การให้บริการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน หลังการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม

วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: ทิพวัลย์ นันชัย
Other Authors: อภิฤดี เหมะจุฑา
Format: Theses and Dissertations
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2010
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12806
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
id th-cuir.12806
record_format dspace
institution Chulalongkorn University
building Chulalongkorn University Library
country Thailand
collection Chulalongkorn University Intellectual Repository
language Thai
topic ผู้ป่วย -- การดูแล
ลิ้นหัวใจเทียม
วาร์ฟาริน
spellingShingle ผู้ป่วย -- การดูแล
ลิ้นหัวใจเทียม
วาร์ฟาริน
ทิพวัลย์ นันชัย
การให้บริการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน หลังการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม
description วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
author2 อภิฤดี เหมะจุฑา
author_facet อภิฤดี เหมะจุฑา
ทิพวัลย์ นันชัย
format Theses and Dissertations
author ทิพวัลย์ นันชัย
author_sort ทิพวัลย์ นันชัย
title การให้บริการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน หลังการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม
title_short การให้บริการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน หลังการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม
title_full การให้บริการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน หลังการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม
title_fullStr การให้บริการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน หลังการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม
title_full_unstemmed การให้บริการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน หลังการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม
title_sort การให้บริการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน หลังการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม
publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
publishDate 2010
url http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12806
_version_ 1681413303741448192
spelling th-cuir.128062010-06-09T04:17:34Z การให้บริการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน หลังการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม Warfarin monitoring service in prosthetic heart value patients ทิพวัลย์ นันชัย อภิฤดี เหมะจุฑา สุปรีชา ธนะมัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย ผู้ป่วย -- การดูแล ลิ้นหัวใจเทียม วาร์ฟาริน วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 ศึกษาการให้บริการของเภสัชกรเพิ่มเป็นส่วนหนึ่ง ในการบริการติดตามผู้ป่วยผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียมที่ใช้ยาวาร์ฟาริน ว่าจะสามารถควบคุมให้ค่า International Normalized Ratio (INR) อยู่ในช่วงที่เหมาะสมคือ มีค่าเท่ากับ 2-2.5 (ค่ามาตรฐานของโรงพยาบาลราชวิถี) ได้แตกต่างกว่าบริการปกติหรือไม่ รวมทั้งเปรียบเทียบผลของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน หรือการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ เก็บข้อมูลในผู้ป่วยที่ผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม ซึ่งมารับบริการที่คลินิกศัลยกรรมโรคหัวใจที่โรงพยาบาลราชวิถี ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2539 จนถึงเดือนตุลาคม 2540 แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม โดยการสุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยกลุ่มควบคุม ซึ่งได้รับบริการตามปกติ และผู้ป่วยในกลุ่มศึกษา ซึ่งได้รับบริการเพิ่มจากเภสัชกรในการให้ความรู้และติดตามดูแลผู้ป่วย มีผู้ป่วยรวม 21 คนที่ไม่มารับบริการหลังการคัดเลือกผู้ป่วย ผู้ป่วยในกลุ่มศึกษามีจำนวน 74 คน และ 71 คน ในกลุ่มควบคุม ดำเนินการติดตามผลการรักษาทั้งหมด 3 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่า จำนวนผู้ป่วยในกลุ่มศึกษาที่สามารถควบคุมให้ค่า INR อยู่ในช่วงของการรักษาไม่แตกต่างกับผู้ป่วยในกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการติดตามผลแต่ละครั้ง จำนวนผู้ป่วยที่มีค่า INR อยู่ในช่วงของการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มศึกษามี 14 ราย (18.9%), 17 ราย (23.6%) และ 13 ราย (19.4%) ในการติดตามผลแต่ละครั้งตามลำดับ และ 8 ราย (11.3%), 14 ราย (22.2%) และ 15 ราย (28.3%) ตามลำดับในผู้ป่วยกลุ่มควบคุม พบผู้ป่วยมากกว่า 50% ของทั้งสองกลุ่มที่มีค่า INR ต่ำกว่าช่วงของการรักษา ผู้ป่วยในกลุ่มศึกษาจำนวน 2 คนที่เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (แบบชั่วคราว) และไม่พบในผู้ป่วยกลุ่มควบคุม (ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ) จากการติดตามผลการรักษาทั้ง 3 ครั้งพบปัญหาการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติแบบไม่รุนแรง ในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ซึ่งในผู้ป่วยกลุ่มศึกษาพบได้มากกว่า โดยมีเภสัชกรเป็นผู้ค้นพบ และรายงานปัญหาในการติดตามผลการรักษาแต่ละครั้ง (4, 5 และ 12 เหตุการณ์ตามลำดับครั้งในการติดตามผลในผู้ป่วยกลุ่มศึกษาและ 1, 1 และ 1 เหตุการณ์ตามลำดับในผู้ป่วยกลุ่มควบคุม) อย่างไรก็ตามสามารถค้นพบปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาวาร์ฟาริน ในผู้ป่วยกลุ่มศึกษาได้มากกว่า ได้แก่ ปัญหาความไม่สามารถใช้ยาได้ตามสั่ง การเกิดอัตรกิริยา และความผิดพลาดจากกระบวนการสั่งและจ่ายยาแก่ผู้ป่วย เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่ดำเนินการศึกษาในระยะ 1 ปี มีจำนวนน้อยไม่เพียงพอที่จะแสดงความแตกต่างของประสิทธิผลในการควบคุมให้ค่า INR อยู่ในช่วงของการรักษาในผู้ป่วยที่ผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม โดยเพิ่มการให้บริการของเภสัชกรในการติดตามดูแลและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยแต่สามารถแสดงให้เห็นถึงความสามารถของเภสัชกรในการจำแนกปัญหาการใช้ยาโดยการให้ความรู้เรื่องการใช้แก่ผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน To determine whether having a pharmacist in providing warfarin monitoring service in prosthetic heart valve patients would be differ in achieving the optimal intensity of anticoagulation as expressed in term of the International Normalized Ratio (the INR) between 2-2.5 (Rajvithi Hospital's recommendation) as well as to compare the primary outcome events; episodes of thromboembolism or bleeding. Data were collected on all patients with mechanical heart valves who have seen at heart surgery clinic at Rajvithi Hospital during December 1996 to October 1997. All patients were randomly assigned into 2 groups, the control group with the existing clinic service and the study group with adding pharmacy educating and monitoring services. 21 patients were lost follow up. The two patient groups, 74 in the study group and 71 in the control group, were followed up for 3 consecutive clinic visits. The result showed that the number of patients with optimal INR of 2-2.5 were not statistically difference in both groups in each follow up visits; 14 (18.9%), 17 (23.6%) and 13 (19.4%) respectively in study group and 8 (11.3%), 14 (22.2%) and 15 (28.3%) respectively in control group. More than 50% of patients in both groups have suboptimal INR. 2 episodes of thromboembolism (TIA) were reported in the study group and none in the control group (not statistically significant). During 3 follow up visits only minor bleeding events were reported in both groups, where in the study group more episodes were detected and reported by pharmacist in each clinic visits (4, 5, and 12 respectively in the study groups and 1, 1 and 1 respectively in the control groups). Furthermore, more drug related problems; those were non-compliance, drug interactions and medication errors, were identified in the study group. With the minimum number of patients that could be follow up in 1 year, this study can not prove the effectiveness in controlling optimal INR in patients with prosthetic heart valve by adding pharmacy's monitoring and educating service but showed the ability of the pharmacist in identifying drug related problems as well as educating the patient in using warfarin appropriately. 2010-06-09T04:17:33Z 2010-06-09T04:17:33Z 2540 Thesis 9766378503 http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12806 th จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 360274 bytes 269019 bytes 1218881 bytes 261109 bytes 730110 bytes 628977 bytes 410986 bytes 568100 bytes application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย