แบบจำลองเชิงความเสี่ยงของเสถียรภาพการเปิดหน้างานขุดเจาะ : รายงานวิจัย

การวางแผนและการเปิดหน้างานขุดเจาะมวลดินหรือมวลหินโดยใช้เครื่องจักรกลหรือวัตถุระเบิด ปกติการประเมินผลโครงสร้างมวลสารใช้วิธีเชิงกำหนด เพื่อหาค่าความมีเสถียรภาพของโครงสร้าง โดยใช้ตัวเลขดัชนีที่มีชื่อว่า “ค่าอัตราส่วนความปลอดภัย (F.S.)” แต่มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น การนำค่าคุณสมบัติเพียงค...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: สง่า ตั้งชวาล
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2010
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14029
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การวางแผนและการเปิดหน้างานขุดเจาะมวลดินหรือมวลหินโดยใช้เครื่องจักรกลหรือวัตถุระเบิด ปกติการประเมินผลโครงสร้างมวลสารใช้วิธีเชิงกำหนด เพื่อหาค่าความมีเสถียรภาพของโครงสร้าง โดยใช้ตัวเลขดัชนีที่มีชื่อว่า “ค่าอัตราส่วนความปลอดภัย (F.S.)” แต่มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น การนำค่าคุณสมบัติเพียงค่าเดียวใช้ในการคำนวณ หรือการแปรผันเนื่องจากสภาวะทางธรณีวิทยา ทำให้ค่า F.S. ที่คำนวณได้ไม่เคยถูกต้องแม่นยำ แนวทางใหม่เกี่ยวกับการตรวจสอบเสถียรภาพ ใช้ค่าดัชนีที่เรียกว่า “ค่าความเชื่อถือได้ (R) และค่าโอกาสการพังทลาย [p (f)]” มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ของความไม่แน่นอนที่ดีกว่า ดังนั้นในการประเมินผลลัพธ์เชิงเสถียรภาพจึงใช้วิธีเชิงกำหนดกับวิธีเชิงความเชื่อถือได้ควบคู่กันไป ข้อมูลภาคสนามสำหรับแนวทางของการหาค่าความเชื่อถือได้ มีการนำเสนอแบบจำลองเชิงความเชื่อถือได้ 3 รูปแบบ ชนิดของรูปแบบการจำลองอิงกับค่าขอบความปลอดภัย อิงกับค่าอัตราส่วนปลอดภัยที่มีความน่าจะเป็นมากที่สุด และอิงกับการใช้การจำลองข้อมูล ตามลำดับ ทั้งนี้ค่าความเป็นไปได้ที่คำนวณจากแต่ละแบบจำลองมีการเปรียบเทียบกับวิธีเชิงกำหนด ความเสี่ยงในเรื่องการพังทลายมวลสารและผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อมมีการระบุค่าที่ดีขึ้นกว่าเดิม และยังช่วยประเมินค่าใช้จ่ายในการขุดเจาะที่เหมาะที่สุดของงานก่อสร้างอีกด้วย