ผลของกระบวนการผลิตต่อคุณภาพของสตาร์ชข้าวเหนียว

วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: สุพัตรา งามอุรุเลิศ
Other Authors: สายวรุฬ ชัยวานิชศิริ
Format: Theses and Dissertations
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2009
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10486
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
id th-cuir.10486
record_format dspace
institution Chulalongkorn University
building Chulalongkorn University Library
country Thailand
collection Chulalongkorn University Intellectual Repository
language Thai
topic สตาร์ช
ข้าวเหนียว
spellingShingle สตาร์ช
ข้าวเหนียว
สุพัตรา งามอุรุเลิศ
ผลของกระบวนการผลิตต่อคุณภาพของสตาร์ชข้าวเหนียว
description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
author2 สายวรุฬ ชัยวานิชศิริ
author_facet สายวรุฬ ชัยวานิชศิริ
สุพัตรา งามอุรุเลิศ
format Theses and Dissertations
author สุพัตรา งามอุรุเลิศ
author_sort สุพัตรา งามอุรุเลิศ
title ผลของกระบวนการผลิตต่อคุณภาพของสตาร์ชข้าวเหนียว
title_short ผลของกระบวนการผลิตต่อคุณภาพของสตาร์ชข้าวเหนียว
title_full ผลของกระบวนการผลิตต่อคุณภาพของสตาร์ชข้าวเหนียว
title_fullStr ผลของกระบวนการผลิตต่อคุณภาพของสตาร์ชข้าวเหนียว
title_full_unstemmed ผลของกระบวนการผลิตต่อคุณภาพของสตาร์ชข้าวเหนียว
title_sort ผลของกระบวนการผลิตต่อคุณภาพของสตาร์ชข้าวเหนียว
publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
publishDate 2009
url http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10486
_version_ 1681413946072891392
spelling th-cuir.104862009-08-25T10:35:17Z ผลของกระบวนการผลิตต่อคุณภาพของสตาร์ชข้าวเหนียว Effect of processing on the quality of glutinous rice starch สุพัตรา งามอุรุเลิศ สายวรุฬ ชัยวานิชศิริ กัลยา เลาหสงคราม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ สตาร์ช ข้าวเหนียว วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวิธีการโม่ และชนิดและความเข้มข้นของสารละลายที่ใช้ในการสกัดโปรตีนต่อคุณภาพของสตาร์ชข้าวเหนียวพันธุ์กข 6 ขั้นแรกเตรียมแป้งโดยนำเมล็ดข้าวเหนียวมาโม่ด้วยวิธีโม่แห้ง โม่เปียก และโม่ผสม แล้วศึกษาสมบัติทางเคมีกายภาพของแป้งที่โม่ได้ จากนั้นนำแป้งที่ได้มา สกัดโปรตีน โดยใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้น 0.2-0.5%(w/w) สารละลายโซเดียมคาร์บอเนต ความเข้มข้น 1.0-4.0%(w/w) และสารละลายโดเดซิลเบนซินซัลโฟเนต ความเข้มข้น 0.9-1.5%(w/w) โดยใช้อัตราส่วน แป้ง:สารละลาย = 1:3 (w/v) ศึกษาสมบัติทางเคมีกายภาพของสตาร์ชที่ผลิตได้ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีพบว่าข้าวเหนียวพันธุ์กข 6 มีปริมาณคาร์โบไฮเดรต สตาร์ชทั้งหมด โปรตีน เถ้า ไขมัน เส้นใย และอะไมโลส เท่ากับ 89.70, 89.04, 9.30, 0.52, 0.23, 0.29 และ 5.56 % โดยน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ จากการเตรียมแป้ง พบว่าแป้งโม่เปียกมีปริมาณโปรตีน ปริมาณผลผลิต ปริมาณ Damaged starch น้อยที่สุด แต่มีปริมาณสตาร์ชทั้งหมดมากที่สุด (p [น้อยกว่าหรือเท่ากับ] 0.05) เมื่อศึกษาสมบัติทางความหนืดโดยใช้เครื่อง Rapid Visco Analyser (RVA) พบว่าแป้งโม่เปียกมีค่าความหนืดสูงสุด (Peak viscosity) และค่าผลต่างระหว่างความหนืดสูงสุดและความหนืดต่ำสุด (Breakdown) สูงที่สุด แต่มีค่าการคืนตัว (Setback) และอุณหภูมิเริ่มต้นในการเกิดเจล (Pasting temperature) ต่ำที่สุด จากการศึกษาสมบัติทางเคมีกายภาพของสตาร์ชที่ผลิตได้ พบว่าสตาร์ชที่ได้จากแป้งโม่เปียกมีปริมาณโปรตีน ไขมัน เส้นใย เถ้า และปริมาณ Damaged starch น้อยที่สุด ส่วน สตาร์ชที่ได้จากแป้งโม่แห้งมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต ปริมาณสตาร์ชทั้งหมด และปริมาณผลผลิตน้อยที่สุด เมื่อความเข้มข้นของสารละลายที่ใช้ในการสกัดเพิ่มขึ้น ปริมาณโปรตีน ไขมัน เส้นใย และปริมาณผลผลิตของสตาร์ชที่ผลิตได้มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ปริมาณเถ้า ปริมาณ Damaged starch คาร์โบไฮเดรต และ สตาร์ชทั้งหมดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าสตาร์ชที่ผลิตได้มีปริมาณอะไมโลสไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อวิเคราะห์สมบัติทางความหนืด พบว่าสตาร์ชจากการโม่เปียกมีค่า Peak viscosity และ Breakdown สูงที่สุด แต่มีค่า Setback ต่ำสุด และเมื่อความเข้มข้นของสารละลายที่ใช้ในการสกัดโปรตีนเพิ่มขึ้น สตาร์ชที่ได้จะมีค่า Peak viscosity ลดลง เมื่อวิเคราะห์สมบัติทางความร้อนด้วยเครื่อง Differential Scanning Calorimeter พบว่าสตาร์ชที่ได้มีค่า Onset temperature ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) สตาร์ชจากการโม่เปียกมีค่า Peak temperature ต่ำสุด แต่มีค่าเอนทาลปีของการเกิดเจลาติไนซ์สูงสุด และสตาร์ชมีค่า Peak temperature สูงขึ้นเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายที่ใช้ในการสกัดโปรตีน นอกจากนี้สตาร์ชจากการโม่เปียกยังมีค่า Freeze-thaw stability สูงที่สุด The effects of milling methods, type and concentration of protein extraction solutions on the quality of glutinous rice (RD6) starch were investigated. Three milling methods (dry, wet, and mix milling) and three protein extraction conditions (aqueous solutions of sodium hydroxide at 0.2-0.5%, sodium carbonate at 1-4%, and dodecylbenzene sulfonate (DoBS) at 0.9-1.5%) were used. The physicochemical properties and thermal properties of the flours and starches were analyzed. The results from the chemical analysis showed that the RD6 contained 89.70% carbohydrate, 89.40% total starch, 9.30% protein, 0.52% ash, 0.23% fat, 0.29% fiber, and 5.56% amylose content. The wet-milled flour had the lowest % protein, % yield, and % damaged starch, and had the highest % total starch (p [is less than or equal to] 0.05). From the rheological measurement using the Rapid Visco Analyser (RVA), it was found that the wet-milled flour had the highest peak viscosity and breakdown and had the lowest setback and pasting temperature. The results from the physicochemical measurement of starches showed that all wet-milled starches had the lowest % protein, % fat, % fiber, % ash, and % damaged starch while the dry-milled starches had the lowest % carbohydrate, % total starch, and % yield. Increasing the concentration of extract solution would decreased % yield, % protein, % fat, and % fiber in the starch, but increase % ash, % carbohydrate, % damaged starch, and % total starch. Starches obtained from all conditions had the similar amount of % amylose content (p>0.05). From the RVA, it was found that the wet-milled starches had the highest peak viscosity and breakdown and the lowest setback. The peak viscosity decreased as the concentration of the extract solution increased. Results from the thermal analysis using DSC showed that the wet-milled starches had the lowest peak temperature with the highest enthalpy of gelatinization and there was no significant difference on the onset temperature of each starch (p>0.05). Increasing concentration of extract solution would increase the peak temperature. Finally the wet-milled starches had the highest freeze-thaw stability. 2009-08-25T10:35:17Z 2009-08-25T10:35:17Z 2545 Thesis 9741731512 http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10486 th จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1169801 bytes application/pdf application/pdf จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย