เทคนิคการจองช่องสัญญาณที่ใช้โทเค็นหลายอัน สำหรับโพรโทคอลควบคุมการเข้าถึงตัวกลาง ในระบบสื่อสารไร้สายความเร็วสูง : รายงานผลการวิจัย

ศึกษาปัญหาการจองช่องสัญญาณที่ใช้โทเค็นหลายอันสำหรับโพรโทคอลควบคุมการเข้าถึงตัวกลางในระบบสื่อสารไร้สายความเร็วสูง เทคนิคการจองช่องสัญญาณที่นำเสนอมี 3 เทคนิคคือ MT-CFP, MT-UNI และ MT-UNI+LA หลักการพื้นฐานที่สำคัญซึ่งนำมาใช้ในการพัฒนาเทคนิคที่เสนอประกอบด้วย การใช้ค่าความน่าจะเป็นในการจองแบบค่าคงที่ การ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2010
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13563
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:ศึกษาปัญหาการจองช่องสัญญาณที่ใช้โทเค็นหลายอันสำหรับโพรโทคอลควบคุมการเข้าถึงตัวกลางในระบบสื่อสารไร้สายความเร็วสูง เทคนิคการจองช่องสัญญาณที่นำเสนอมี 3 เทคนิคคือ MT-CFP, MT-UNI และ MT-UNI+LA หลักการพื้นฐานที่สำคัญซึ่งนำมาใช้ในการพัฒนาเทคนิคที่เสนอประกอบด้วย การใช้ค่าความน่าจะเป็นในการจองแบบค่าคงที่ การเลือกสล็อตการจองอย่างสุ่ม และการจำกัดจำนวน เทคนิคทั้งหมดที่เสนอได้รับการออกแบบให้เหมาะสมโดยเฉพาะสำหรับระบบที่เวลาประวิงการแพร่กระจายครบรอบ (Round-trip propagation delay) ยาวกว่าเวลาประวิงการส่งสัญญาณ (Transmission delay) สมรรถนะของเทคนิคแต่ละเทคนิคที่เสนอถูกประเมินในรูปของจำนวนผู้ใช้บริการโดยเฉลี่ยที่ประสบความสำเร็จ ในการจองภายใต้ข้อกำหนดของระบบที่แตกต่างกันหลากหลายลักษณะ โดยการปรับเปลี่ยนจำนวนผู้ใช้บริการจำนวนสล็อตการจอง และจำนวนโทเค็นการจอง การประเมินสมรรถนะของระบบอาศัยการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์เป็นหลัก ชุดสมการที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถให้ผลลัพธ์เป็นพารามิเตอร์ที่เหมาะสมกับระบบ พร้อมทั้งนำเสนอแนวการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์และสูตรการประมาณจำนวนโทเค็นที่เหมาะสมในระบบต่างๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นพารามิเตอร์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อสมรรถนะของเทคนิคที่ใช้โทเค็นหลายอัน ผลการวิเคราะห์สมรรถนะของเทคนิคการจองที่นำเสนอได้นำไปเปรียบเทียบกับเทคนิคเดิมซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้โทเค็นเพียง 1 อัน ได้แก่ CFP, UNI และ UNI+LA พบว่าเทคนิคที่ถูกพัฒนาขึ้นทั้งหมดมีสมรรถนะเหนือกว่าเทคนิคที่มีอยู่เดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่โหลดของระบบมีค่าน้อยถึงปานกลาง