ทูเมอร์เนคโครซิส แฟกเตอร์-แอลฟาในไลเคนพลานัสในช่องปากที่รักษาด้วยยาฟลูโอซิโนโลน อะเซทโทไนด์ ความเข้มข้น 0.1% : รายงานผลการวิจัย

ไลเคนพลานัสในช่องปากเป็นโรคอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยและมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของภูมิคุ้มกันชนิดที เซลล์เป็นสื่อ เคยมีรายงานว่าทูเมอร์เนคโครซิสแฟกเตอร์-แอลฟามีความเกี่ยวข้องกับการเกิดรอยโรคนี้ จุดประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อที่จะตรวจสอบผลของยาฟลูโอซิโนโลนอะเซทโทไนด์ชนิดขี้ผึ้งความเข้ม...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: กอบกาญจน์ ทองประสม, กิตติพงษ์ ดนุไทย
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2011
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15133
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:ไลเคนพลานัสในช่องปากเป็นโรคอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยและมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของภูมิคุ้มกันชนิดที เซลล์เป็นสื่อ เคยมีรายงานว่าทูเมอร์เนคโครซิสแฟกเตอร์-แอลฟามีความเกี่ยวข้องกับการเกิดรอยโรคนี้ จุดประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อที่จะตรวจสอบผลของยาฟลูโอซิโนโลนอะเซทโทไนด์ชนิดขี้ผึ้งความเข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์ ต่อการแสดงออกของทูเมอร์เนคโครซิสแฟกเตอร์-แอลฟาในรอยโรคไลเคนพลานัสในช่องปาก ผู้ป่วยไลเคนพลานัสในช่องปากชนิดฝ่อลีบและแผลถลอกจำนวน 18 ราย ได้รับการตัดชิ้นเนื้อก่อนและหลังการรักษาด้วยยาฟลูโอซิโนโลน อะเซทโทไนด์ชนิดขี้ผึ้งความเข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 1 เดือน ร่วมกับศึกษาเนื้อเยื่อปกติจำนวน 20 ราย ด้วยวิธีการเดียวกันโดยส่งตรวจด้วยวิธีการทางพยาธิวิทยาและอิมมูโนฮิสโตเคมีที่ย้อมด้วยแอนติบอดีต่อทูเมอร์เนคโครซิสแฟกเตอร์-แอลฟา โดยใช้ชิ้นเนื้อมะเร็งในช่องปากเป็นตัวควบคุมผลบวก ในขณะที่เนื้อเยื่อไลเคนพลานัสในช่องปากที่ไม่ได้ย้อมแอนติบอดีปฐมภูมิใช้เป็นตัวควบคุมผลลบ จากผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วย 16 ใน 18 ราย (88.89 เปอร์เซ็นต์) แสดงปฏิกิริยาที่ให้ผลบวกต่อทูเมอร์เนคโครซิสแฟกเตอร์-แอลฟา ซึ่งส่วนใหญ่พบในโมโนนิวเคลียร์เซลล์ มี 10 ราย (55.56 เปอร์เซ็นต์) ที่พบการแสดงออกของ ทูเมอร์เนคโครซิสแฟกเตอร์-แอลฟาในเคอราติโนซัยต์ จำนวนโมโนนิวเคลียร์เซลล์ที่ให้ผลบวกต่อทูเมอร์เนคโครซิสแฟกเตอร์-แอลฟา ก่อนการรักษาด้วยยาฟลูโอซิโนโลน อะเซทโทไนด์ชนิดขี้ผึ้งความเข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าภายหลังการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000) และในเนื้อเยื่อปกติ (p=0.000) ยิ่งไปกว่านั้นจำนวนโมโนนิวเคลียร์เซลล์ภายหลังการรักษาด้วยยาฟลูโอซิโนโลน อะเซทโทไนด์ชนิดขี้ผึ้งความเข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์ ต่ำกว่าก่อนรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000) ดังนั้นการศึกษานี้แสดงว่าทูเมอร์เนคโครซิสแฟกเตอร์-แอลฟา อาจมีความเกี่ยวข้องกับพยาธิสภาพของระบบภูมิคุ้มกันของการเกิดโรคไลเคนพลานัสในช่องปากในผู้ป่วยไทยและยาฟลูโอซิโนโลนอะเซทโทไนด์ชนิดขี้ผึ้งความเข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์ สามารถทำให้มีการแสดงออกของทูเมอร์เนคโครซิสแฟกเตอร์-แอลฟาลดน้อยลง