โมเดลเชิงสาเหตุและผลของความเหนื่อยหน่ายของครูในกรุงเทพมหานคร: การศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ
วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Theses and Dissertations |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2012
|
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20095 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
id |
th-cuir.20095 |
---|---|
record_format |
dspace |
institution |
Chulalongkorn University |
building |
Chulalongkorn University Library |
country |
Thailand |
collection |
Chulalongkorn University Intellectual Repository |
language |
Thai |
description |
วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
author2 |
วรรณี แกมเกตุ |
author_facet |
วรรณี แกมเกตุ พีรยุทธ ภักดีเจริญ |
format |
Theses and Dissertations |
author |
พีรยุทธ ภักดีเจริญ |
spellingShingle |
พีรยุทธ ภักดีเจริญ โมเดลเชิงสาเหตุและผลของความเหนื่อยหน่ายของครูในกรุงเทพมหานคร: การศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ |
author_sort |
พีรยุทธ ภักดีเจริญ |
title |
โมเดลเชิงสาเหตุและผลของความเหนื่อยหน่ายของครูในกรุงเทพมหานคร: การศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ |
title_short |
โมเดลเชิงสาเหตุและผลของความเหนื่อยหน่ายของครูในกรุงเทพมหานคร: การศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ |
title_full |
โมเดลเชิงสาเหตุและผลของความเหนื่อยหน่ายของครูในกรุงเทพมหานคร: การศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ |
title_fullStr |
โมเดลเชิงสาเหตุและผลของความเหนื่อยหน่ายของครูในกรุงเทพมหานคร: การศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ |
title_full_unstemmed |
โมเดลเชิงสาเหตุและผลของความเหนื่อยหน่ายของครูในกรุงเทพมหานคร: การศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ |
title_sort |
โมเดลเชิงสาเหตุและผลของความเหนื่อยหน่ายของครูในกรุงเทพมหานคร: การศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ |
publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
publishDate |
2012 |
url |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20095 |
_version_ |
1681414129316790272 |
spelling |
th-cuir.200952012-06-06T14:49:40Z โมเดลเชิงสาเหตุและผลของความเหนื่อยหน่ายของครูในกรุงเทพมหานคร: การศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ A causal model and effects of burnout of teachers in Bangkok: a quantitative and qualitative study พีรยุทธ ภักดีเจริญ วรรณี แกมเกตุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบระดับความเหนื่อยหน่ายของครูในกรุงเทพมหานครจำแนกตามสังกัดของโรงเรียน 2) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายของครูในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายของครูในกรุงเทพมหานครที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากความเหนื่อยหน่าย และการวางแผนชีวิตในอนาคตของครูที่มีความเหนื่อยหน่าย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในกรุงเทพมหานคร จำนวน 940 คน และกรณีศึกษาในการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน โดยมีตัวแปรที่ใช้การวิจัยประกอบด้วย ตัวแปรภายในแฝง 5 ตัวแปร ได้แก่ ความเหนื่อยหน่ายของครู การเห็นคุณค่าในตนเอง ความกดดันจากงาน ความเครียดในการทำงาน และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และตัวแปรภายนอกแฝง 3 ตัวแปร คือ การสนับสนุนทางสังคม ความขัดแย้งในบทบาท และบทบาทที่มากเกินไป โดยตัวแปรแฝงวัดจากตัวแปรสังเกตได้ รวมทั้งหมด 14 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถาม และแนวคำถามที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม ซึ่งแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของ ตัวแปรสังเกตได้ตั้งแต่ 0.774 - 0.950 และมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ 0.899 และผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยการ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์โมเดลลิสเรล และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1. ครูในกรุงเทพมหานคร มีความเหนื่อยหน่ายโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ ( = 2.401, SD = 0.585) และไม่พบความแตกต่างของระดับความเหนื่อยหน่ายของครูระหว่างสังกัด 2. โมเดลเชิงสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายของครูในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง และทางอ้อม ต่อความเหนื่อยหน่ายของครูในกรุงเทพมหานคร โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลรวม และอิทธิพลทางตรงสูงที่สุด คือ ความเครียดในการทำงาน ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงที่สุด คือ การสนับสนุนทางสังคม 3. โมเดลเชิงสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายของครูในกรุงเทพมหานครโดยภาพรวมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 5.50 ที่องศาอิสระ เท่ากับ13 ที่ระดับความน่าจะเป็น เท่ากับ 0.963 มีค่า GFI เท่ากับ 0.999 ค่า AGFI เท่ากับ 0.993 และ ค่า RMR เท่ากับ 