ข้อฉงนในภาพ “ลาส เมนินาส” (Las Meninas) และการหยิบยืม มาถ่ายทอดใหม่ของศิลปินรุ่นหลัง

วารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ ส...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: รสลิน กาสต์
Format: บทความวารสาร
Language:Tha
Published: คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2019
Online Access:https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77664/62287
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65022
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chiang Mai University
Language: Tha
id th-cmuir.6653943832-65022
record_format dspace
spelling th-cmuir.6653943832-650222019-05-07T10:02:37Z ข้อฉงนในภาพ “ลาส เมนินาส” (Las Meninas) และการหยิบยืม มาถ่ายทอดใหม่ของศิลปินรุ่นหลัง Las Meninas, Questions and Inspiration for New Generations. รสลิน กาสต์ วารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี) ลาส เมนินาส (Las Meninas) จิตรกรรมชิ้นสำคัญโดย ดิเอโก เวลาสเกวซ (Diego Velázquez) แสดงเรื่องราวภายในราชสำนักสเปนในช่วงศตวรรษที่ 17 ภาพขนาดใหญ่นี้นอกจากสร้างความพิเศษทางการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกและการสร้างองค์ประกอบภาพแล้ว บุคคลในภาพยังสร้างข้อฉงนให้เกิดการถกเถียงกันในวงวิชาการศิลปะอย่างไม่จบสิ้น ภาพนี้จึงยังคงเป็นโจทย์ที่น่าสนใจอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ที่ดูเหมือนจะได้คำตอบหลายข้อแต่ก็ยังไม่เป็นข้อสรุปอย่างแท้จริง จนกว่าจะค้นพบข้อสรุปที่ปราศจากการแย้งได้แต่ประการใด ในขณะเดียวกัน ภาพลาส เมนินาส ก็ยังคงเสน่ห์เต็มเปี่ยมให้ศิลปินรุ่นต่อมาได้ต่อยอดสร้างสรรค์กันอย่างหลากหลายโดยเฉพาะฟรานซิสโก เดอ โกย่า (Francisco de Goya) ปาโบล ปิกัสโซ (Pablo Picasso) และซาลวาดอร์ ดาลี (Salvador Dali) ซึ่งเป็นศิลปินชาวสเปนเช่นเดียวกันกับเวลาสเกวซ โกย่าใช้วิธีการคัดลอกศึกษาทุกอย่างในภาพลาส เมนินาส โดยสร้างออกมาเป็นภาพพิมพ์ขาวดำ ส่วนในการสร้างงานจิตรกรรมนั้นโกย่านำเฉพาะลักษณะบางอย่างมาใช้ในการปรับเขียนภาพราชวงศ์ใหม่ ด้วยการเขียนให้มีรูปตนเองร่วมอยู่ในเหตุการณ์ภายในภาพเช่นเดียวกับที่เวลาสเกวซเขียนให้ตัวเองเป็นศิลปินยืนตรงหน้าผืนผ้าใบกำลังเขียนภาพอยู่ ผลงานของโกย่าแม้จะรับอิทธิพลจากเวลาสเกวซ แต่วิธีการปรับมาสร้างใหม่ของเขาก็เต็มไปด้วยคุณค่าทางสุนทรียะสูงเช่นกัน โดยเฉพาะการเขียนรายละเอียดของฉลองพระองค์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ สามารถรับรู้ได้ถึงความวิจิตรยิ่ง ในความเป็นปิกัสโซซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำลัทธิคิวบิสม์ ปิกัสโซได้นำภาพลาส เมนินาส มาถ่ายทอดใหม่โดยการวิเคราะห์โครงสร้างและรูปทรง สร้างสรรค์พัฒนาออกมาหลายภาพ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อนไปจนถึงเรียบง่ายหรือแม้แต่การใช้สีตั้งแต่โครงสีเทาไปจนถึงสีที่สดจัดของแม่สีก็ตาม ทุกภาพต่างถูกปรับเข้าสู่ลักษณะคิวบิสม์ทั้งสิ้น เป็นลาส เมนินาส ในบริบทปิกัสโซอย่างแท้จริง สำหรับดาลีแล้ว เวลาสเกวซ คือ ศิลปินชาวสเปนที่เขายกย่องมากที่สุด บุคคลในภาพลาส เมนินาส คือ สาระสคัญที่ดาลีนำมาสร้างสรรค์ร่วมกับจินตนาการเหนือจริงของเขา นอกจากจะนำภาพเวลาสเกวซมาสร้างใหม่ทั้งในงานจิตรกรรม และประติมากรรมแล้ว ยังนำภาพพระธิดาน้อยมาร์การิต้ามาปรับเขียนใหม่หลายภาพในลักษณะเซอร์เรียลิสม์ สะท้อนภาวะ 2 นัยยะ และยังปรากฏตัวในที่แปลกประหลาด ส่วนบุคคลอื่นๆ ที่เวลาสเกวซเขียนให้เป็นเพียงส่วนประกอบนั้น ได้ถูกดาลีนำมาเป็นสาระสำคัญในงานของเขา จินตนาการที่สร้างความฉงนสนเท่ห์ต่อผู้ชมล้วนเป็นสิ่งที่ดาลีปล่อยให้เป็นการหยั่งรู้ของผู้ชมทั้งสิ้น มนต์ขลังของลาส เมนินาส มิได้จบลงเพียงนี้ ศิลปินสเปนรุ่นต่อมาจนถึงศตวรรษที่ 21 ก็ยังนำมาสร้างใหม่กันอย่างจริงจังและน่าสนใจยิ่ง และเป็นที่แน่นอนว่าศิลปินต่างชาติทั่วโลกก็ไม่สามารถมองผ่านไปได้ การหยิบยืมภาพลาส เมนินาส มาสร้างใหม่ในบริบทของตนเองจึงปรากฏให้เห็นอยู่เสมอและได้รับการตอบรับจากผู้ชมมาตลอดเช่นกัน 2019-05-07T10:02:37Z 2019-05-07T10:02:37Z 2555 บทความวารสาร 1906-0572 https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77664/62287 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65022 Tha คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
institution Chiang Mai University
building Chiang Mai University Library
country Thailand
collection CMU Intellectual Repository
language Tha
description วารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)
format บทความวารสาร
author รสลิน กาสต์
spellingShingle รสลิน กาสต์
ข้อฉงนในภาพ “ลาส เมนินาส” (Las Meninas) และการหยิบยืม มาถ่ายทอดใหม่ของศิลปินรุ่นหลัง
author_facet รสลิน กาสต์
author_sort รสลิน กาสต์
title ข้อฉงนในภาพ “ลาส เมนินาส” (Las Meninas) และการหยิบยืม มาถ่ายทอดใหม่ของศิลปินรุ่นหลัง
title_short ข้อฉงนในภาพ “ลาส เมนินาส” (Las Meninas) และการหยิบยืม มาถ่ายทอดใหม่ของศิลปินรุ่นหลัง
title_full ข้อฉงนในภาพ “ลาส เมนินาส” (Las Meninas) และการหยิบยืม มาถ่ายทอดใหม่ของศิลปินรุ่นหลัง
title_fullStr ข้อฉงนในภาพ “ลาส เมนินาส” (Las Meninas) และการหยิบยืม มาถ่ายทอดใหม่ของศิลปินรุ่นหลัง
title_full_unstemmed ข้อฉงนในภาพ “ลาส เมนินาส” (Las Meninas) และการหยิบยืม มาถ่ายทอดใหม่ของศิลปินรุ่นหลัง
title_sort ข้อฉงนในภาพ “ลาส เมนินาส” (las meninas) และการหยิบยืม มาถ่ายทอดใหม่ของศิลปินรุ่นหลัง
publisher คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
publishDate 2019
url https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77664/62287
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65022
_version_ 1681426191169355776