Involvement of cathepsin in apoptosis of the black tiger shrimp infected with white spot syndrome virus
จากรายงานก่อนหน้านี้มีการตรวจพบการเกิดอะพอพโทซิสในกุ้งกุลาดำที่ติดเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว โดยการเกิดอะพอพโทซิสอาจเป็นสาเหตุให้กุ้งที่ติดเชื้อตาย และมีรายงานว่าโปรตีนในกลุ่ม cathepsin สามารถกระตุ้นให้เกิดอะพอพโทซิสในสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด สำหรับกุ้งกุลาดำที่ติดเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาวจะมีการแสดงออ...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Theses and Dissertations |
Language: | English |
Published: |
Chulalongkorn University
2007
|
Online Access: | https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:38639 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Summary: | จากรายงานก่อนหน้านี้มีการตรวจพบการเกิดอะพอพโทซิสในกุ้งกุลาดำที่ติดเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว โดยการเกิดอะพอพโทซิสอาจเป็นสาเหตุให้กุ้งที่ติดเชื้อตาย และมีรายงานว่าโปรตีนในกลุ่ม cathepsin สามารถกระตุ้นให้เกิดอะพอพโทซิสในสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด สำหรับกุ้งกุลาดำที่ติดเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาวจะมีการแสดงออกของ mRNA ของ cathepsin L เพิ่มขึ้นในต่อมน้ำเหลือง ดังนั้นในงานวิจัยนี้จะศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่าง cathepsin L กับการเกิดอะพอพโทซิสในกุ้งกุลาดำที่มีการติดเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว การตรวจหาโปรตีน cathepsin L ด้วยเทคนิค Western blot ในเม็ดเลือด หัวใจ ตับ และต่อมน้ำเหลือง พบโปรตีนขนาด 28 กิโลดาลตัน ในตับเพียงอวัยวะเดียว ขณะที่ผลของ immunohistochemistry ใน cephalothorax พบ cathepsin L ใน B เซลล์ของตับ และใน spheroid ของต่อมน้ำเหลือง นอกจากนี้ระดับของโปรตีน cathepsin L ใน spheroid ของกุ้งกุลาดำที่ติดเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว มีระดับลดลงที่ 24 ชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบกับกุ้งกุลาดำที่ฉีดด้วยน้ำเลี้ยงเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว (LHM) การศึกษาความเกี่ยวข้องของ cathepsin L ต่อการเกิดอะพอพโทซิสในเซลล์ปฐมภูมิของต่อมน้ำเหลือง พบว่าเซลล์ที่มีการเติม actinomycin D และตัวยับยั้ง caspase 3 หรือ actinomycin D และตัวยับยั้ง cathepsin L มีเปอร์เซ็นต์การตายของเซลล์ลดลงเมื่อเทียบกับเซลล์ที่มีการเติม actinomycin D เพียงอย่างเดียว และยังพบว่าความเข้มข้นที่เหมาะสมของตัวยับยั้ง caspase 3 และ cathepsin L คือ 0.5 และ 1 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเมื่อทำการตรวจสอบการเกิดอะพอพโทซิสด้วยวิธี DNA laddering พบว่าลักษณะดีเอ็นเอที่มีการเกิดอะพอพโทซิสของเซลล์ที่เติม actinomycin D 40 นาโนโมลาร์ ทั้งที่มีการเติมและไม่ได้เติมตัวยับยั้ง จะมีขนาดประมาณ 200 คู่เบส จากผลการเลี้ยงเซลล์พบว่า cathepsin L เกี่ยวข้องกับการเกิดอะพอพโทซิส นอกจากนี้ procathepsin L ได้ถูกนำไปผลิตในระบบของ E.coli BL21(DE3) เพื่อยืนยันหน้าที่ของ cathepsin L แต่เนื่องจากรีคอมบิแนนต์ procathepsin L ไม่สามารถกระตุ้นตัวเองได้ในสภาวะกรด ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นรีคอมบิแนต์ cathepsin L ที่ทำงานได้ |
---|