ความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสะท้อนของพื้นผิวภายในอาคารกับประสิทธิภาพการใช้อุปกรณ์ควบคุมความสว่างของดวงโคมด้วยแสงธรรมชาติ

วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: รุ่งทิพย์ พูนอัศวสมบัติ
Other Authors: วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์
Format: Theses and Dissertations
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2012
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19929
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
id th-cuir.19929
record_format dspace
institution Chulalongkorn University
building Chulalongkorn University Library
country Thailand
collection Chulalongkorn University Intellectual Repository
language Thai
topic แสงในสถาปัตยกรรม
การส่องสว่างภายใน
การให้แสงธรรมชาติ
อาคาร -- แสงสว่าง
spellingShingle แสงในสถาปัตยกรรม
การส่องสว่างภายใน
การให้แสงธรรมชาติ
อาคาร -- แสงสว่าง
รุ่งทิพย์ พูนอัศวสมบัติ
ความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสะท้อนของพื้นผิวภายในอาคารกับประสิทธิภาพการใช้อุปกรณ์ควบคุมความสว่างของดวงโคมด้วยแสงธรรมชาติ
description วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
author2 วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์
author_facet วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์
รุ่งทิพย์ พูนอัศวสมบัติ
format Theses and Dissertations
author รุ่งทิพย์ พูนอัศวสมบัติ
author_sort รุ่งทิพย์ พูนอัศวสมบัติ
title ความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสะท้อนของพื้นผิวภายในอาคารกับประสิทธิภาพการใช้อุปกรณ์ควบคุมความสว่างของดวงโคมด้วยแสงธรรมชาติ
title_short ความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสะท้อนของพื้นผิวภายในอาคารกับประสิทธิภาพการใช้อุปกรณ์ควบคุมความสว่างของดวงโคมด้วยแสงธรรมชาติ
title_full ความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสะท้อนของพื้นผิวภายในอาคารกับประสิทธิภาพการใช้อุปกรณ์ควบคุมความสว่างของดวงโคมด้วยแสงธรรมชาติ
title_fullStr ความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสะท้อนของพื้นผิวภายในอาคารกับประสิทธิภาพการใช้อุปกรณ์ควบคุมความสว่างของดวงโคมด้วยแสงธรรมชาติ
title_full_unstemmed ความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสะท้อนของพื้นผิวภายในอาคารกับประสิทธิภาพการใช้อุปกรณ์ควบคุมความสว่างของดวงโคมด้วยแสงธรรมชาติ
title_sort ความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสะท้อนของพื้นผิวภายในอาคารกับประสิทธิภาพการใช้อุปกรณ์ควบคุมความสว่างของดวงโคมด้วยแสงธรรมชาติ
publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
publishDate 2012
url http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19929
_version_ 1681410749680844800
spelling th-cuir.199292012-09-02T06:55:46Z ความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสะท้อนของพื้นผิวภายในอาคารกับประสิทธิภาพการใช้อุปกรณ์ควบคุมความสว่างของดวงโคมด้วยแสงธรรมชาติ The relationship of interior surface reflectance on daylight-linked photo sensor efficiency รุ่งทิพย์ พูนอัศวสมบัติ วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แสงในสถาปัตยกรรม การส่องสว่างภายใน การให้แสงธรรมชาติ อาคาร -- แสงสว่าง วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 การใช้อุปกรณ์ควบคุมความสว่างของดวงโคมด้วยแสงธรรมชาติเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถลดปริมาณการใช้พลังงานแสงสว่างในอาคารได้ จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าประสิทธิภาพของการใช้อุปกรณ์ควบคุมความสว่างขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ตำแหน่งการติดตั้ง คุณสมบัติกระจกของช่องเปิด หากแต่ปัจจุบันพบว่ายังไม่มีการศึกษาปัจจัยด้านค่าการสะท้อนของพื้นผิวในอาคาร งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนค่าการสะท้อนของพื้นผิวที่เหมาะสมต่อการใช้งานเมื่อคำนึงถึงความคุ้มทุนทางด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นการศึกษาอัตราค่าการสะท้อนของพื้นผิวภายในอาคารที่มีผลต่อประสิทธิภาพการใช้อุปกรณ์ควบคุมความสว่างของดวงโคมด้วยแสงธรรมชาติ โดยงานวิจัยนี้ใช้การจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลคุณภาพแสงภายในอาคารสำนักงานจำลองขนาด 3.50x5.40x2.70 เมตร ภายในติดตั้งโคมไฟที่ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 หุน ขนาด 36 วัตต์ จำนวน 6 ชุด และมีการแบ่งชุดควบคุมการทำงานด้วยเปิดปิดและแบบปรับหรี่ได้ โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ศึกษาค่าความสว่างที่ได้จากแสงธรรมชาติในระดับพื้นที่ทำงานของสำนักงานแบบจำลอง โดยจะจำลองสภาพความสว่างด้วยโปรแกรม DIALux 4.8 พื้นผิวภายในของแบบจำลองจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าการสะท้อนตั้งแต่ 0.10-0.90 ในทุกๆพื้นผิวทั้งพื้น ผนัง และเพดาน ส่วนที่ 2 ศึกษาการใช้พลังงานของโคมไฟเมื่อใช้ควบคู่กับอุปกรณ์ควบคุมความสว่าง โดยศึกษาเพื่อเปรียบเทียบค่าการใช้พลังงานที่ต่างกันระหว่างระบบดวงโคมที่มีกับไม่มีอุปกรณ์ควบคุมความสว่างด้วยแสงธรรมชาติ กับเปรียบเทียบพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ของสำนักงานจำลองที่มีอุปกรณ์ควบคุมความสว่างดวงโคมแต่ในทิศทางต่างกันและช่วงเวลาที่ต่างในตลอดทั้งปี และส่วนที่ 3 วิเคราะห์ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์ เปรียบเทียบค่าการลงทุนระหว่างระบบไฟฟ้าทั่วไปกับระบบไฟฟ้าที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมความสว่างด้วยแสงธรรมชาติ และผลตอบแทนทางการใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับ เพื่อหาระยะคืนทุนของระบบดังกล่าวในการใช้งานในห้องสำนักงานที่มีค่าการสะท้อนของพื้นผิวภายในที่แตกต่างกัน จากผลการวิจัยพบว่าห้องที่มีอัตราค่าการสะท้อนของพื้นผิวภายในอาคารสูงจะมีอัตราค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าแสงสว่างที่ต่ำกว่าห้องที่มีอัตราค่าการสะท้อนของพื้นผิวภายในอาคารน้อย ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายทางพลังงานของอาคาร โดยพบว่าอาคารที่มีการติดตั้งอุปกรณ์จะสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าเมื่อเทียบกับระบบทั่วไปได้ร้อยละ 48-62 และเมื่อนำค่าใช้จ่ายทางพลังงานมาวิเคราะห์ร่วมกับค่าใช้จ่ายตั้งต้นของระบบเพื่อวิเคราะห์ความน่าลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ อาคารที่มีช่องเปิดทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกควรติดตั้งอุปกรณ์เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานไฟฟ้าโดยจะมีอัตราการคืนทุนของระบบที่เร็วเมื่ออาคารมีอัตราค่าการสะท้อนของพื้นผิวภายในมาก ในขณะที่อัตราค่าการสะท้อนของพื้นผิวภายในมีผลน้อยมากกับอัตราคืนทุนของระบบเมื่ออาคารที่ใช้อุปกรณ์มีช่องเปิดทางทิศเหนือ A daylight-linked photo sensor is a measures employed for interior lighting energy saving. Previous literature reveals that its efficiency depends on various factors such as location and glass specification. However, no studies have been conducted on the reflectance of interior surfaces. This study, therefore, aims to investigate the relationship between the reflectance of interior surfaces and the efficiency of a daylight-linked photo sensor and to find the break-even point. A computer program was used to collect data of interior lighting quality in a 3.5 x 5.4 x 2.7-meter simulation office. The room had six one-inch-diameter 36-watt fluorescent light bulbs, some controlled by an on/off switch and the others equipped with a light dimmer. This study consists of three parts. First, it explores the daylight index in the simulation office using the DIALux 4.8 program and finds that the reflectance of interior surfaces changed from 0.10 to 0.90 in all cases. Second, it studies energy consumption along with the use of a light sensor. The study compares the use of light bulbs with and without a daylight-linked photo sensor in different directions and times of year. Last, it gives the break-even point analysis considering an electronic device with and without the photo sensor and discusses the break-even point of using the photo sensor, considering different degrees of reflectance of interior surfaces. Findings suggest that offices with high reflectance of interior surfaces consume less lighting energy than those with lower reflectance. The use of a photo sensor can therefore result in energy savings of from 48 to 62%. Considering the break-even point, after taking into account both energy and device costs, offices with open space on the north ,east and west side should install a photo sensor with considering the high reflectance of interior surfaces. 2012-05-28T14:03:26Z 2012-05-28T14:03:26Z 2553 Thesis http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19929 th จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4006844 bytes application/pdf application/pdf จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย