การวิเคราะห์เศรษฐกิจการผลิตปลากระพงขาวในกระชัง : การศึกษาเฉพาะกรณี บริเวณตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ปีการผลิต 2526

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณหาสมการการผลิต ขนาดที่เหมาะสมที่สุดทางเศรษฐกิจของปัจจัยการผลิตแต่ละชนิด และภาวะการตลาดของปลากะพงขาว ในปีการผลิต 2526/2527 นอกจากนี้ยังได้ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตปลากะพงขาวด้วย ทำการศึกษาในท้องที่ ต.เกาะยอ อ. เมือง จ.สงขลา โดยสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม ครั...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: นฤมล นุตยะสกุล
Other Authors: วิวัฒน์ โชติเลอศักดิ์
Format: Theses and Dissertations
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2012
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18476
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณหาสมการการผลิต ขนาดที่เหมาะสมที่สุดทางเศรษฐกิจของปัจจัยการผลิตแต่ละชนิด และภาวะการตลาดของปลากะพงขาว ในปีการผลิต 2526/2527 นอกจากนี้ยังได้ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตปลากะพงขาวด้วย ทำการศึกษาในท้องที่ ต.เกาะยอ อ. เมือง จ.สงขลา โดยสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม ครัวเรือนตัวอย่างจำนวน 24 ราย ซึ่งคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ purposive sampling ผลจากการหาฟังค์ชั่นต้นทุนการผลิตปลากะพงขาว โดยใช้ฟังค์ชั่นต้นทุนการผลิตของ ค็อบ-ดักลาส สรุปได้ว่า ปัจจัยการผลิตที่มีอิทธิพลต่อผลผลิตปลากะพงขาว ได้แก่ จำนวนพันธุ์ปลาที่ปล่อย ปลาเป็ด และแรงงานในครัวเรือน ซึ่งเป็นตัวแปรอิสระ โดยจำนวนพันธุ์ปลาจะแปรผกผันกับปริมาณผลผลิตปลากะพงขาวซึ่งเป็นตัวแปรตาม ส่วนปลาเป็ดและแรงงานในครัวเรือนจะแปรผันตามผลผลิตปลากะพงขาว เมื่อนำปัจจัยการผลิตปลาเป็ดและแรงงานมาวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ใหม่ ปรากฏว่า ปลาเป็ดมีค่าความยืดหยุ่นการผลิตสูงกว่าแรงงาน โดยปลาเป็ดมีค่าความยืดหยุ่น 0.62 ส่วนแรงงานมีค่าความยืดหยุ่น 0.43 ผลรวมของค่าความยืดหยุ่นของปัจจัยการผลิตทั้งหมดเท่ากับ 1.05 ซึ่งแสดงว่าการผลิตปลากะพงขาวกำลังอยู่ในระยะผลตอบแทนต่อขนาดคงที่ ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของการใช้ปัจจัยการผลิตทั้งสองปรากฏว่า ผู้ผลิตใช้ปัจจัยการผลิตทั้งสอง ในปริมาณที่เกินกว่าขนาดเหมาะสมที่จะให้ได้กำไรสูงสุด โดยใช้ปลาเป็ดในปริมาณ 150 กิโลกรัมต่อ1ตารางเมตร และใช้แรงงานในปริมาณ 9 mandays ต่อ 1 ตารางเมตร ขณะที่ขนาดที่เหมาะสมของปัจจัยการผลิตทั้งสองเป็น109 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และ 2.6 mandays ต่อตารางเมตรตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง ปรากฏว่าเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนทั้งหมดกับราคาปลากะพงขาว ณ ที่ฟาร์มแล้ว ผู้ผลิตจะขาดทุนเป็นเงิน 32 บาท ต่อน้ำหนักปลากะพงขาว 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นการขาดทุนในต้นทุนที่ประเมินขึ้น ได้แก่ ค่าเสียโอกาสของแรงงานในครัวเรือนและค่าเสียโอกาสของเงินลงทุน แต่เมื่อเปรียบเทียบเฉพาะต้นทุนเงินสดกับราคาปลากะพงขาว ณ ที่ฟาร์มแล้ว ผู้ผลิตจะได้กำไรเป็นเงิน 13บาท ต่อปลากะพงขาว 1 กิโลกรัมเกี่ยวกับสภาพการตลาดปลากะพงขาวในภาคใต้ ปรากฏว่า ผู้ประกอบการค้า ได้แก่ ผู้รวบรวมในหมู่บ้านซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก แพปลา และกิจการห้องเย็น ผู้มีบทบาทสำคัญในตลาดภายในประเทศ ได้แก่ พ่อค้าส่งและพ่อค้าปลีก ส่วนแพปลาและกิจการห้องเย็นจะมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นผู้ส่งออก การวิเคราะห์ส่วนเหลื่อมการตลาดภายในประเทศ พบว่า พ่อค้าปลีกได้ส่วนเหลื่อมการตลาดมากกว่าพ่อค้าส่ง โดยพ่อค้าปลีกได้รับส่วนเหลื่อมการตลาดร้อยละ 13.51 ของราคาขายปลีก และพ่อค้าส่งได้รับส่วนเหลื่อมการตลาดร้อยละ 7.97 ของราคาขายปลีก สำหรับผู้เลี้ยงปลากะพงขาวจะได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 78.52 ของราคาขายปลีก