โครงการวิจัยเรื่อง เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนสีสำหรับการใช้งานกระดาษเวียนทำใหม่ในการพิมพ์ : รายงานการวิจัย
การใช้งานกระดาษเวียนทำใหม่เป็นหนึ่งในความพยายามเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดการใช้เยื่อบริสุทธิ์ (virgin pulp) ในการผลิตกระดาษ อย่างไรก็ดีหากต้องการให้กระดาษเวียนทำใหม่มีสีสันและความสว่างเทียบเท่ากระดาษที่ผลิตจากเยื่อบริสุทธิ์ต้องผ่ากระบวนการดึงหมึกพิมพ์ออกและการฟอกเยื่อที่ต้องอาศัยน้ำและสารเคมีปริมาณม...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2010
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12781 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | การใช้งานกระดาษเวียนทำใหม่เป็นหนึ่งในความพยายามเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดการใช้เยื่อบริสุทธิ์ (virgin pulp) ในการผลิตกระดาษ อย่างไรก็ดีหากต้องการให้กระดาษเวียนทำใหม่มีสีสันและความสว่างเทียบเท่ากระดาษที่ผลิตจากเยื่อบริสุทธิ์ต้องผ่ากระบวนการดึงหมึกพิมพ์ออกและการฟอกเยื่อที่ต้องอาศัยน้ำและสารเคมีปริมาณมาก ซึ่งการใช้งานกระดาษบางประเภทอาจไม่ต้องการกระดาษที่มีความขาวมากนัก โครงการวิจัยนี้จึงศึกษาเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนสี (colour tolerance) ของกระดาษเวียนทำใหม่สำหรับการใช้งานเป็นกระดาษถ่ายเอกสาร กระดาษพิมพ์เขียน และกระดาษหนังสือพิมพ์ เตรียมตัวอย่างกระดาษสีเพื่อใช้แทนกระดาษเวียนทำใหม่ที่มีสีสันต่างๆ ด้วยการพิมพ์จำนวน 96 ตัวอย่าง ประกอบด้วยสีสันหลัก 6 สี ได้แก่ สีแดง สีส้ม สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน และสีม่วง ที่มีระดับความสว่างและความอิ่มตัวที่แตกต่างกัน 15 ระดับ กระดาษตัวอย่างสีเทาที่มีระดับความสว่างแตกต่างกัน 5 ระดับ และกระดาษขาวที่ไม่มีการพิมพ์ ให้ผู้สังเกตจำนวน 30 คน เป็นชาย 15 คน หญิง 15 คน พิจารณากระดาษสีตัวอย่างทีละตัวอย่างภายใต้แหล่งกำเนิดแสง D65 ในด้านความเหมาะสม การนำไปใช้งาน และการชื้อมาใช้สำหรับการใช้งานเป็นกระดาษถ่ายเอกสาร กระดาษพิมพ์เขียน และกระดาษหนังสือพิมพ์ ตามลำดับ โดยทดสอบด้วยกระดาษสีตัวอย่างที่มีการพิมพ์ตัวอักษรและไม่มีการพิมพ์ตัวอักษร และลำดับของตัวอย่างสีเป็นแบบสุ่ม กำหนดเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนสีที่ 50% ของผู้สงเกตทั้งหมดยอมรับ จากการทดลองพบว่า กระดาษเฉดสีเหลือง หรือสีน้ำเงินมีขอบเขตการยอมรับความคลาดเคลื่อนด้านความอิ่มตัวสีได้มากกว่ากระดาษเฉดสีอื่น เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนสีของกระดาษพิมพ์เขียนมีขอบเขตกว้างที่สุดและกระดาษหนังสือพิมพ์แคบที่สุด ค่าความสว่าง (L*) มีค่าไม่ต่ำกว่า 75, 79 และ 82 และค่าความอิ่มตัวสี (c*ab) มีค่าไม่มากกว่า 22, 18 และ 17 สำหรับความเหมาะสมในการใช้งานเป็นกระดาษพิมพ์เขียน กระดาษถ่ายเอกสาร และกระดาษหนังสือพิมพ์ ตามลำดับ |
---|