การคัดเลือกต้นเปล้าน้อยที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ให้ต้านทานต่อสารพิษของเชื้อรา Glomerella cingulata : รายงานผลการวิจัย
โรคใบจุดของเปล้าน้อย (Croton sublyratus Kurz.) เกิดจากเชื้อรา Glomerella cingulata โดยมี Colletotrichum gloeosporioides เป็น imperfect stage เชื้อราสามารถเจริญและสร้างสปอร์ได้ดีบนอาหาร Czapek agar (CZA) น้ำหนักแห้งของเส้นใยและปริมาณสารสกัดจากเชื้อรามีมากที่สุดเมื่อเลี้องเชื้อในอาหารเหลว Czapek dox m...
Saved in:
Main Authors: | , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2010
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12343 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | โรคใบจุดของเปล้าน้อย (Croton sublyratus Kurz.) เกิดจากเชื้อรา Glomerella cingulata โดยมี Colletotrichum gloeosporioides เป็น imperfect stage เชื้อราสามารถเจริญและสร้างสปอร์ได้ดีบนอาหาร Czapek agar (CZA) น้ำหนักแห้งของเส้นใยและปริมาณสารสกัดจากเชื้อรามีมากที่สุดเมื่อเลี้องเชื้อในอาหารเหลว Czapek dox medium เป็นเวลา 4 วัน ในการทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดจากเชื้อราโดยวิธีการหยดสารสกัดจากเชื้อราลงบนใบเปล้าน้อยพบว่า สารสกัดจากเชื้อราความเข้มข้น 10,000 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถทำให้เกิดอาการใบจุดกับเปล้าน้อยได้ จากการวิเคราะห์สารสกัดจากเชื้อราด้วยวิธี HPLC พบว่า เชื้อรา Glomerella cingulata สามารถสร้างสาร indoleacetic acid (IAA) และ phenylacetic acid (PAA) ได้ ซึ่งจากการนำสารมาตรฐานของสารทั้งสองชนิดนี้มาทดสอบกับใบเปล้าน้อยสารถก่อให้เกิดอาการแผลโรคเหมือนกับแผลโรคที่เกิดจากเชื้อราเช่นเดียวกัน แสดงว่าสาร IAA และ PAA เป็นสารพิษที่เป็นตัวการสำคัญต่อการเกิดโรค ในการเลี้ยงชิ้นส่วนปล้องเปล้าน้อยบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA 1 มิลลิกรัมต่อลิตรสามารถเพิ่มปริมาณยอดเฉลี่ยสูงสุด 3.9 ยอดต่อชิ้นพืช จากการนำยอดมาคัดเลือกให้ต้านทานสารสกัดจากเชื้อราโดยเลี้ยงในอาหารสูตรเดิมที่เติมสารสกัดจากเชื้อราความเข้มข้น 0 , 10, 100, 500 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าเมื่อความเข้มข้นของสารสกัดจากเชื้อราเพิ่มขึ้น เปอร์เซ็นต์ยอดที่รอดชีวิต ความสูงเฉลี่ยของยอดและจำนวนยอดแฉลี่ยส่วนใหญ่มีแนวโน้มลดลง เมื่อนำยอดเปล้าน้อยที่รอดชีวิต ย้ายเลี้ยงในอาหารที่ผสมสารสกัดจากเชื้อราความเข้มข้นสูงขึ้น โดยยอดที่ไม่ต้านทานสารสกัดจากเชื้อราจะมีการเจริญเติบโตน้อยลงและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ส่วนยอดที่รอดชีวิตสามารถเจริญเป็นยอดปกติ |
---|