รูปแบบการใช้น้ำในเขตคลองชลประทานรังสิตใต้ : รายงานการวิจัย
คลองรังสิตประยูรศักดิ์เป็นคลองชลประทานที่มีการขุดมากว่าร้อยปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการชลประทานพื้นที่เกษตรกรรมในทุ่งรังสิต หรือพื้นที่ในเขตอำเภอธัญบุรี คลองหลวง และลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี อย่างไรก็ตามในช่วงสองถึงสามทศวรรษที่ผ่านมา พื้นที่ในเขตคลองชลประทานรังสิต ได้รับผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจประกอ...
Saved in:
Main Authors: | , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2006
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1727 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
id |
th-cuir.1727 |
---|---|
record_format |
dspace |
institution |
Chulalongkorn University |
building |
Chulalongkorn University Library |
country |
Thailand |
collection |
Chulalongkorn University Intellectual Repository |
language |
Thai |
topic |
การใช้น้ำ--ไทย--ปทุมธานี ชลประทาน คลองชลประทานรังสิตใต้ |
spellingShingle |
การใช้น้ำ--ไทย--ปทุมธานี ชลประทาน คลองชลประทานรังสิตใต้ จันทรา ทองคำเภา พันธวัศ สัมพันธ์พานิช รูปแบบการใช้น้ำในเขตคลองชลประทานรังสิตใต้ : รายงานการวิจัย |
description |
คลองรังสิตประยูรศักดิ์เป็นคลองชลประทานที่มีการขุดมากว่าร้อยปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการชลประทานพื้นที่เกษตรกรรมในทุ่งรังสิต หรือพื้นที่ในเขตอำเภอธัญบุรี คลองหลวง และลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี อย่างไรก็ตามในช่วงสองถึงสามทศวรรษที่ผ่านมา พื้นที่ในเขตคลองชลประทานรังสิต ได้รับผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจประกอบกับการก่อสร้าง ถนนสายวิภาวดี-รังสิต และรังสิต-องครักษ์ พื้นที่ในเขตทุ่งรังสิตจึงมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จากเกษตรกรรม เข้าสู่ อุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย การค้าและพาณิชย์ รวมทั้งโครงการที่ดินจัดสรรและสนามกอล์ฟ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ของคลองรังสิตโดยตรง การศึกษาในครั้งนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อศึกษารูปแบบของการใช้น้ำในเขตพื้นที่ชลประทานคลองรังสิตประยูรศักดิ์ โดยมีขอบเขตการศึกษาในพื้นที่ชลประทานรังสิตได้ ครอบคลุมพื้นที่ อำเภอธัญบุรีและลำลูกกา จากการศึกษาพบว่ารูปแบบการใช้น้ำในเขตคลองชลประทานรังสิตได้ เป็นการใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้ 1) ใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรม 2) ใช้น้ำเพื่อการอุตสาหกรรมและบริการ 3) ใช้น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค 4) ใช้คลองเพื่อการคมนาคมสัญจร 5) ใช้คลองเป็นแหล่งการจับสัตว์น้ำ และ 6) ใช้เป็นสถานที่การค้าขาย (ร้านอาหารริมคลอง) ทั้งนี้การใช้ประโยชน์จะแตกต่างกันไปตามสภาพการใช้ที่ดินโดยรอบคลองแต่ละคลอง พบว่าบริเวณคลองหนึ่งถึงคลองห้า ซึ่งเป็นย่านที่มีการค้าพาณิชย์และชุมชนหนาแน่นปานกลาง คุณภาพน้ำในคลองอยู่ในระดับต่ำ ไม่เหมาะแก่การบริโภค-อุปโภค การใช้ประโยชน์จะเป็นการใช้เพื่อการเกษตรกรรมบางส่วนและเพื่อการสัญจรไปมา ตลอดจนถึงการใช้เป็นสถานที่ค้าขาย ทั้งนี้พบว่าที่อยู่อาศัยที่อยู่ใกล้เคียงถนนรังสิต-องครักษ์ โดยส่วนใหญ่จะมีการให้บริการน้ำประปา และสำหรับหมู่บ้านจัดสรร โดยส่วนใหญ่จะใช้น้ำประปาหรือน้ำบาดาล สำหรับพื้นที่คลองหกถึงคลองสิบสี่ คุณภาพน้ำยังอยู่ในเกณฑ์เพื่อการอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม และจะค่อนข้างสะอาดกว่าน้ำในคลองต้นๆ การใช้น้ำในแถบนี้จึงใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภค-บริโภค เป็นหลัก ปัญหาความขัดแย้งต่อการใช้น้ำ โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับคุณภาพน้ำ ทั้งนี้เนื่องจากอุตสาหกรรมและหมู่บ้านที่พัฒนาในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา จะใช้คลองรังสิตเป็นแหล่งระบายน้ำทิ้ง จึงมีผลต่อคุณภาพน้ำใช้ของชาวบ้านดั่งเดิม เพื่อลดความขัดแย้งและแก้ไขปัญหาการใช้ประโยชน์คลองชลประทานรังสิตใต้ มีข้อเสนอแนะดังนี้ หน่วยงานผู้รับผิดชอบคือ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาคลองชลประทานรังสิตใต้ กรมชลประทานควรประสานงานและร่วมมือกับเทศบาล สุขาภิบาล นายกเทศมนตรีแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำและปริมาณน้ำโดยมีมาตรการดังนี้ คือ ตรวจวัดคุณภาพน้ำในคลองสายต่างๆ ควบคุมการส่งจ่ายเพื่อรักษาระดับน้ำที่เหมาะสม มีการควบคุมการใช้ที่ดินให้เป็นไปตามสำนักผังเมืองอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งโรงงานอุตสาหกรรมและหมู่บ้านจัดสรร ให้ได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้ง และกำหนดมาตรการที่เข้มงวดต่อการรักษาความสะอาดของร้านค้าในคลองและริมคลอง |
author2 |
ไม่มีข้อมูล |
author_facet |
ไม่มีข้อมูล จันทรา ทองคำเภา พันธวัศ สัมพันธ์พานิช |
format |
Technical Report |
author |
จันทรา ทองคำเภา พันธวัศ สัมพันธ์พานิช |
author_sort |
จันทรา ทองคำเภา |
title |
รูปแบบการใช้น้ำในเขตคลองชลประทานรังสิตใต้ : รายงานการวิจัย |
title_short |
รูปแบบการใช้น้ำในเขตคลองชลประทานรังสิตใต้ : รายงานการวิจัย |
title_full |
รูปแบบการใช้น้ำในเขตคลองชลประทานรังสิตใต้ : รายงานการวิจัย |
title_fullStr |
รูปแบบการใช้น้ำในเขตคลองชลประทานรังสิตใต้ : รายงานการวิจัย |
title_full_unstemmed |
รูปแบบการใช้น้ำในเขตคลองชลประทานรังสิตใต้ : รายงานการวิจัย |
title_sort |
รูปแบบการใช้น้ำในเขตคลองชลประทานรังสิตใต้ : รายงานการวิจัย |
publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
publishDate |
2006 |
url |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1727 |
_version_ |
1681410518228664320 |
spelling |
th-cuir.17272008-01-03T07:46:15Z รูปแบบการใช้น้ำในเขตคลองชลประทานรังสิตใต้ : รายงานการวิจัย การใช้น้ำในเขตคลองชลประทานรังสิตใต้ : รายงานการวิจัย Water use patterns of the irrigation area in Khlong Rung Sit Tai จันทรา ทองคำเภา พันธวัศ สัมพันธ์พานิช ไม่มีข้อมูล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม การใช้น้ำ--ไทย--ปทุมธานี ชลประทาน คลองชลประทานรังสิตใต้ คลองรังสิตประยูรศักดิ์เป็นคลองชลประทานที่มีการขุดมากว่าร้อยปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการชลประทานพื้นที่เกษตรกรรมในทุ่งรังสิต หรือพื้นที่ในเขตอำเภอธัญบุรี คลองหลวง และลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี อย่างไรก็ตามในช่วงสองถึงสามทศวรรษที่ผ่านมา พื้นที่ในเขตคลองชลประทานรังสิต ได้รับผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจประกอบกับการก่อสร้าง ถนนสายวิภาวดี-รังสิต และรังสิต-องครักษ์ พื้นที่ในเขตทุ่งรังสิตจึงมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จากเกษตรกรรม เข้าสู่ อุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย การค้าและพาณิชย์ รวมทั้งโครงการที่ดินจัดสรรและสนามกอล์ฟ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ของคลองรังสิตโดยตรง การศึกษาในครั้งนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อศึกษารูปแบบของการใช้น้ำในเขตพื้นที่ชลประทานคลองรังสิตประยูรศักดิ์ โดยมีขอบเขตการศึกษาในพื้นที่ชลประทานรังสิตได้ ครอบคลุมพื้นที่ อำเภอธัญบุรีและลำลูกกา จากการศึกษาพบว่ารูปแบบการใช้น้ำในเขตคลองชลประทานรังสิตได้ เป็นการใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้ 1) ใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรม 2) ใช้น้ำเพื่อการอุตสาหกรรมและบริการ 3) ใช้น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค 4) ใช้คลองเพื่อการคมนาคมสัญจร 5) ใช้คลองเป็นแหล่งการจับสัตว์น้ำ และ 6) ใช้เป็นสถานที่การค้าขาย (ร้านอาหารริมคลอง) ทั้งนี้การใช้ประโยชน์จะแตกต่างกันไปตามสภาพการใช้ที่ดินโดยรอบคลองแต่ละคลอง พบว่าบริเวณคลองหนึ่งถึงคลองห้า ซึ่งเป็นย่านที่มีการค้าพาณิชย์และชุมชนหนาแน่นปานกลาง คุณภาพน้ำในคลองอยู่ในระดับต่ำ ไม่เหมาะแก่การบริโภค-อุปโภค การใช้ประโยชน์จะเป็นการใช้เพื่อการเกษตรกรรมบางส่วนและเพื่อการสัญจรไปมา ตลอดจนถึงการใช้เป็นสถานที่ค้าขาย ทั้งนี้พบว่าที่อยู่อาศัยที่อยู่ใกล้เคียงถนนรังสิต-องครักษ์ โดยส่วนใหญ่จะมีการให้บริการน้ำประปา และสำหรับหมู่บ้านจัดสรร โดยส่วนใหญ่จะใช้น้ำประปาหรือน้ำบาดาล สำหรับพื้นที่คลองหกถึงคลองสิบสี่ คุณภาพน้ำยังอยู่ในเกณฑ์เพื่อการอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม และจะค่อนข้างสะอาดกว่าน้ำในคลองต้นๆ การใช้น้ำในแถบนี้จึงใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภค-บริโภค เป็นหลัก ปัญหาความขัดแย้งต่อการใช้น้ำ โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับคุณภาพน้ำ ทั้งนี้เนื่องจากอุตสาหกรรมและหมู่บ้านที่พัฒนาในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา จะใช้คลองรังสิตเป็นแหล่งระบายน้ำทิ้ง จึงมีผลต่อคุณภาพน้ำใช้ของชาวบ้านดั่งเดิม เพื่อลดความขัดแย้งและแก้ไขปัญหาการใช้ประโยชน์คลองชลประทานรังสิตใต้ มีข้อเสนอแนะดังนี้ หน่วยงานผู้รับผิดชอบคือ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาคลองชลประทานรังสิตใต้ กรมชลประทานควรประสานงานและร่วมมือกับเทศบาล สุขาภิบาล นายกเทศมนตรีแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำและปริมาณน้ำโดยมีมาตรการดังนี้ คือ ตรวจวัดคุณภาพน้ำในคลองสายต่างๆ ควบคุมการส่งจ่ายเพื่อรักษาระดับน้ำที่เหมาะสม มีการควบคุมการใช้ที่ดินให้เป็นไปตามสำนักผังเมืองอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งโรงงานอุตสาหกรรมและหมู่บ้านจัดสรร ให้ได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้ง และกำหนดมาตรการที่เข้มงวดต่อการรักษาความสะอาดของร้านค้าในคลองและริมคลอง Khlong Rung Sit Prayoon Sak was built more than hundred years, in order to irrigating agricultural area of Rung Sit, which now are Amphoe Tanya Buri, Khlong Luang and Lumloo Ka. According to economic growth as well as improving transportation such as Wipawadee-Rung Sit and Rung Sit - Ongkaruk roads, her area has changed into densely population, industrial, commercial as well as golf course. This change has affected directly to the use of Khlong Rung Sit. So, this study aims to investigate water use pattern of the Khlong. The study has scope only on Khlong Rung Sit Tai, Which includes Amphoe Tanya Buri, and Lumloo Ka. From the finding, Khlong Rung Sit Tai provide pattern of utilization as follows: 1) for agricultural purpose, 2) for industrial and services purposes, 3) for household use 4) for transportation, 5) for fishing and 6) for commercial purpose. The use pattern is different according to land use. The result shows that the areas surrounding Khlong Nung to Khlong Haa which are areas of densely population and commercial including real estate, water quality is quite low and not suitable for household use. However, water-supply in this area is provide only the household along Rung Sit-Ongkaruk road. Most of factories and real estates are using either water supply or ground water. Commercial in and along the Khlong is another pattern found in this area. Water quality of Khlong Hok to Khlong Sib Sii where locate far from Wipawadee-Rung Sit road, is relatively better that the previous Khlongs. However, the conflict of quality is still a problem as most of factories and real estate drain their treated wastewater to the Khlong. In order to reduce the problem, the measure are suggested as follows: the responsible agency, Royal. Irrigation Department should cooperate with local agencies like municipal and urban planning officer to solve the problem. The measures should include water quality monitoring, level water controlling and implementation of stricter regulationon land use. In addition water discharge from industries and real estate should be monitored to meet standard of wastewater effluent. Also restaurants along the Khlongs have to be controlled for cleaning standard. ทุนงบประมาณแผ่นดิน 2006-08-12T16:32:25Z 2006-08-12T16:32:25Z 2541 Technical Report 9746396072 http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1727 th จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 19462598 bytes application/pdf application/pdf ไทย (ภาคกลาง) ปทุมธานี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |