ศึกษาปริมาณการแสดงออกของยีนตัวขนส่งกรดอะมิโน ATA2, LAT2, 4F2hc, ASCT1, ATB0+, CAT1, และ CAT2B ที่ช่วงต้นและช่วงให้น้ำนมสูงในเนื้อเยื่อเต้านมสุกร : รายงานวิจัย
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปริมาณการแสดงออกของยีนตัวขนส่งกรดอะมิโนในระบบต่างๆ ได้แก่ LAT2, 4F2hc, ATA2, ASCT1, ATB[superscript0,+],CAT1 และ CAT2B ในเซลล์เต้านมของแม่สุกรระยะให้นมช่วงต้น (วันที่ 9) และช่วงให้นมสูง (วันที่ 19) โดยใช้แม่สุกรพันธุ์ลูกผสมที่ผ่านการตั้งท้องมาแล้วม...
Saved in:
Main Authors: | , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2009
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11732 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปริมาณการแสดงออกของยีนตัวขนส่งกรดอะมิโนในระบบต่างๆ ได้แก่ LAT2, 4F2hc, ATA2, ASCT1, ATB[superscript0,+],CAT1 และ CAT2B ในเซลล์เต้านมของแม่สุกรระยะให้นมช่วงต้น (วันที่ 9) และช่วงให้นมสูง (วันที่ 19) โดยใช้แม่สุกรพันธุ์ลูกผสมที่ผ่านการตั้งท้องมาแล้วมากกว่า 2 ครั้ง และมีสมรรถนะด้านผลผลิต ลักษณะของเต้านมและวันคลอดที่ใกล้เคียงกัน จำนวน 8 ตัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 4 ตัว ในวันที่ 9 และวันที่ 19 ของระยะการให้น้ำนมเลี้ยงลูก ทำการเก็บตัวอย่างเลือดที่ตำแหน่ง anterior vena cava ของแม่สุกรและลูกสุกร รวมทั้งเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อเซลล์ผลิตน้ำนมจากเต้านมแม่สุกร โดยวิธีผ่าตัด ผลการทดลองในแม่สุกร ไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับความเข้มข้นกรดอะมิโนอิสระในพลาสมาทั้ง 18 ตัว เมื่อเปรียบเทียบในวันที่ 9 กับ วันที่ 19 ของระยะให้นม ส่วนในลูกสุกรทั้งสองกลุ่ม พบการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) เฉพาะโปรลีนอาร์จินีน และไลซีน เท่านั้น เมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียงปริมาณการแสดงออกของยีนตัวขนส่งกรดอะมิโนต่างๆ ดังกล่าวในเนื้อเยื่อเซลล์ผลิตน้ำนม พบว่ากลุ่มแม่สุกร ซึ่งได้รับโภชนะอาหารตามระดับความต้องการในวันที่ 9 ของระยะเลี้ยงให้นมลูก มีปริมาณการแสดงออกที่สูงของยีนตัวขนส่งกรดอะมิโน ได้แก่ LAT2, ATA2, ASCT1, ATB[superscript0,+], CAT1 และ CAT2B กว่าในวันที่ 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) แต่อย่างไรก็ตามยกเว้นยีนตัวที่เป็นตัวร่วมช่วยในการทำหน้าที่ของยีนตัวขนส่งกรดอะมิโนที่ทำหน้าที่หลักของระบบ L ได้แก่ 4F2hc มีปริมาณการแสดงออกที่ไม่แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะอธิบายผลการแสดงออกของยีนเพื่อการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นและเตรียมจำนวนเซลล์ที่มากเพียงพอในการรองรับการผลิตน้ำนม |
---|