การคัดเลือกและการจำแนกชนิดแบคทีเรียเอนโดไฟท์ จากดินปลูกข้าวหอมมะลิแดงอินทรีย์
จุลินทรีย์มีความสัมพันธ์กับพืช มีแบคทีเรียเอนโดไฟท์อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อพืชโดยไม่ก่ออันตราย ซึ่งแบคทีเรียกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและน่าจะประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกข้าวอินทรีย์ได้ งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติของดิน คัดเลือก และจำแนกช...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Format: | Article |
Published: |
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2019
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65222 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chiang Mai University |
Summary: | จุลินทรีย์มีความสัมพันธ์กับพืช มีแบคทีเรียเอนโดไฟท์อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อพืชโดยไม่ก่ออันตราย ซึ่งแบคทีเรียกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและน่าจะประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกข้าวอินทรีย์ได้ งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติของดิน คัดเลือก และจำแนกชนิดของแบคทีเรียเอนโดไฟท์ที่สามารถละลายฟอสเฟตและผลิตกรดอินโดลซิติกจากข้าวหอมมะลิแดงเกษตรอินทรีย์อายุ 10 ปี พบว่า ดินมีอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ความหนาแน่นดิน ความจุความชื้นภาคสนาม และสภาพการนำน้ำขณะอิ่มตัวของดิน อยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง และพบว่า มีแบคทีเรียเอนโดไฟท์ที่ละลายฟอสเฟตได้ดี ได้แก่ แบคทีเรีย RSPVK-2, RRPVK-4, RRTSA-5, RRTSA-6, RLISP2-1, RRTSA-3, RRPVK-1, RRTSA-1 และ RSISP2-1 ที่ละลายฟอสเฟตได้ 191.78, 92.65, 91.80, 73.22, 73.17, 71.23, 70.93, 69.93 และ 67.49 มิลลิกรัมฟอสเฟตต่อลิตร ตามลำดับ ซึ่งแบคทีเรีย RSTSA-6 ยังสามารถผลิตกรดอินโดลอะซิติกได้ 20.55 มิลลิกรัมต่อลิตร การจำแนกชนิดของแบคทีเรียข้างต้นโดยดูลำดับเบส 16S rRNA พบว่า แบคทีเรีย RSPVK-2, RRPVK-4, RRTSA-6, RLISP2-1, RRTSA-1 และ RSISP2-1 เป็น Burkholderia cenocepacia, Paenibacillus favisporus, Paenibacillus alvei, Bacillus thuringiensis, Bacillus subtilis และ Ralstonia pickettii ตามลำดับ ส่วน RRTSA-5, RRTSA-3, RRPVK-1 เป็น Bacillus pumilus |
---|