การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์และการหาปริมาณแคปไซซินและไดไฮโดรแคปไซซิน ในผลิตภัณฑ์พริกและอาหารรสเผ็ด : รายงานฉบับสมบูรณ์ ปี 2551

งานวิจัยนี้ได้พัฒนาวิธีการเตรียมตัวอย่างซอสพริก สำหรับปริมาณวิเคราะห์แคปไซซินอยด์ (CAPs) ด้วยเทคนิคไมเซลลาร์อิเล็กโทรไคเนทิกโครมาโทกราฟี (MEKC) ที่ได้พัฒนาแล้วจากงานวิจัยก่อนหน้านี้ โดยศึกษาและเปรียบเทียบผลของชนิดของตัวทำละลายอินทรีย์ที่ใช้สกัด (เอทิลอะซิเตตหรืออะซิโตไนไทรล์) แบบที่เติมเกลือและไม่เต...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ธรรมนูญ หนูจักร, อมร เพชรสม, วาสนา โตเลี้ยง
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2010
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12549
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:งานวิจัยนี้ได้พัฒนาวิธีการเตรียมตัวอย่างซอสพริก สำหรับปริมาณวิเคราะห์แคปไซซินอยด์ (CAPs) ด้วยเทคนิคไมเซลลาร์อิเล็กโทรไคเนทิกโครมาโทกราฟี (MEKC) ที่ได้พัฒนาแล้วจากงานวิจัยก่อนหน้านี้ โดยศึกษาและเปรียบเทียบผลของชนิดของตัวทำละลายอินทรีย์ที่ใช้สกัด (เอทิลอะซิเตตหรืออะซิโตไนไทรล์) แบบที่เติมเกลือและไม่เติมเกลือ พบว่าการสกัดตัวอย่างด้วยเอทิลอะซิเตตแบบเติมเกลือให้ประสิทธิภาพของการสกัด CAPs ที่ดีกว่า เมื่อศึกษาการสกัดด้วยวิธีนี้ โดยใช้ซอสพริกเตรียมที่ประกอบด้วย CAPs ที่ 20, 50 และ 100 ppm (µg/g) พบว่าได้ recovery ในช่วง 96-105% แสดงว่ามีความเที่ยงสูงทั้งภายในวัน (RSD <3.7%, n=5 batch) และต่างวันกัน (RSD <2.5%, เป็นเวลา 5วัน) เมื่อวิเคราะห์ตัวอย่างซอสพริกจริง 8 ตัวอย่าง ด้วย MEKC โดยเตรียมตัวอย่างด้วยวิธีที่พัฒนาขึ้น พบว่ามีปริมาณ CAPs ในช่วง 21-128 ppm โดยที่ 3 ตัวอย่างมีปริมาณ CAPs มากกว่า 50 ppm ซึ่งเกินปริมาณจำกัดของสหภาพยุโรป (European Commission) นอกจากนี้ปริมาณ CAPs ที่วิเคราะห์ได้จากต่างยี่ห้อกันไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณพริกในซอสพริกและระดับความเผ็ดที่ระบุไว้ ดังนั้น MEKC และวิธีการเตรียมตัวอย่างที่พัฒนาขึ้นนี้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการวิเคราะห์ปริมาณ CAPs ในซอสพริก เพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์และเป็นข้อมูลความปลอดภัยของผู้บริโภคได้