ประสิทธิภาพของยาต้านจุลชีพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Vibrio spp. ที่ทำให้เกิดโรคในหอยเป๋าฮื้อไทยชนิด Haliotis asinina LINNAEUS 1758

ศึกษาประสิทธิภาพของยาต้านจุลชีพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Vibrio spp. ที่ทำให้เกิดโรคในหอยเป๋าฮื้อไทย ที่มีขนาดความยาวเปลือก 2.27±0.02 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 2.77±0.06 กรัม และแสดงวิการโรคบริเวณเนื้อเยื่อปิดอวัยวะภายในฉีกขาด กล้ามเนื้อเท้าเป็นแผลวงสีขาวและไม่เกาะพื้นผิว โดย...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ทิพวรรณ ตัณฑวณิช, วีณา เคยพุดซา
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2010
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13943
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:ศึกษาประสิทธิภาพของยาต้านจุลชีพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Vibrio spp. ที่ทำให้เกิดโรคในหอยเป๋าฮื้อไทย ที่มีขนาดความยาวเปลือก 2.27±0.02 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 2.77±0.06 กรัม และแสดงวิการโรคบริเวณเนื้อเยื่อปิดอวัยวะภายในฉีกขาด กล้ามเนื้อเท้าเป็นแผลวงสีขาวและไม่เกาะพื้นผิว โดยทำการแยกเชื้อวิบริโอจากอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ตับ/ตับอ่อน (Hepatopancreas), อวัยวะสืบพันธุ์ (Gonad), น้ำเลือด (Hemolymph), กล้ามเนื้อเท้า (Foot Muscle) และเนื้อเยื่อปิดอวัยวะภายใน มาเพาะเลี้ยงและทำการพิสูจน์เชื้อเพื่อแยกชนิด (Identification) โดยการทดสอบคุณสมบัติต่างๆทางชีวเคมีด้วยชุดทดสอบ API 20E พบเชื้อแบคทีเรีย Vibrio spp. ทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ V. cholerae, V. fluvialis และ V. vulnificus นำเชื้อแบคทีเรีย Vibrio spp. ที่พบมาทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพทั้ง 13 ชนิด โดยวิธี Agar Disc Diffusion Method บนอาหารเลี้ยงเชื้อ Meuller Hilton Agar พบว่า chloramphenicol และ nalidixic acid สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Vibrio spp. ทั้ง 3 ชนิดได้ 100% รองลงมา ได้แก่ doxycycline hydrochloride, furazolidone, norfloxacin, oxolinic acid, ciprofloxacin, enrofloxacin, oxytetracycline, tetracycline และ sulfadimethoxine ตามลำดับ ส่วน erythromycin และ novobiocin นั้นไม่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Vibrio spp. ทั้ง 3 ชนิดได้ จากนั้นเลือกยาต้านจุลชีพมาเพียง 5 ชนิด ได้แก่ oxytetracycline, sulfadimethoxine, enrofloxacin, tetracycline และ oxolinic acid เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของยาต้านจุลชีพในการยับยั้งและกำจัดเชื้อ V. cholerae, V. fluvialis และ V. vulnificus โดยวิธี Broth Dilution Method พบว่า oxolinic acid มีประสิทธิภาพในการยับยั้งและกำจัด V. cholerae และ V. fluvialis สูงสุด (MIC ≥ 0.125, MBC ≥ 16 ppm และ MIC ≥ 0.125, MBC ≥ 16 ppm ตามลำดับ) ส่วน enrof-loxacin มีประสิทธิภาพในการยับยั้งและกำจัด V. vulnificus สูงสุด (MIC ≥ 0.50, MBC ≥ 32 ppm) ส่วน sulfadimethoxine มีประสิทธิภาพในการยับยั้งและกำจัดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio spp. ทั้ง 3 ชนิดได้ต่ำสุด การศึกษาเหนี่ยวนำให้เกิดโรควิบริโอซีสโดยการฉีดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio spp. เข้ากล้ามเนื้อเท้าหอยเป๋าฮื้อ พบว่า ค่า LD50 ของเชื้อ V. cholerae (1.04 x 107 CFU/ml.) มีค่าต่ำกว่า V. fluvialis (1.87 x 107 CFU/ml.) และ V. vulnificus (2.87 x 109 CFU/ml.) ซึ่งแสดงว่า V. cholerae มีความรุนแรงในการก่อโรคมากที่สุด จึงเลือก V. cholerae มาเหนี่ยวนำให้เกิดโรควิบริโอซีส (vibriosis) ในหอยเป๋าฮื้อ แล้วทำการศึกษาประสิทธิภาพของยาต้านจุลชีพทั้ง 5 ชนิดในการรักษาโรควิบริโอซีสในหอยเป๋าฮื้อ โดยยาแต่ละชนิดใช้ 3 ขนาด ให้ยาด้วยวิธีการแช่ต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน พบว่า ความเข้มข้นของยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมต่อการรักษาโรคในหอยเป๋าฮื้อของ oxytetracycline, sulfadimethoxine, enrofloxacin, tetracycline และ oxolinic acid มีค่าเป็น 50, 20, 5, 10 และ 1 ppm ตามลำดับ สำหรับอัตราการรอดชีวิตสูงสุดของหอยเป๋าฮื้อมีค่า 66.67±6.67%, 46.67±3.33%, 53.33±3.33%, 43.33±3.33% และ 43.33±3.33% ตามลำดับ