ผลทางคลินิกของการใช้สารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตเสริมการเกลารากฟันในโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่

วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: บุญธิดา โชติชนาภิบาล
Other Authors: ชนินทร์ เตชะประเสริฐวิทยา
Format: Theses and Dissertations
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2010
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12374
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
id th-cuir.12374
record_format dspace
institution Chulalongkorn University
building Chulalongkorn University Library
country Thailand
collection Chulalongkorn University Intellectual Repository
language Thai
topic เตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์
คลองรากฟัน
โรคปริทันต์
spellingShingle เตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์
คลองรากฟัน
โรคปริทันต์
บุญธิดา โชติชนาภิบาล
ผลทางคลินิกของการใช้สารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตเสริมการเกลารากฟันในโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่
description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
author2 ชนินทร์ เตชะประเสริฐวิทยา
author_facet ชนินทร์ เตชะประเสริฐวิทยา
บุญธิดา โชติชนาภิบาล
format Theses and Dissertations
author บุญธิดา โชติชนาภิบาล
author_sort บุญธิดา โชติชนาภิบาล
title ผลทางคลินิกของการใช้สารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตเสริมการเกลารากฟันในโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่
title_short ผลทางคลินิกของการใช้สารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตเสริมการเกลารากฟันในโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่
title_full ผลทางคลินิกของการใช้สารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตเสริมการเกลารากฟันในโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่
title_fullStr ผลทางคลินิกของการใช้สารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตเสริมการเกลารากฟันในโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่
title_full_unstemmed ผลทางคลินิกของการใช้สารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตเสริมการเกลารากฟันในโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่
title_sort ผลทางคลินิกของการใช้สารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตเสริมการเกลารากฟันในโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่
publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
publishDate 2010
url http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12374
_version_ 1681411356057665536
spelling th-cuir.123742010-03-29T08:11:22Z ผลทางคลินิกของการใช้สารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตเสริมการเกลารากฟันในโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่ Clinical effects of the intra-pocket irrigation with tetracycline hydrochloride solution as an adjunct to root planing in adult periodontitis บุญธิดา โชติชนาภิบาล ชนินทร์ เตชะประเสริฐวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย เตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ คลองรากฟัน โรคปริทันต์ วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 การวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงผลการเปลี่ยนแปลงทางคลินิก หลังการใช้สารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ที่มีความเข้มข้นร้อยละ 10 และความเข้มข้นร้อยละ 5 ฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตเสริมการเกลารากฟันในโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่ เปรียบเทียบกับการเกลารากฟันเพียงอย่างเดียว และการเกลารากฟันร่วมกับฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตด้วยสารละลายสีผสมอาหาร โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่ จำนวน 42 คน ซึ่งไม่มีโรคทางระบบ ไม่ได้รับยาต้านจุลชีพที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่กลุ่มสเตียรอยด์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา แต่ละเสี้ยวของฟันของผู้ป่วยจะได้รับการรักษาแตกต่างกัน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม ได้แก่ ตำแหน่งที่เกลารากฟันร่วมกับฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตด้วยสารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคอลไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 10 และตำแหน่งที่เกลารากฟันร่วมกับฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตด้วยสารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 5 กลุ่มควบคุม 2 กลุ่มได้แก่ ตำแหน่งที่เกลารากฟันเพียงอย่างเดียว และตำแหน่งที่เกลารากฟันร่วมกับฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตด้วยสารละลายสีผสมอาหาร ฉีดล้างสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ โดยก่อนให้การรักษา ผู้ป่วยจะได้รับการขูดหินน้ำลายเกลารากฟัน