SURFACTANT SELECTION FOR ENHANCING EMULSION MOBILITY USING INTERFACIAL TENSION MEASUREMENT
การเคลื่อนที่ของอิมัลชันเป็นลักษณะสำคัญของของไหลที่ช่วยเพิ่มการผลิตน้ำมัน ในงานวิจัยนี้สารลดแรงตึงผิวถูกนำมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มการเคลื่อนที่ของอิมัลชัน โดยหน้าที่หลักของสารนี้คือจะช่วยลดแรงตึงระหว่างผิวของของไหลทั้งสองชนิดและจะทำให้อิมัลชันเคลื่อนที่ได้ง่ายในแหล่งกักเก็บ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือท...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Theses and Dissertations |
Language: | English |
Published: |
Chulalongkorn University
2016
|
Online Access: | https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:48089 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | English |
Summary: | การเคลื่อนที่ของอิมัลชันเป็นลักษณะสำคัญของของไหลที่ช่วยเพิ่มการผลิตน้ำมัน ในงานวิจัยนี้สารลดแรงตึงผิวถูกนำมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มการเคลื่อนที่ของอิมัลชัน โดยหน้าที่หลักของสารนี้คือจะช่วยลดแรงตึงระหว่างผิวของของไหลทั้งสองชนิดและจะทำให้อิมัลชันเคลื่อนที่ได้ง่ายในแหล่งกักเก็บ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือทำการวัดค่าแรงตึงระหว่างผิวภายใต้เงื่อนไขแหล่งกักเก็บน้ำมันในประเทศไทย และทำการวิเคราะห์ผลกระทบของพารามิเตอร์ต่างๆในแหล่งกักเก็บที่อาจจะส่งผลต่อการลดค่าแรงตึงระหว่างผิว เช่น ความดัน อุณหภูมิ ค่าความเค็ม ชนิดของสารลดแรงตึงผิว และค่าความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิว ผลการทดลองพบว่า ความดันในช่วง 1,000 ถึง 2,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ณ อุณหภูมิคงที่ มีผลกระทบต่อแรงตึงผิวน้อย สำหรับผลกระทบจากชนิดของสารลดแรงตึงผิวที่ระดับความเข้มข้นที่เท่ากัน สารที่ให้ประสิทธิภาพสูงที่สุดคือ สารโมโนเอทาโนลามีน สารดังกล่าวมีความเป็นเบสเนื่องจากในส่วนหัวของโมเลกุลมีกลุ่มของแอมีน จึงทำให้มีความสามารถในการผลิตสารลดแรงตึงผิวภายในได้มากขึ้น ความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิวมีบทบาทสำคัญในการลดแรงตึงระหว่างผิวโดยมีผลมากถึง 87.13% ส่วนการเพิ่มอุณหภูมิจาก 70 ถึง 90 องศาเซลเซียส จะมีผลต่อการลดแรงตึงผิวเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้แรงตึงผิวจะลดลงเมื่อเพิ่มความเค็มของสารละลาย อย่างไรก็ตามหากความเค็มสูงเกินไปจะไม่สามารถช่วยลดแรงตึงผิวได้ ส่วนไดวาเลนต์ไอออนส่งผลกระทบต่อค่าความตึงผิวค่อนข้างน้อย จากการศึกษาผลกระทบของพารามิเตอร์ต่างๆเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความเข้าใจกระบวนการในการลดค่าความตึงระหว่างผิว และจะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำไปใช้ในอนาคตสำหรับการเพิ่มการผลิตน้ำมัน |
---|