การป้องกันมลภาวะของแหล่งน้ำในเขตชุมชนของอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

งานวิจัยครั้งนี้ ศึกษาถึงการควบคุมแหล่งกำเนิดน้ำเสียและการคาดการณ์ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตของการพัฒนาเมืองของเทศบาลตำบลแก่งคอย ซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านแหล่งที่อยู่อาศัยของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมในเขตอำเภอแก่งคอย ทำให้เกิดการผลิตหรือสร้างมลภาวะในรูปของน้ำเสียจำนวนมาก แล้วปล่อยลงส...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: ธเรศ ศรีสถิตย์
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1737
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:งานวิจัยครั้งนี้ ศึกษาถึงการควบคุมแหล่งกำเนิดน้ำเสียและการคาดการณ์ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตของการพัฒนาเมืองของเทศบาลตำบลแก่งคอย ซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านแหล่งที่อยู่อาศัยของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมในเขตอำเภอแก่งคอย ทำให้เกิดการผลิตหรือสร้างมลภาวะในรูปของน้ำเสียจำนวนมาก แล้วปล่อยลงสู่แม่น้ำป่าสัก ซึ่งอาจเกิดผลกระทบต่อคุณภาพน้ำได้ ผลการศึกษา บ่งชี้ว่าในอนาคตอีก 20 ปี ข้างหน้า (พ.ศ. 2561) เทศบาลตำบลแก่งคอยจะมีประชากรประมาณ 27,000 คน มีการใช้น้ำประมาณ 7,317 ลบ.เมตร/วัน ซึ่งเป็นน้ำเสียที่ปล่อยลงสู่แม่น้ำป่าสัก โดยปราศจากการบำบัดน้ำเสียก่อน จากการจำลองเหตุการณ์ภาวะแล้งที่สุดที่มีน้ำไหลในแม่น้ำป่าสัก ประมาณ 5 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ด้วยความเร็วของน้ำต่ำสุด 0.043 ลูกบาศก์เมตร/วินาที โดยมีน้ำเสียที่ทิ้งในปี พ.ศ. 2561 ประมาณ 5,176 ลูกบาศก์เมตร/วัน ความสกปรกในรูปของ BOD 128 มิลลิกรัม/ลิตร จะทำให้เกิดภาวะวิกฤตในบริเวณท้ายน้ำ ห่างออกไปจากเขตชุมชนประมาณ 6.7 กิโลเมตร รวมในเขตอำเภอเมืองสระบุรี ดังนั้นจึงต้องจัดให้มีน้ำไหลในลำน้ำที่มากขึ้น เพื่อไล่น้ำสกปรกและทำให้เจือจาง รวมทั้งการประสานงานกับเขื่อนป่าสักในการระบายน้ำท้ายน้ำมาช่วยพื้นที่ส่วนล่าง ประมาณ 10-15 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา จะต้องมีการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน เทศบาลตำบลแก่งคอย เพื่อบำบัดน้ำเสียก่อนระบายลงสู่แม่น้ำป่าสัก รวมทั้งการรณรงค์ประหยัดน้ำหรือใช้น้ำอย่างคุ้มค่า เพื่อลดปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำป่าสัก และป้องกันการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แม่น้ำเช่นกัน โดยการเฝ้าระวังจากประชาชนในพื้นที่