จินตทัศน์ทางสังคมและกลวิธีการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล : การศึกษาวิเคราะห์ : รายงานการวิจัย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพยนตร์ซึ่งเป็นผลงานการกำกับโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ทางด้านโครงสร้างการเล่าเรื่อง รูปแบบของโครงเรื่อง และแบบจำลองคู่ตรงข้ามตามแนวโครงสร้างนิยม การวิเคราะห์เนื้อหา ตามผังแสวงหาและสี่เหลี่ยมสัญญศาสตร์ รวมทั้งการศึกษาภาษาภาพยนตร์ด้านมุมมอง การจัดองค์ประกอบ กา...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: รัตนา จักกะพาก
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1836
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพยนตร์ซึ่งเป็นผลงานการกำกับโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ทางด้านโครงสร้างการเล่าเรื่อง รูปแบบของโครงเรื่อง และแบบจำลองคู่ตรงข้ามตามแนวโครงสร้างนิยม การวิเคราะห์เนื้อหา ตามผังแสวงหาและสี่เหลี่ยมสัญญศาสตร์ รวมทั้งการศึกษาภาษาภาพยนตร์ด้านมุมมอง การจัดองค์ประกอบ การลำดับภาพ การใช้เสียงประกอบ และศึกษาระบบการเล่าเรื่องที่สัมพันธ์กับสื่อ ประเภทของเรื่อง วัฒนธรรม และลักษณะเฉพาะตนของท่านมุ้ย ในฐานะผู้กำกับการแสดง ผลการวิจัยพบว่า โครงเรื่องมีลักษณะเป็นการสะท้อนปัญหาสังคม ส่วนใหญ่ใช้การสื่อความหมายด้วยองค์ประกอบภาพ (Mise en scene) การลำดับภาพ เสียงประกอบและดนตรีเป็นสำคัญ มีความโดดเด่นมากในเรื่ององค์ประกอบภาพ ภาพที่นำเสนอจะเป็นการถ่ายทอดสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่ตัวละครเผชิญอยู่ได้อย่างดี เรื่องราวที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสังคมไทยที่เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในชนชั้นล่าง สำหรับแก่นของเรื่องและโครงเรื่องส่วนใหญ่ไม่ซับซ้อนจะเสนอปัญหาอย่างตรงไปตรงมา แก่นของเรื่องมักจะเกี่ยวข้องกับความเชื่อ ค่านิยม และคำสั่งสอนที่เป็นบรรทัดฐานของสังคม เช่น การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว รู้จักหน้าที่ตนเอง เป็นต้น การสร้างความขัดแย้งในโครงเรื่องจากการศึกษาพบว่ามี 3 ลักษณะคือ 1) ความขัดแย้งมนุษย์กับมนุษย์ 2) มนุษย์ขัดแย้งกับสังคม 3) มนุษย์ขัดแย้งกับธรรมชาติ