ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียน กับเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับขั้นปีและวิชาเอก ของนักศึกษาวิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานคร

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงสภาพของรูปแบบการเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนกับเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับชั้นปี และวิชาเอกของนักศึกษาวิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานคร และความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนแบบต่าง ๆ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 566 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดรูปแ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: อุไรรัตน์ ศรีสวย
Other Authors: สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
Format: Theses and Dissertations
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2012
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19744
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงสภาพของรูปแบบการเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนกับเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับชั้นปี และวิชาเอกของนักศึกษาวิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานคร และความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนแบบต่าง ๆ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 566 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดรูปแบบการเรียนซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาและดับแปลงมาจาก แบบวัดการเรียนของนิสิต ของแอนโทนี กราส์ซา และเซอร์ริล ไรซ์แมนน์ นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่ามัชฌิมเลขคณิต ( x )และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบค่าไคสแควร์ ( x^2) และหาขนาดของความสัมพันธ์ด้วยวิธีของ Cramer หาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางโดยใช้ .05 เป็นระดับทดสอบนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัย 1.นักศึกษาของวิทยาครูในกรุงเทพมหานคร มีลักษณะการเรียนแบบมีส่วนร่วมและแบบร่วมมือ อยู่ในเกณฑ์สูง มีลักษณะการเรียนแบบพึ่งพา แบบอิสระ และแบบแข่งขัน อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง มีลักษณะการเรียนแบบหลีกเลี่ยงอยู่ในเกณฑ์ต่ำ 2.รูปแบบการเรียนแบบพึ่งพา มีความสัมพันธ์กับเพศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีขนาดของความสัมพันธ์ 0.13 และนักศึกษาที่มีวิชาเอกต่างกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติในรูปแบบการเรียนแบบหลีกเลี่ยง และแบบพึ่งพา ส่วนรูปแบบการเรียนแบบอื่นไม่มีความสัมพันธ์กับเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชั้นปี และวิชาเอกอย่างมีนัยสำคัญ ระดับชั้นปี และวิชาเอกมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านการเรียนแบบพึ่งพา และแบบแข่งขัน 3. รูปแบบการเรียนแบบต่าง ๆส่วนมากมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับค่อนข้างต่ำ (.20 ≤r ≤.39) และในระดับปานกลาง (.40 ≤r ≤0.59) โดยเฉพาะรูปแบบการเรียนหลีกเลี่ยงกับแบบมีส่วนร่วมสัมพันธ์กันในทางลบ ( r = -0.43 )และรูปแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วมกับแบบร่วมมือ สัมพันธ์กันในทางบวก (r=0.52)