ประวัติและวิวัฒนาการของดนตรีไทยภาคกลางและภาคอีสานใต้ : รายงานวิจัย

ผลการศึกษาพบว่าดนตรีและเพลงพื้นเมืองภาคกลางสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพการทำนา การจัดงานประเพณีพิธีกรรมในเทศกาลสำคัญและความบันเทิงทั่วไป อีกทั้งยังมีดนตรีและเพลงที่มีลักษณะเฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ขณะที่วิวัฒนาการของดนตรีและเพลงพื้นเมืองภาคกลางสัมพันธ์กันการเจริญเติบโตของอาชีพศิลปินพื้นเมือง ในการ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2010
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12984
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:ผลการศึกษาพบว่าดนตรีและเพลงพื้นเมืองภาคกลางสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพการทำนา การจัดงานประเพณีพิธีกรรมในเทศกาลสำคัญและความบันเทิงทั่วไป อีกทั้งยังมีดนตรีและเพลงที่มีลักษณะเฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ขณะที่วิวัฒนาการของดนตรีและเพลงพื้นเมืองภาคกลางสัมพันธ์กันการเจริญเติบโตของอาชีพศิลปินพื้นเมือง ในการแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ เช่น ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงทรงเครื่อง เพลงอีแซว การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินับตั้งแต่ทศวรรษ 2500 และรสนิยมวัฒนธรรมความบันเทิงแบบตะวันตก ทำให้ดนตรีและเพลงพื้นเมืองค่อยๆหมดไป วัฒนธรรมดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เข้มแข็งบางกลุ่ม เช่น กลุ่มชาติพันธุ์มอญ แม้ยังคงสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมของกลุ่มต่อไปได้ แต่ก็ไม่เข้มแข็งพอที่จะรักษาแบบแผนวัฒนธรรมเช่นที่เคยมีมาในอดีต ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้จำแนกเป็น 2 กลุ่ม ตามความแตกต่างทางวัฒนธรรม คือ กลุ่มวัฒนธรรมไทยโคราช และกลุ่มวัฒนธรรมไทยเขมร กลุ่มวัฒนธรรมไทยโคราช ได้แก่ วัฒนธรรมของกลุ่มคนใน จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งอยู่ใกล้ภาคกลางและหัวเมืองสำคัญมาแต่เดิม จึงได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมภาคกลาง มีการละเล่น อื่นๆคล้ายภาคกลาง รวมทั้งเพลงโคราชซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยโคราช กลุ่มวัฒนธรรมเขมร ได้แก่ วัฒนธรรมของกลุ่มคนในจังหวัด สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีษะเกษ ซึ่งมีกลุ่มคนเขมรเป็นกลุ่มใหญ่ ทำให้วัฒนธรรมเขมรเป็นวัฒนธรรมกระแสหลัก โดยเฉพาะวัฒนธรรมดนตรีที่เรียกว่าวัฒนธรรมกันตรึม การพัฒนาเส้นทางคมนาคม ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้วัฒนธรรมดนตรีและการแสดงจากส่วนกลางเข้าไปมีอิทธิพลต่อดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้มากขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมการแสดงแบบดั้งเดิมอยู่มาก อย่างไรก็ตามภายหลังจากที่รัฐบาลใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 เป็นต้นมา วัฒนธรรมตะวันตกจากส่วนกลางเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมดนตรีดั้งเดิมทำให้ศิลปินปรับปรุงองค์ประกอบการแสดงดนตรีตามอย่างวงดนตรีลูกทุ่ง เกิดเพลงโคราชรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า เพลงโคราชซิ่ง และวงกันตรึมในรูปแบบใหม่ การสืบทอดวัฒนธรรมดนตรีพื้นเมืองภาคกลางและภาคอีสานใต้ในปัจจุบัน จึงเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับการยกย่องให้เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นซึ่งได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ เพื่อการท่องเที่ยวและเนมรดกวัฒนธรรมประจำชาติ และวัฒนธรรมที่ศิลปินสามารถคิดสร้างสรรค์และปรังปรุงประยุกต์ สร้างความหลากหลายในรูปแบบของศิลปะเพื่อจูงใจผู้ชมในรูปแบบต่างๆโดยผสมผสานกับดนตรีตะวันตก เพื่อประกอบอาชีพ เช่น ลำตัด เพลงอีแซว เพลงโคราชกันตรึม