โครงสร้างประชากรสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่บริเวณหาดทรายเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี

การศึกษาโครงสร้างประชากรสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ คุณภาพดินตะกอนและคุณภาพน้ำชายฝั่ง ได้ดำเนินงานในบริเวณหาดทรายเขตน้ำขึ้นน้ำลงใน อ.เกาะสีชัง จ. ชลบุรี 5 แห่ง ได้แก่ หาดท่าวัง หาดทรายแก้ว หาดท่ายายทิม หาดท่าล่าง หาดถ้ำพัง โดยการวางแนวสำรวจและเก็บตัวอย่างจากผิวดินถึงระดับความลึกประมาณ 10 ซม. ภายในตาราง...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ณิชยา ประดิษฐ์ทรัพย์, อานุภาพ พานิชผล, สมบัติ อินทร์คง, ทิพวรรณ ตัณฑวณิช
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2010
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14063
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษาโครงสร้างประชากรสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ คุณภาพดินตะกอนและคุณภาพน้ำชายฝั่ง ได้ดำเนินงานในบริเวณหาดทรายเขตน้ำขึ้นน้ำลงใน อ.เกาะสีชัง จ. ชลบุรี 5 แห่ง ได้แก่ หาดท่าวัง หาดทรายแก้ว หาดท่ายายทิม หาดท่าล่าง หาดถ้ำพัง โดยการวางแนวสำรวจและเก็บตัวอย่างจากผิวดินถึงระดับความลึกประมาณ 10 ซม. ภายในตารางสำรวจขนาด 0.25 ตร.ม. ระหว่างเดือนตุลาคม 2550 ถึงเดือน กันยายน 2551 พบสัตว์ทะเลหน้าดิน 113 ชนิด ใน 7 ไฟลัม สัตว์ทะเลหน้าดินที่พบชุกชุมมากในหาดท่าวัง หาดทรายแก้ว และหาดท่าล่าง คือหอยฝาเดียว (110 - 249 ตัว/ตร.ม.) โดยเฉพาะในวงศ์ Cerithiidae และ Potamididae หาดท่ายายทิมพบกลุ่มครัสเตเซียน (ไอโซพอต) มีความชุกชุมมากที่สุด (33.1 ± 15.9 ตัว/ตร.ม.) รองลงมาคือกลุ่มหอยสองฝา (Donacidae) ส่วนกลุ่มเด่นที่พบมากในหาดทรายถ้ำพัง คือ หอยสองฝา (18.0 ± 26.7 ตัว/ตร.ม.) (Donacidae) รองลงมาคือไอโซพอต ในทุกหาดที่ทำการศึกษาช่วงฤดูฝนจะพบความหนาแน่นและมวลชีวภาพของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่น้อยกว่าในฤดูแล้งทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงความเค็มที่ลดต่ำลง จากการทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของชุมชนสัตว์ทะเลหน้าดินกลุ่มต่างๆ ต่อขนาดตะกอนดินและปริมาณสารอินทรีย์ในดินพบว่าความหนาแน่นของสัตว์ทะเลหน้าดินกลุ่ม หอยสองฝา หอยฝาเดียว และไส้เดือนทะเลแปรผันตามกับปริมาณสารอินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ขนาดตะกอนดินแปรผกผันกับความหนาแน่นของกลุ่มไส้เดือนทะเล นอกจากนี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความชุกชุมของสัตว์ทะเลหน้าดินและปริมาณซัลไฟด์ จากผลการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าบริเวณหาดที่มีกิจกรรมของมนุษย์มากจะส่งผลต่อโครงสร้างประชากรสัตว์ทะเลหน้าดินมากกว่าในหาดที่มีกิจกรรมน้อย