0.004 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความเหนื่อยหน่ายของครูในกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 80.7 4. ผลที่เกิดขึ้นเมื่อครูมีความเหนื่อยหน่าย ได้แก่ 1) ทัศนคติต่อวิชาชีพเปลี่ยนไป 2) ความตั้งใจที่จะลาออกจากงาน หรือเปลี่ยนงาน 3) ไม่อยากมาทำงาน และขาดงานบ่อย 4) ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง 5) มีความพึงพอใจในงานต่ำลง 6) มีปัญหาเรื่องสุขภาพของตนเอง ส่วนการวางแผนชีวิตของครูในอนาคตเมื่อเกิดความเหนื่อยหน่าย พบว่า 1) ครูที่เป็นครูอัตราจ้างมีความตั้งใจที่จะสอบบรรจุให้ได้ เพื่อความมั่นคงในอาชีพครูต่อไป 2) ครูที่รักในอาชีพนี้ยังคงประกอบอาชีพครูต่อไป และจะทำธุรกิจเล็กๆเพื่อให้สามารถเลี้ยงตนเองได้ควบคู่กันไป 3) ครูที่เป็นคนต่างจังหวัดจะทำงานเป็นครูในกรุงเทพอีกช่วงระยะหนึ่งแล้วจะกลับไปใช้ชีวิตอยู่ต่างจังหวัดกับครอบครัว หรือแต่งงานมีครอบครัวแล้วกลับ ไปอยู่บ้านเกิด 4) ครูที่อายุน้อยก็จะเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น เพื่อโอกาสในการเปลี่ยนงานที่ดีขึ้น หรือเปลี่ยนอาชีพ 5) ครูที่ค้นพบตัวเองว่าไม่ชอบสอนหนังสือจะเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นเพื่อเปลี่ยนอาชีพ 6) ครูที่สุขภาพไม่เอื้ออำนวยจะย้ายกลับไปอยู่ต่างจังหวัดกับครอบครัว และจะนำความรู้ที่ได้จากการประกอบอาชีพอยู่ไปใช้อบรมเลี้ยงดูและสั่งสอนบุตร The objectives of the research were 1) to study and to compare the burnout levels of teachers in Bangkok under different authorities 2) to development the causal model of the burnout of teachers in Bangkok 3) to examine the consistency of the model with empirical data and 4) to study the results of burnout of teachers and what they plan to do in the future. The research samples consisted of 940 teachers in Bangkok and the case study of 8 teachers in the discussion group. Five latent internal and three latent external variables are used in the research. Five intenal variables are Bangkok teachers’ burnout, the self-esteem, the work pressure, the stress, the school Environment. Three external variables, the social support, the role conflict and the role overload. These latent variables were measured by fourteen observed variables. The research data were collected by questionnaires and focus group technique. Questionnaire had Cronbach's alpha reliability coefficient of observe variable in the range 0.774 to 0.950 and analyzed by employing descriptive statistics, one-way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, Confirmatory factor analysis and LISREL analysis. The research finding were as follows: 1. The teachers in Bangkok’s burnout are low ( = 2.401, SD = 0.585) and the teachers in Bangkok’s burnout weren’t different among the school under different authorities. 2. The causal model consists of variables having both direct and indirect effect. Among these variables, the stress had the highest total and direct effect and pressure had the highest indirect effect to the teachers in Bangkok’s burnout. 3. The causal model was valid and fitted with the empirical data. Indicated by the Chi-square goodness of fit test was 5.50, df = 13, p = 0.963, GFI = 0.999, AGFI = 0.993 and RMR = 0.004. The model accounted for 80.7% of variance in burnout of teachers in Bangkok. 4. The effects of burnout of teachers in Bangkok are as follows: 1)The change of attitude towards the job 2) The early retirement or the job change 3) The frequent leave 4)The deficient efficiency of work 5) The declined job satisfaction and 6) The private health problems. The future plans of the burnout teachers in Bangkok are the following: 1) The hired position teachers intend to pass the teacher examination in order to be the permanently appointed position teachers for the security of their lives. 2) The teachers who love their jobs still keep on working and are looking for small business to earn extra income. 3) The teachers coming from the upcountry will work for a while and move back to the upcountry to live with their families. 4) The young teachers will further their studies in order to improve their current work or get better jobs. 5) The teachers who find themselves that they dislike teaching will further their studies to change jobs. 6) The teachers who have chronic diseases will move to their hometown to live with families and they will use their knowledge to bring up and teach their children. 2012-06-06T14:49:39Z 2012-06-06T14:49:39Z 2552 Thesis http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20095 th จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4691813 bytes application/pdf application/pdf กรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |