ความปลอดภัยของการบริโภคสารสกัดเปลือกทุเรียน และการทำสารให้บริสุทธิ์ : รายงานผลการวิจัย
การศึกษาทำให้หนูถีบจักรและหนูขาวเพศผู้ป้อนให้กินสารสกัดคาร์โบไฮเดรตจากเปลือกทุเรียนขนาดสูงมาก DF[subscript I] และ DF[subscript II] เป็นสารโพลี่แซคคาไรด์มีกลูโคสเป็นน้ำตาลหลักและมีน้ำตาลพวกแรมโนสและอราบิโนส ฟรุกโตสพบเฉพาะใน DF[subscript I] ทำการทดลองตรวจสอบการเกิดพิษเฉียบพลันในสัตว์ทดลองเมื่อให้กินขน...
Saved in:
Main Authors: | , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2006
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2153 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษาทำให้หนูถีบจักรและหนูขาวเพศผู้ป้อนให้กินสารสกัดคาร์โบไฮเดรตจากเปลือกทุเรียนขนาดสูงมาก DF[subscript I] และ DF[subscript II] เป็นสารโพลี่แซคคาไรด์มีกลูโคสเป็นน้ำตาลหลักและมีน้ำตาลพวกแรมโนสและอราบิโนส ฟรุกโตสพบเฉพาะใน DF[subscript I] ทำการทดลองตรวจสอบการเกิดพิษเฉียบพลันในสัตว์ทดลองเมื่อให้กินขนาด 2 ก/กก. น้ำหนักตัว/1 วัน ของสาร DF[subscript I] หรือ DF[subscript II] ไม่พบมีการตายหรือมีความเป็นพิษที่รุนแรงกับหนูถีบจักรและหนูขาวที่ให้กินสารทดลอง อย่างไรก็ดีในกลุ่มหนูถีบจักรพบว่าค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวเพิ่มมีค่าต่ำมาก (p is less than or equal to 0.05) เป็นเวลา 3-4 วัน หลังวันให้กิน DF[subscript I] หรือ DF[subscript II] ในขณะที่กลุ่มของหนูขาวแสดงผลนี้ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ของการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวเพิ่ม เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (control) น้ำหนักสัมพัทธ์ของอวัยวะภายของสัตว์ทดลองไม่พบมีค่าความแตกต่างกันจากกลุ่มควบคุมของมัน ผลของความเป็นพิษอื่นๆ ตรวจสอบโดยวิเคราะห์เลือดและซีรั่ม โดยวิธีทางโลหิตวิทยาและทางคลินิก พบมีค่าต่างๆ ทางโลหิตวิทยาเป็นปกติในสัตว์ที่ทดลอง การตรวจซีรั่มทางคลินิกหาระดับของ กลูโคส โคเลสเตอรอล ครีอตินีน และ บียูเอ็น (blood urea nitrogen) ไม่พบมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองในหนูถีบจักรและหนูขาว ไม่พบพยาธิสภาพของตับซึ่งตรวจสอบโดยการวัดระดับเอนไซม์ ALP SGOT และ SGPT ในซีรั่ม ผลของค่าเอนไซม์เหล่านี้ในหนูถีบจักรและหนูขาวในกลุ่มทดลองพบมีค่าปกติไม่แตกต่างเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมของมัน ถึงแม้จะพบว่าในหนูขาวกลุ่มทดลองให้ผลของระดับ BUN ในซีรั่มที่มีค่าเฉลี่ยสูงเล็กน้อย ซึ่งไม่แสดงถึงการทำลายตับ ผลการทดลองเหล่านี้เสนอแนะได้ว่า การให้กินขนาดสูงของ DF[subscript I] หรือ DF[subscript II] (2 ก./กก./1 วัน) ไม่ทำให้เกิดพิษรุนแรงในหนูถีบจักรและหนูขาวที่ใช้ทดลองในการศึกษาครั้งนี้ การศึกษาระยะยาวโดยทำการทดลองในหนูถีบจักรป้อนให้กินสารตัวอย่าง DF[subscript II] และ DF[subscript I] ให้หนูกินเป็นเวลานาน 60 วันในหนูเพศผู้และ 100 วันในหนูเพศเมีย กลุ่มทดลองหนูเพศผู้และเพศเมียได้รับการป้อนสาร DF[subscript II] ขนาด 0.5 และ 0.25 ก./กก./วัน ป้อนสาร DF[subscript I] และป้อนเพคตินแทนสารมาตรฐาน ขนาด 0.25 ก./กก./วัน ให้หนูทุกตัวกินอาหารและน้ำไม่จำกัด สังเกตการเพิ่มของน้ำหนักตัวพบน้ำหนักเพิ่มสัมพัทธ์ต่อ 100 กรัมน้ำหนักตัวเริ่มต้นของกลุ่มให้กิน DF[subscript II]DF[subscript I] เพคตินและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) อย่างไรก็ดี ค่าเฉลี่ยของการเพิ่มน้ำหนักสัมพัทธ์ของกลุ่มที่ให้กิน DF[subscript II] 0.5 ก./กก./วัน จะค่อนข้างต่ำกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมของมัน พฤติกรรมและความว่องไวของหนูกลุ่มทดลองพบเป็นปกติเหมือนกลุ่มควบคุม การตรวจวิเคราะห์ทางโลหิตวิทยาและชีวเคมีคลินิกของเลือดไม่พบความผิดปกติทางโลหิตวิทยาและไม่มีอาการโลหิตจาง มีระดับของกลูโคส โคเลสเตอรอลครีอตินีน บียูเอ็น และระดับของเอนไซม์ อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส และทรานส์อมิเนส พวกเอสจีโอที และเอสจีพีที ในซีรั่ม มีค่าระดับปกติ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แสดงถึงการไม่มีพยาธิสภาพของตับและไตเกิดขึ้นในกลุ่มที่กินสารสกัดตลอดช่วงเวลาที่ให้กินสารตัวอย่าง อย่างไรก็ดีพบว่าการให้กิน DF[subscript II] แม้ในขนาดต่ำ คือ 0.25 ก./กก./วัน ดูเหมือนทำให้ระดับของโคเลสเตอรอลในเลือดลดลงมาอยู่ที่เกณฑ์ค่าปกติระดับต่ำพบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 110+-4 มก./ดล. และ 102+-5 มก./ดล. ในหนูเพศผู้และเพศเมียตามลำดับ ในขณะที่ของกลุ่มควบคุมพบระดับปกติของโคเลสเตอรอลในซีรั่มที่ 133+-27 มก./ดล. และ 132+-14 มก./ดล. ในหนูเพศผู้และเพศเมียตามลำดับ ผลของการเกิดลูกของหนูทั้งจำนวนและการเจริญเติบโตของลูกเฝ้าดูเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบเป็นปกติไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยของจำนวนลูกและของการเพิ่มน้ำหนักไม่ต่ำกว่าที่พบในกลุ่มควบคุมขณะให้แม่กิน DF[subscript II]และ DF[subscript I] ในระยะยาวเป็นเวลานาน 100 วัน การทดสอบความเป็นพิษรองเรื้อรังในการศึกษานี้ดูเหมือนเสนอแนะให้ว่าสารสกัดจากเปลือกผลทุเรียนอาจใช้บริโภคในระยะยาวได้ปลอดภัยในหนูถีบจักร การสกัดโพลี่แซคคาไรด์จากเปลือกของผลทุเรียนได้สารสกัด DF[subscript I] เป็นสารสกัดหยาบสกัดได้สาร DF[subscript II] ที่บริสุทธิ์ขึ้น สารสกัดนี้เป็นโพลี่แซคคาไรด์ที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล glucose rhamnose arabinose (3:1:1) ใน DF[subscript II] และหลังจากทำให้ให้สารบริสุทธิ์โดยวิธี column chromatography ใช้ Sephadex LH 20 จะได้สารสกัด CDF[subscript II] ที่บริสุทธิ์มากขึ้นและได้สารทั้งหมด 73.6 % หลังจากการผ่าน column chromatography การตรวจวิเคราะห์โครงสร้างเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าสารสกัดโพลี่แซคคาไรด์ยังมีส่วนประกอบของ uronic acid จากการทำปฏิกิริยาทางเคมีกับ carbazole reagent และ m-hydroxydiphenyl reagent และการตรวจวิเคราะห์จาก IR spectrum พบว่ามีโครงสร้างของหมู่ carboxyl ในสารสกัด จากผลนี้เสนอแนะว่ามีส่วนประกอบของพวก uronic acid อยู่ด้วย ในโครงสร้างของโพลี่แซคคาไรด์สกัดจากเปลือกผลทุเรียน |
---|