การติดตามการฟื้นตัวของแนวปะการังภายหลังการเกิดคลื่นสึนามิบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน : รายงานผลการวิจัย
ศึกษาความเสียหายของปะการังภายหลังจากการเกิดคลื่นสึนามิและติดตามการฟื้นตัวของแนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน รวมถึงติดตามผลการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นท้องทะเลที่ได้รับผลกระทบ โดยเก็บตัวอย่างภาคสนาม วางแนวสำรวจใต้น้ำแบบ line transect ตามแนวปะการังตั้งฉากกับฝั่ง และเก็บข้อมูลตามแนวสำรวจทุก...
Saved in:
Main Authors: | , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2010
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13273 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | ศึกษาความเสียหายของปะการังภายหลังจากการเกิดคลื่นสึนามิและติดตามการฟื้นตัวของแนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน รวมถึงติดตามผลการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นท้องทะเลที่ได้รับผลกระทบ โดยเก็บตัวอย่างภาคสนาม วางแนวสำรวจใต้น้ำแบบ line transect ตามแนวปะการังตั้งฉากกับฝั่ง และเก็บข้อมูลตามแนวสำรวจทุก 2 เมตร ผลการศึกษาพบว่า ความเสียหายของปะการังภายหลังจากการเกิดสึนามินั้นมีระดับความเสียหายที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของสภาพพื้นท้องทะเล และโครงสร้างของชนิดของปะการังที่เกิดขึ้นบรเวณนั้นๆ ปะการังรูปทรงแบบก้อน และรูปทรงแบบโต๊ะได้รับความเสียหายจากการเกิดคลื่นสึนามิมากกว่าปะการังในรูปทรงแบบอื่น รูปทรงความเสียหายของปะการังสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทคือ การแตกหัก การพลิกคว่ำ การที่มีทรายปกคลุมและตาย จากการติดตามการฟื้นตัวของปะการังภายหลังการพลิกคว่ำจากคลื่นสึนามิ พบว่า ปะการังรูปแบบโต๊ะที่พลิกคว่ำเนื่องมาจากคลื่นสึนามินั้น มากกว่า 80% ของปะการังโต๊ะส่วนใหญ่ตายภายใน 2 ปี นอกจากนี้ จากการสำรวจการฟื้นตัวของปะการังบริเวณพื้นท้องทะเลที่ระดับความลึก 30 เมตร ในช่วง 4 ปี ภายหลังจากการเกิดคลื่นสึนามิพบว่า บริเวณก้อนหินที่เคยมีทรายปกคลุม และหลังจากสึนามิพบว่าทรายได้หายไปนั้น ในปัจจุบันได้มีฟองน้ำ และสัตว์ประเภทยึดเกาะอื่นๆ เช่น กัลปังหาและปะการังอ่อน ขึ้นมาปกคลุมเป็นจำนวนมาก โดยในช่วงแรกพบว่ามีการปกคลุมของฟองน้ำในบริเวณนี้มากกว่า 90% แต่ภายหลังเปอร์เซ็นต์การปกคลุมของฟองน้ำลดลง แต่มีการลงเกาะเพิ่มขึ้นของปะการังอ่อนและกัลปังหา ทำให้เกิดเป็นกลุ่มประชาคมปะการังใหม่เกิดขึ้นในท้องทะเลลึก ข้อเสนอแนะคือ บริเวณที่มีความเสียหายของปะการังมาก ควรที่จะปิดบริเวณนั้นไม่ให้นักทองเที่ยวเข้าอย่างน้อย 2 ปี เพื่อปะการังกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ |
---|