วัฒนธรรมดนตรีไทย ภาคอีสานเหนือ : รายงานวิจัย

งานวิจัยเรื่อง “วัฒนธรรมดนตรีไทยภาคอีสานเหนือ” มุ่งศึกษาวัฒนธรรมดนตรีอีสานในด้านประวัติและวิวัฒนาการ ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการถ่ายทอดดนตรีวัฒนธรรมการบรรเลงและกรรมวิธีการสร้างของเครื่องดนตรีรวมทั้งคุณภาพเสียง ผลการศึกษาพบว่าวิวัฒนาการดนตรีภาคอีสานเหนือแต่เดิมสัมพันธ์กับ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: บุษกร สำโรงทอง, ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน, ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์, ขำคม พรประสิทธิ์
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2011
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15260
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:งานวิจัยเรื่อง “วัฒนธรรมดนตรีไทยภาคอีสานเหนือ” มุ่งศึกษาวัฒนธรรมดนตรีอีสานในด้านประวัติและวิวัฒนาการ ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการถ่ายทอดดนตรีวัฒนธรรมการบรรเลงและกรรมวิธีการสร้างของเครื่องดนตรีรวมทั้งคุณภาพเสียง ผลการศึกษาพบว่าวิวัฒนาการดนตรีภาคอีสานเหนือแต่เดิมสัมพันธ์กับ “ประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่” ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชน การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ส่งผลต่อวิวัฒนาการดนตรีภาคอีสานเหนือ คือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมุ่งขยายโครงสร้างเศรษฐกิจพื้นฐานและการสื่อสารมวลชนซึ่งได้นำความเจริญแบบใหม่เข้าสู่ภูมิภาคพร้อมกับดนตรีแบบใหม่ วิวัฒนาการดนตรีภาคอีสานเหนือยังคงมีต่อไปตราบเท่าที่ดนตรียังคงเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจการบันเทิง และองค์กรรัฐยังคงส่งเสริมให้ “ประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่” ยังคงเป็นประเพณีของสังคมอีสาน ดนตรีอีสานเหนือได้รับการสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งโดยวิธีมุขปาฐะ การเรียนการสอนมักดำเนินที่บ้านครู ครูและศิษย์จึงมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกัน ศิลปินที่เชี่ยวชาญจะถ่ายทอดความรู้เรื่องพิธีกรรมการบูชาครูไปยังอนุชน ซึ่งถือเป็นประเพณีที่สำคัญสำหรับผู้เริ่มเรียนและผู้แสดง เครื่องบูชาที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมไหว้ครูสะท้อนความเชื่อของศิลปินซึ่งมีความเชื่ออันมีอิทธิพลของศาสนาที่คนในท้องถิ่นยึดถือเข้ามาเกี่ยวข้อง ผลการศึกษาวัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านอีสานเหนือพบว่า ดนตรีอีสานเหนือมีการแสดงหมอลำที่ถือเป็นเอกลักษณ์ประจำภาคและมีแคนเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญประกอบการแสดง นอกจากนี้ยังพบว่ามีวงโปงลางซึ่งประกอบด้วย โปงลาง แคน พิณ โหวต กลองอีสาน และกั๊บแก๊บ ซึ่งเป็นวงประจำท้องถิ่นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย วัฒนธรรมหมอลำแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ส่วนลายเพลงจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม มีการสืบทอดอย่างต่อเนื่อง การบรรเลงดนตรี สามารถใช้การประสานเสียงยืนพื้นกับทำนองหลัก แต่เปลี่ยนบันไดเสียงไปมา ผู้บรรเลงสามารถใช้ปฏิภาณไหวพริบ ส่วนหมอลำสามารถเดินเสียงสูง ต่ำในบทกลอน โดยใช้ภาษาสอดคล้องกลมกลืนทั้งนี้การเรียกชื่อบทเพลงและเครื่องดนตรีของแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกัน ดนตรีพื้นบ้านอีสานเหนือ จะใช้บรรเลงและแสดงในงานบุญ งานประเพณีประจำถิ่น ไม่นิยมแสดงในงานศพ กรรมวิธีการสร้างและคุณภาพของเครื่องดนตรีไทยอีสานเหนือในส่วนการสร้างเครื่องของช่างพิณและกลองยาวมีรายละเอียดขั้นตอนและกรรมวิธีแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสร้าง ทั้งนี้รูปทรงและขนาดสัดส่วน สะท้อนถึงความเชื่อและเอกลักษณ์ของแต่ละจังหวัด อย่างไรก็ตามช่างทั้งหมดยังใช้วัสดุเหมือนกันคือใช้ไม้ขนุน ในการสร้างกลองก้นยาวใช้ไม้มะหาดและไม้ขนุนในส่วนการประเมินคุณภาพเครื่องดนตรีพบว่ารูปทรง ความสมดุลทางกายภาพ และคุณภาพเสียง คือ ปัจจัยหลักที่มีความสำคัญเท่ากันในการพิจารณาคุณภาพเครื่องดนตรีทั้งพิณอีสานและกลองก้นยาว