การเงินเพื่อการส่งออก : ศึกษาเฉพาะกรณีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออก ของธนาคารแห่งประเทศไทย

วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: กิตติวงศ์ สิงหเสมานนท์
Other Authors: ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์
Format: Theses and Dissertations
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2012
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19829
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
id th-cuir.19829
record_format dspace
institution Chulalongkorn University
building Chulalongkorn University Library
country Thailand
collection Chulalongkorn University Intellectual Repository
language Thai
topic การค้าระหว่างประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
สินเชื่อเพื่อการส่งออก
การส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศ
spellingShingle การค้าระหว่างประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
สินเชื่อเพื่อการส่งออก
การส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศ
กิตติวงศ์ สิงหเสมานนท์
การเงินเพื่อการส่งออก : ศึกษาเฉพาะกรณีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออก ของธนาคารแห่งประเทศไทย
description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
author2 ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์
author_facet ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์
กิตติวงศ์ สิงหเสมานนท์
format Theses and Dissertations
author กิตติวงศ์ สิงหเสมานนท์
author_sort กิตติวงศ์ สิงหเสมานนท์
title การเงินเพื่อการส่งออก : ศึกษาเฉพาะกรณีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออก ของธนาคารแห่งประเทศไทย
title_short การเงินเพื่อการส่งออก : ศึกษาเฉพาะกรณีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออก ของธนาคารแห่งประเทศไทย
title_full การเงินเพื่อการส่งออก : ศึกษาเฉพาะกรณีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออก ของธนาคารแห่งประเทศไทย
title_fullStr การเงินเพื่อการส่งออก : ศึกษาเฉพาะกรณีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออก ของธนาคารแห่งประเทศไทย
title_full_unstemmed การเงินเพื่อการส่งออก : ศึกษาเฉพาะกรณีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออก ของธนาคารแห่งประเทศไทย
title_sort การเงินเพื่อการส่งออก : ศึกษาเฉพาะกรณีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออก ของธนาคารแห่งประเทศไทย
publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
publishDate 2012
url http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19829
_version_ 1681413067523489792
spelling th-cuir.198292012-06-26T03:43:14Z การเงินเพื่อการส่งออก : ศึกษาเฉพาะกรณีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออก ของธนาคารแห่งประเทศไทย Export financing : a case study of bank of Thailan's financial assistance to export sector กิตติวงศ์ สิงหเสมานนท์ ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย การค้าระหว่างประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย สินเชื่อเพื่อการส่งออก การส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาเชิงนโยบายของรัฐบาลในการให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อการส่งออกผ่านทางธนาคารแห่งประเทศไทยในรูปของการรับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกในอัตราดอกเบี้ยต่ำ รวมทั้งศึกษาถึงบทบาทของสถาบันการเงินเอกชนในการอำนวยสินเชื่อเพื่อการส่งออก ทั้งในแง่ของการเป็เครื่องมือหรือกลไกของรัฐบาลในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออก และในแง่ของการดำเนินงานปกติของสถาบันการเงินเหล่านั้น วัตถุประสงค์และขอบเขตของการศึกษามีดังนี้คือ ประการแรกศึกษาบทบาทของสถาบันการเงินในการอำนวยสินเชื่อเพื่อการส่งออก อันได้แก่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และธนาคารแห่งประเทศไทย ประการที่สอง ศึกษาถึงความจำเป็นและเหมาะสมของการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออกของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยการรับช่วงซื่อลดตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออก และประการสุดท้าย วิเคราะห์และประเมินผลการให้ความช่วยเหลือและผลประโยชน์ที่ได้รับสำหรับในสองประเด็จแรกนั้นใช้วิเคราะห์เชิงพรรณนา ส่วนในประเด็นหลังใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อวัดถึงผลของการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออก ในปัจจุบัน สถาบันการเงินที่อำนวยสินเชื่อเพื่อการส่งออก และดำเนินธุรกิจด้านอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วยมี 3 สถาบันด้วยกัน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน อำนวยสินเชื่อเพื่อการส่งออกทั้งในระยะสั้นและระยะยา ในรูปของสินเชื่อก่อนและหลังสินค้าลงเรือ (pre and post shipment) ตลอดจนอำนวยสินเชื่อสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก เมื่อสิ้นปี 2526 ธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างของสินเชื่อเพื่อการส่งออก (ในรูปของสินเชื่อเพื่อการค้า) เป็นเงิน 32,094 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7.8 ของการอำนวยสินเชื่อทั้งหมดของธนาคารพาณิชยื ในช่วยเวลาเดียวกัน บริษัทเงินทุนมียอดคงค้างของสินเชื่อเพื่อการส่งออก (ในรูปของสินเชื่อเพื่อการค้า) เป็นเงิน 1,715 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.9 ของการอำนวยสินเชื่อทั้งหมดของบริษัทเงินทุน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้ามีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออกในอัตราดอกเบี้ยต่ำ (ไม่เกินร้อยละ 7 ต่อปี เมื่อก่อนเดือนกันยายน 2527 ) ผ่านทางธนาคารพาณิชย์ในรูปของการรับช่วงซื้อบดตั๋วสัญญาเพื่อการส่งออก โดยเป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงินระยะสั้นไม่เกิน 180 วัน ทั้งในรูปของสินเชื่อก่อนและหลังสินค้าลงเรือในช่วงเวลาที่ผ่านมามูลค่าการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออกของธนาคารแห่งประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยในปี 2526 มียอดคงค้างเป็นเงิน 17,116 ล้านบาท หรือหากพิจารณาในแง่ของปริมาณสินเชื่อในรอบปีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ส่งออก ในปี 2526 มีมูลค่าถึง 77,328 ล้านบาท หรือร้อยละ 52.8 ของมูลค่าสินค้าออกของประเทศไทย ในด้านของความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออกของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า ประการแรกเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการส่งเสริมการส่งออก ประการที่สองเป็นการช่วยลดต้นทุนด้านดอกเบี้ยของผู้ส่งออก และเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ส่งออก ประการที่สาม ลดข้อจำกัดในการหาเงินกู้และต้นทุนที่ต่างกันของผู้ส่งออกท่ต่างขนาดกัน ในด้านต้นทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออก เปรียบเทียบกับรายได้จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าจากการศึกษาสินค้าออก 6 ชนิด มีสินค้าออกเพียงชนิดเดียวได้แก่ข้าว ที่รายได้จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น มีค่าสูงกว่าต้นทุนทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออก สำหรับสินค้าออก 5 ชนิด ได้แก่ข้าวโพด ยางพารา น้ำตาล มันสำปะหลัง และยาสูบนั้นการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออกของธนาคารแห่งประเทศไทยไม่มีผลโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณการส่งออก แต่อย่างไรก็ตามการให้ความช่วยเหลือดังกล่าว ยังคงมีผลโดยอ้อมต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เช่น ช่วยลดต้นทุนด้านดอกเบี้ย เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินของผู้ส่งออก เป็นต้น อนึ่งข้อสังเกตว่า หากสินค้าออกประเภทใดมีค่าความยืดหยุ่นต่อราคาของอุปสงค์ของผู้นำเข้าในต่างประเทศค่อนข้างสูง และมีค่าความยืดหยุนต่อราคาของอุปทุนสินค้าออกที่ค่อนข้างสูง เช่นกัน จะพบว่ารายได้จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย มีค่าใกล้เคียงหรือสูงกว่าต้นทุนทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออก ดังนั้น หากธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการให้มาตรการการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการส่งออกมีประสิทธิผลอย่างแท้จริงแล้ว ควรจำกัดการให้ความช่วยเหลือให้อยู่ขอบเขตที่แคบลง มิใช่เป็นการให้ความช่วยเหลือโดยทั่วไปดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สินค้าที่มีความยืดหยุ่นต่อราคาของอุปสงค์และอุปทานสินค้าไทยค่อนข้างสูง ควรจะได้รับพิจารณาเป็นพิเศษ This thesis is an investigation into the existing financial institutions and their arrangements in export credit financing of Thailand with special emphasis on financial assistance offered by the Bank of Thailand. The objective of the thesis is to render an economic assessment on the extent to which the rediscount facility through the Bank of Thailand could help improve the export performance of the country. The scope of the investigation covers : (i) discussion on the role of commercial banks, finance companies and the Bank of Thailand in extending credit to the export sector : (ii) cost –benefit analysis for evaluation of rediscount facility. There are three financial institutions which have direct bearing on the exports of Thailand, namely, commercial banks, finance companies and the Bank of Thailand. As for commercial banks and finance companies, export credits are provided both for short-term pre-shipment and post-shipment as well as longer – term project financing. At the end of 1983 ,the outstanding amount of credit extended by commercial bands to the export sector was 32,094 million baht comparing with 1,715 million Baht extended by finance companies. The Bank of Thailand plays a crucial role in providing financial assistance through rediscount of promissory noted arising from export undertakings. Prior to September 1984, the rediscount rate charged by BOT was 5 percent per annum, and the commercial banks (act as BOT agents) were allowed to charge not more than 7 percent per annum. Promissory notes for exports are generally available for 180 days either for pre-shipment or post-shipment credit. At the end of 1983 , the outstanding value of promissory notes for exports rediscounted at the bank of Thailand was 18,603 million baht and accordingly the value of export assisted by the BOT’s facility was 77,328 million baht which accounted for 52.8 percent of total export value of Thailand. Several points should be made on the rationale and justification of the Bank of Thailand’s rediscount facility. First such financial assistance has been used as an effective export promotion instrument. Second, it reduces financial cost of exporters on interest and then increases liquidity for exporters. Third, it reduces, to a certain degree, financial constraint on accessibility and different cost of different exporter groups (large, medium and small). As for the effectiveness of the rediscount facility, the comparative study on the financial cost incurred and the export earnings increased on six selected exports was made and taken into consideration. The net benefit was found only in the exports of rice. It was also found that the rediscount facility did not have direct effect on the increase in the export volume of maize, rubber, sugar, tapioca and tobacco, though it may indirectly boost the exports of those products by reducing the interest cost or by increasing liquidity for the exporters. It was noteworthy that the rediscount facility would yield the positive result if the price elasticity of foreign demand for and supply of Thai products was high. To effectively increase the export orientation of the Thai economy, the Bank of Thailand should, therefore, improve the rediscounting facility policy in the direction which moves form across-the board and general financial assistance to greater selectiveness along the industry or product lines. Special attention should be focused on the products with the high value of price elasticity of foreign demand for and supply of Thai products. 2012-05-21T22:40:18Z 2012-05-21T22:40:18Z 2528 Thesis http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19829 th จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 605652 bytes 770474 bytes 895621 bytes 895621 bytes 894985 bytes 828407 bytes 1359810 bytes 506192 bytes 661066 bytes application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย