ผลของการให้ข้อมูลและการปฎิบัติโยคะต่อความเครียดของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง

วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: ศรินยา ฉันทะปรีดา
Other Authors: ชนกพร จิตปัญญา
Format: Theses and Dissertations
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2011
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14708
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
id th-cuir.14708
record_format dspace
spelling th-cuir.147082011-02-26T07:20:13Z ผลของการให้ข้อมูลและการปฎิบัติโยคะต่อความเครียดของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง The effect of giving information and yoga practice on stress in family caregivers of patients with brain injury ศรินยา ฉันทะปรีดา ชนกพร จิตปัญญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ โยคะ (กายบริหาร) ความเครียด (จิตวิทยา) ผู้ดูแล วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของการให้ข้อมูลและการปฏิบัติโยคะต่อความเครียดของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการให้ข้อมูลและการปฏิบัติโยคะกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2550-28 มีนาคม 2550 จำนวน 40 คน และจับคู่ตามเกณฑ์ที่กำหนด แล้วสุ่มเป็นกลุ่มควบคุม 20 คน กลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับการให้ข้อมูลและการปฏิบัติโยคะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการให้ข้อมูลและการปฏิบัติโยคะ สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองที่พัฒนาขึ้น จากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการให้ข้อมูลและแนวคิดโยคะ ที่สร้างขึ้นตามศาสตร์ของโยคะ จากสถาบันไกลวัลยธรรม ประกอบด้วย 1. การให้ข้อมูล 2. การปฏิบัติโยคะ ประกอบด้วย การหายใจ การปฏิบัติอาสนะ การผ่อนคลาย การฝึกสมาธิ และการฝึกความคิดด้านบวก ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมของการจัดกิจกรรม และตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองสำหรับประชาชนไทย ของกรมสุขภาพจิต ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ .83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Kolmogorov-Smirnov test และสถิติการทดสอบที (Paired t-test และ Independent t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองหลังได้รับการให้ข้อมูลและการปฏิบัติโยคะน้อยกว่าก่อนได้รับการให้ข้อมูลและการปฏิบัติโยคะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองกลุ่มที่ได้รับการให้ข้อมูลและการปฏิบัติโยคะน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 This quasi-experimental research aimed to test the effect of giving information and yoga practice on stress in family caregivers of patients with brain injury. The samples were 40 family caregivers of patients with brain injury, aged 20-59 years admitted to the surgical care unit at Somdejprapinklao Hospital during January 30,2007 – March 28,2007. The family caregivers were arranged into two groups including a control, and an experimental group. Each group consisted of 20 caregivers. A control group received conventional nursing care while an experimental group received the four week session giving information and yoga practice together with conventional nursing care. The program was developed based on yoga concept, giving information, and was validated by a panel of experts. The program was comprised of five sessions: a) assessment, b) knowledge providing, c) skill of yoga, d) practice, and e) evaluation. The outcomes of this study were measured by using self – Analysis stress test. The Alpha Cronbach’s reliability of the self – Analysis stress test was .83. Data were analyzed using descriptive statistic and t-test. Major findings were as follows: 1. The stress of family caregivers of patients with brain injury after receiving the program were significantly lower than that before receiving the program at the level of .05 2. The stress of family caregivers of patients with brain injury in the experimental group was lower than that of the control group at the level of .05 2011-02-26T07:20:12Z 2011-02-26T07:20:12Z 2549 Thesis http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14708 th จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 15380626 bytes application/pdf application/pdf จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
institution Chulalongkorn University
building Chulalongkorn University Library
country Thailand
collection Chulalongkorn University Intellectual Repository
language Thai
topic โยคะ (กายบริหาร)
ความเครียด (จิตวิทยา)
ผู้ดูแล
spellingShingle โยคะ (กายบริหาร)
ความเครียด (จิตวิทยา)
ผู้ดูแล
ศรินยา ฉันทะปรีดา
ผลของการให้ข้อมูลและการปฎิบัติโยคะต่อความเครียดของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง
description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
author2 ชนกพร จิตปัญญา
author_facet ชนกพร จิตปัญญา
ศรินยา ฉันทะปรีดา
format Theses and Dissertations
author ศรินยา ฉันทะปรีดา
author_sort ศรินยา ฉันทะปรีดา
title ผลของการให้ข้อมูลและการปฎิบัติโยคะต่อความเครียดของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง
title_short ผลของการให้ข้อมูลและการปฎิบัติโยคะต่อความเครียดของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง
title_full ผลของการให้ข้อมูลและการปฎิบัติโยคะต่อความเครียดของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง
title_fullStr ผลของการให้ข้อมูลและการปฎิบัติโยคะต่อความเครียดของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง
title_full_unstemmed ผลของการให้ข้อมูลและการปฎิบัติโยคะต่อความเครียดของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง
title_sort ผลของการให้ข้อมูลและการปฎิบัติโยคะต่อความเครียดของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง
publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
publishDate 2011
url http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14708
_version_ 1681409785001410560