Coastline change due to storm surge during 1989–2006 at Amphoe Hua Hin, Changwat Prachuap Khiri Khan, Southern Thailand

ชายหาดอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นชายหาดที่ได้รับความนิยมในการท่องเที่ยวทั้งชายไทยและชาวต่างชาติ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันชายหาดหัวหินกำลังประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งการศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งในระยะสั้นอันเนื่องมาจากน้ำขึ้นจากพายุที่ชายฝั่งอำเภอหัวหิน จังหวัดประจ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: Wasuntra Chairat
Other Authors: Sathon Vijanwannaruk
Format: Theses and Dissertations
Language:English
Published: Chulalongkorn University 2008
Subjects:
Online Access:https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:38483
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: English
Description
Summary:ชายหาดอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นชายหาดที่ได้รับความนิยมในการท่องเที่ยวทั้งชายไทยและชาวต่างชาติ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันชายหาดหัวหินกำลังประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งการศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งในระยะสั้นอันเนื่องมาจากน้ำขึ้นจากพายุที่ชายฝั่งอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในกรณีพายุเกย์เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 อำเภอประทิว จังหวัดชุมพร และพายุไต้ฝุ่นลินดาเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนี้ยังศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งอันเนื่องมาจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงในปี พ.ศ. 2549 โดยใช้เทคนิครีโมทเซนซิ่ง วิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแลนด์แซททีเอ็ม ในช่วงก่อนและหลังการเกิดพายุในปี 2532, 2540 และวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแลนด์แซททีเอ็ม ในช่วงก่อนและหลังช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงในปี 2549 ประกอบกันการศึกษาข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาเพื่อวิเคราะห์ความเร็วลม ทิศทางลม และความสูงคลื่น โดยในพื้นที่ศึกษานี้ได้มีการรายงานพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการกัดเซาะชายฝั่งได้ปานกลาง 1-5 เมตรต่อปีจากการศึกษาพบการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งในช่วงการเกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ 25.39 เมตร การกัดเซาะในช่วงการเกิดพายุไต้ฝุ่นลินดา 10.36 เมตร และการกัดเซาะในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรง 1.23 เมตร โดยค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนกำลังสอง (RMSE) น้อยกว่า 0.15 ซึ่งบริเวณที่ถูกกัดเซาะสูงสุดอยู่บริเวณพื้นที่ชายฝั่งหน้าสนามบินหัวหินถึงสะพานปลา ในเหตุการณ์เกิดพายุการกัดเซาะมีมากเนื่องจากลมพัดตั้งฉากเข้าสู่ชายฝั่งด้วยกำลังแรง ส่วนในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรง ลมพัดขนานกับชายฝั่งทำให้เกิดการกัดเซาะน้อย และจากการศึกษาในระยะยาวจากพ.ศ.2532-2549 พบว่าพื้นที่เกิดการกัดเซาะ 16.63 เมตร แสดงให้เห็นว่าหลังจากเหตุการณ์การกัดเซาะชายฝั่งจากพายุ ชายฝั่งเกิดการทับถมอย่างต่อเนื่องโดยมีการสะสมตัวมากกว่ากัดเซาะซึ่งขัดแย้งกับรายงานพื้นที่เสี่ยงภัยก่อนหน้านี้ ดังนั้นจากผลการศึกษานี้จะช่วยให้การศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งในอนาคตถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น