การศึกษากิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง เพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านของสถานบริการสาธารณสุข เขตกรุงเทพมหานคร : รายงานผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมพยาบาลเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านสำหรับผู้ป่วยเด็กที่มีความผิดปกติหรือความพิการของหัวใจแต่กำเนิด ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยทารกแรกเกิดที่มีความผืดปกติของหัวใจและหน่วยทารกแรกเกิดที่มี...
Saved in:
Main Authors: | , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2006
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2012 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมพยาบาลเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านสำหรับผู้ป่วยเด็กที่มีความผิดปกติหรือความพิการของหัวใจแต่กำเนิด ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยทารกแรกเกิดที่มีความผืดปกติของหัวใจและหน่วยทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤต จำนวน 90 คน จากโรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 7 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร และบิดามารดาหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก จำนวน 10 คน ที่นำเด็กมารับการตรวจตามนัดที่คลินิค โรคหัวใจแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลวชิรพยาบาล และจากการสังเกตสมัมภาษณ์บิดามารดาหรือผู้ดูแลเด็กที่บ้าน จำนวน 9 ราย เครื่าองมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบทดสอบพัฒนาการเด็ก วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1. การปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการดูแลเด็กต่อเนื่องที่บ้านตามการรายงานของพยาบาลอยู่ในระดับปฏิบัติบ่อยครั้งทุกขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล โดยขั้นตอนของการประเมินผลการพยาบาล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และขั้นตอนการปฏิบัติการพยาบาลตามแผนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในขั้นตอนการประเมินปัญหาและวินิจฉัยการพยาบาล ข้อที่รายงานว่ามีการปฏิบัติสูงสุด คือ "ประเมินปัญหาผู้ป่วยเด็กจากการสังเกตลักษณะอาการทางกาย" เช่นเดียวกับขั้นตอนการวางแผนการพยาบาล ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ "วางแผนการพยาบาลโดยคำนึงถึงความต้องการด้านร่างกาย" ขั้นตอนการปฏิบัติการตามแผน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ "ใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการพยาบาลเด็ก" มีค่าเฉลี่ยเท่ากันกับ "ประสานงานกับแพทย์และบุคลากรในทีมสุขภาพ" ขั้นตอนการประเมินผลการพยาบาล ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ "รายงานผลการประเมินผลการพยาบาลโดยบันทึกในรายงาน" 2. การให้คำแนะนำเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ด้านการเจริญเติบโตและพัฒนาการพยาบาลจำนวนร้อยละ 91.3 ให้คำแนะนำ "ให้ยาเด็กถูกขนาดและเวลาอย่างเคร่งครัด" ด้านการดูแลเมื่อเด็กมีอาการผิดปกติ พยาบาลจำนวนร้อยละ 81.3 ให้คำแนะนำ "ดูแลเด็กเมื่อมีไข้ โดยเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น" ผลการสัมภาษณ์พ่อแม่และหรือผู้ดูแลเด็ก ส่วนใหญ่จะให้ข้อมูลสอดคล้องกันว่า พยาบาลส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการให้ยาเด็กให้ถูกขนาดตรงเวลา และการนำเด็กไปรับภูมิคุ้มกันโรค และพาไปพบแพทย์ตามนัด 3. การเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน จำนวน 9 ราย พบว่า ครอบครัวที่มีเด็กป่วยด้วยโรคหัวใจเรื้อรังที่บ้าน ทำให้บิดามารดาและผู้เลี้ยงดูมีความครียด โดยเฉพาะด้านการเจ็บป่วยของเด็กและเศรษฐกิจ เพราะต้องใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเด็กในระยะยาว การดูแลเด็กของครอบครัวเป็นไปตามปัจจัยสิ่งแวดล้อมประกอบ ซึ่งได้แก่ ฐานะครอบครัว ความรู้ของบิดามารดา ผู้ช่วยเหลือในการดูแลเด็ก เป็นต้น จากการศึกษา พบว่า บิดา-มารดา และบุคคลในครอบครัวให้ความสนใจดูแลเด็กป่วยมาก และตามใจทุกอย่าง ซึ่งส่งผลให้การดูแลบุตรคนอื่นลดลง ผู้ดูแลเด็กยังขาดความรู้ในการดูแลเด็ก โดยเฉพาะ ความรู้ในการดูแลด้านจิตใจเด็ก และการกระตุ้นพัฒนาการ ผู้วิจัยเสนอแนะให้มีการศึกษาการสนับสนุนทางสังคม ของครอบครัวต่อการเลี้ยงดูเด็กป่วยด้วยโรคหัวใจแต่กำเนิด และผลกระทบของการมีบุตรป่วยด้วยโรคหัวใจ ที่มีผลต่อการเลี้ยงบุตรคนอื่นในครอบครัว |
---|