และสอนวิธีการดูแลอนามัยในช่องปาก แล้วนัดผู้ป่วยเข้าสู่การวิจัยอีก 3 เดือนถัดไป โดยถือเป็นสัปดาห์ที่ 0 ก่อนการรักษาในสัปดาห์ที่ 0 สัปดาห์ที่ 14 สัปดาห์ที่ 28 และสัปดาห์ที่ 42 จะทำการวัดค่าทางคลินิก ได้แก่ ค่าดัชนี คราบจุลินทรีย์ ความลึกของพ็อกเก็ต อาการมีเลือดออก และระดับการยึดตัวของอวัยวะปริทันต์ ด้วยเครื่องมือตรวจปริทันต์ฟลอริดาโพรบและฟลอริดาดิสก์โพรบ ร่วมกับการใช้ชิ้นปิดบนด้านบดเคี้ยวเป็นเครื่องมือกำหนดตำแหน่งในการวัด ผลการวิจัยพบว่า ทุกกลุ่มการรักษาสามารถเพิ่มระดับการยึดตัวของอวัยวะปริทันต์ได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม สามารถเพิ่มระดับการยึดตัวของอวัยวะปริทันต์ได้อย่างต่อเนื่อง และเพิ่มระดับการยึดตัวของอวัยวะปริทันต์เมื่อคิดเป็นร้อยละได้มากกว่ากลุ่มควบคุม นอกจากนี้ทุกกลุ่มการรักษาสามารถลดความลึกของพ็อกเก็ตได้ โดยกลุ่มทดลองที่เกลารากฟันร่วมกับฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตด้วยสารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 10 สามารถลดความลึกของพ็อกเก็ตได้แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมทั้ง 2 กลุ่ม ในสัปดาห์ที่ 28 และกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม สามารถลดความลึกของพ็อกเก็ตได้แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมืือเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่เกลารากฟันร่วมกับฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตด้วยสารละลายสีผสมอาหารในสัปดาห์ที่ 42 นอกจานี้ทุกกลุ่มการรักษายังสามารถลดอาการเลือดออกได้ และลดค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์เมื่อเปรียบเที่ยบกับก่อนการรักษา จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้สารละลายเดตราชัยคลินไฮโดรคลอไรด์ความเข้มข้นร้อยล่ะ 10และความเข้มข้นร้อยละ 5 ฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตเสริมการเกลารากฟันในโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่ สามารถทำให้ลักษณะทางคลินิกดีขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม จึงอาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่นำไปใช้เสริมการรักษาโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่ได้ The objective of this research was to study the clinical results of the intra-pocket irrigation with 10% and 5% tetracycline hydrochloride solutions (TCN) as an adjunct to root planing in comparison with the treatment of scaling and root planing only (SRP) or scaling and root planing with vehicle irrigation. Forty-two adult periodontitis patients were selected to participate in this study two had no systemic diseases and had not received any antimicrobial drugs or non-steroidal anti-inflammatory drugs within the past 6 months. Each subject was randomly assigned to 4 groups in 4 quadrants: SRP+10%TCN and SRP+5%TCN (test groups), SRP only and SRP+vehicle (control groups). The irrigation was done once a week for 4 weeks. All patients obtained scaling, root planing and oral hygiene instruction and then 3 months later were subjected to a baseline study (week 0). At baseline, week 14, week 28 and week 42, before the treatments, plaque index, probing pocket depth, bleeding on probing and clinical attachment level were measured by Florida probe and Florida disk probe with occlusal stents. The results of clinical attachment level showed attachment gain in all groups with no significant differences (p>0.05) but both of the test groups showed more progression of attachment gain after treatment than the control groups. The probing pocket depth was found to decrease in all groups with significant differences (p<0.05). The SRP+10%TCN group showed a significant reduction (p<0.05) of pocket depth compared to both control groups at week 28. Both of the test groups also showed significant differences (p<0.05) in pocket depth reduction compared to SRP+vehicle group at week 42. All groups demonstrated reductions in bleeding on probing and plaque index compared to those of the baseline (p<0.05). These results suggested that the use of the intra-pocket irrigation with 10% or 5% tetracycline hydrochloride solution as an adjunct to root planing in adult periodontitis patients could improve clinical periodontal status more than the control groups and intra-pocket irrigation with tetracycline hydrochloride solution may be considered as an alternative choice for adult periodontitis treatment. 2010-03-29T08:11:21Z 2010-03-29T08:11:21Z 2541 Thesis 9743322442 http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12374 th จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 684251 bytes 725055 bytes 1137072 bytes 648695 bytes 735368 bytes 752831 bytes 797346 bytes application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย