ดายส์ขณะอยู่ในโรงพยาบาลภายหลังกลับบ้าน ทารกจะได้รับ การเยี่ยมบ้านเพื่อประเมิน วิธีการทำความสะอาดสะดือ และทำการเพาะเชื้อที่สะดือ เมื่อทารกอายุ 1 เดือน ผู้วิจัยจะประเมินสุขภาพของทารก สอบถามบิดามารดาถึงระยะเวลาที่สะดือหลุด ความพึงพอใจ และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ผลการศึกษา: ทารกที่ทำการศึกษาในแต่ละกลุ่ม จำนวน 63 , 60 และ 62 รายตามลำดับ มีลักษณะพื้นฐานคล้ายคลึงกัน ยกเว้นอัตราการคลอดโดยการผ่าตัด ในกลุ่ม 1 สูงกว่าในกลุ่มอื่น ระยะเวลาที่สะดือหลุด ในทารกกลุ่ม 1 จะ นานกว่ากลุ่ม 2 (p = 0.036) และ 3 (p = 0.003) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่สะดือหลุด คือ 16.25 ± 6.29 , 13.79 ± 4.26 และ 13.12 ± 3.82 วัน ตามลำดับ ปัจจัยต่าง ๆ เช่น น้ำหนักแรกเกิด วิธีการและการอาบ น้ำ ไม่มีผลต่อ ระยะเวลาการหลุดของสะดือ คะแนนความพึงพอใจของบิดามารดาในทารกกลุ่ม 1 จะตํ่ากว่าในกลุ่ม 2 (p = 0.019 ) และ 3 (p < 0.01 ) อย่างมีสำคัญทางสถิติ ผลการเพาะเชื้อที่สะดือจำนวน 180 ราย พบเชื้อแบคทีเรียทุก ราย โดยพบแบคทีเรียแกรมลบร้อยละ 95 ส่วน staphylococcus พบเพียงร้อยละ 30 ไม่พบความแตกต่างของชนิดและอัตราการพบแบคทีเรียในทารกแต่ละกลุ่ม อย่างไรก็ตามไม่พบภาวะสะดืออักเสบในท ารกที่ทำการศึกษา ทารก 2 รายในกลุ่ม 1 และ 1 รายในกลุ่ม 2 ได้รับ การวินิจฉัย ว่ามีภาวะติดเชื้อและได้รับการรักษด้วยยาปฏิชีวนะ สรุป : ระยะเวลาที่สะดือหลุดเมื่อเช็ดสะดือที่บ้านด้วยแอลกอฮอล์หรือไม่ใช้สารป้องกันการติดเชื้อ สั้นกว่าและเป็นที่ยอมรับของบิดามารดามากกว่าการเช็ด สะดือด้วยทรีป เปอร์ดายล์ การเช็ดสะดือด้วยแอลกอฮอล์หรือการเช็ดสะดือให้แห้งโดยไม่ใช้สารป้องกัน การติดเชื้อจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการดูแลสะดือทารกที่บ้าน |
---|