ผลของการใช้วิธีการเพื่อนบ้านสอนเพื่อนบ้านที่มีต่อความรู้ทัศนคติ และการปฎิบัติในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของประชาชนในชุมชนลุมพินี: รายงานการวิจัย

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้วิธีการเพื่อนบ้านสอนเพื่อนบ้านที่มีต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของประชาชนในชุมชนลุมพินี และเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของประชาชนก่อนและหลังการสอน แบบของการทดลอง คื...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: พวงเพ็ญ ชุณหปราณ, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร, ภาวนา จงทักษิณาวัตร, พรนิภา ลีละธนาฤกษ์, ภวพร ไพศาลวัชรกิจ, ปรารถนา หมี้แสน, ประดับ แก้วแดง, นารีรัตน์ รูปงาม, ภัสรา จารุสุสินธิ์, วิภาสิริ นราพงษ์, ศิรินภา ชี้ทางให้, บุบผา พวงมาลี, น้ำค้าง แสงสว่าง, นัยนา เตโชฬาร
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2019
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้วิธีการเพื่อนบ้านสอนเพื่อนบ้านที่มีต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของประชาชนในชุมชนลุมพินี และเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของประชาชนก่อนและหลังการสอน แบบของการทดลอง คือ แบบ 1 กลุ่ม มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนวัยผู้ใหญ่ อายุ 13-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในแฟลตแห่งหนึ่ง (ลุมพินี) สุ่มโดยวิธีชั้นภูมิโดยถือเอาชั้นของอาคารเป็นชั้นภูมิที่จัดแบ่ง ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นชาย 37 คน หญิง 50 คน รวมทั้งหมด 87 คน ซึ่งแบ่งเป็นผู้นำซึ่งเป็นเพื่อนบ้าน 12 คน และประชาชนทั่วไป 75 คน วิธีดำเนินการวิจัยโดยการทดสอบความรู้ สอบถามทัศนคติและการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นผู้วิจัยทำการสอนผู้นำซึ่งเป็นเพื่อนบ้านเป็นรายบุคคลโดยใช้สื่อภาพพลิกและแผ่นพับเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี แล้วให้ผู้นำไปสอนประชาชนในแฟลตชั้นเดียวกับตนตามที่ได้รับมอบหมาย เมื่อครบ 4 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบความรู้ สอบถามทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มตัวอย่างอีกครั้งหนึ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี แบบสอบถามทัศนคติและการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี แผนการสอนความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัตในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ภาพพลิกและแผ่นพับเกี่ยวกับความรู้และการป้องกันโรคเอดส์ เครื่องมือสร้างโดยผู้วิจัยและผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ .89 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t test) ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของผู้นำชุมชนหลังการสอนสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยความรู้ และทัศนคติในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของประชาชนหลังการสอนโดยวิธีการเพื่อนบ้านสอนเพื่อนบ้านสูงกว่าการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน