โครงการ 'ระบบยากับสุขภาพหญิงไทย: กรณีศึกษายาคุมกำเนิด' : รายงานฉบับสมบูรณ์

รายงานการวิจัยเรื่องระบบยากับสุขภาพหญิงไทย กรณีศึกษายาคุมกำเนิด เป็นรายงานวิจัยที่จัดทำในเชิงบูรณาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายและสถานการณ์การใช้ยาคุมกำเนิดของไทยภายใต้ระบบยา ตั้งแต่ขั้นตอนของการคัดเลือก การจัดหา การกระจาย และการใช้ยา โดยศึกษาทั้งในเชิงโครงสร้างและกระบวนการที่ใช้ในระบบยา พร้...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี, สุนทรี ท. ชัยสัมฤทธิ์โชค, เยาวลักษณ์ อ่ำรำไพ, กรแก้ว จันทภาษา, สรชัย จำเนียรดำรงการ
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2160
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:รายงานการวิจัยเรื่องระบบยากับสุขภาพหญิงไทย กรณีศึกษายาคุมกำเนิด เป็นรายงานวิจัยที่จัดทำในเชิงบูรณาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายและสถานการณ์การใช้ยาคุมกำเนิดของไทยภายใต้ระบบยา ตั้งแต่ขั้นตอนของการคัดเลือก การจัดหา การกระจาย และการใช้ยา โดยศึกษาทั้งในเชิงโครงสร้างและกระบวนการที่ใช้ในระบบยา พร้อมทั้งวิเคราะห์บทบาทและการประสานงานเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาสุขภาพหญิงไทยในระยะยาว รวมทั้งเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะที่เหมาะสมในการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดให้สอดรับกับนโยบายการปฏิรูประบบสุขภาพ สำหรับวิธีการศึกษา ใช้วิธีการศึกษาหลายรูปแบบ ทั้งการวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งในระดับนโยบายและในระดับปฏิบัติงานและผู้รับบริการ และทำการวิจัยเชิงสำรวจโดยการสวมบทบาทสมมติเป็นผู้รับบริการที่ร้านยา และใช้แบบสอบถามสำหรับการประเมินการรับรู้ของวัยรุ่นเกี่ยวกับยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ผลการศึกษาพบว่าสถานการณ์สุขภาพสตรีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก สตรีไทยมีอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวขึ้น (75 ปี) แต่ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนมากขึ้นและมีแนวโน้มจากสาเหตุที่เชื่อมโยงกับปัญหาสังคมและการใช้เทคโนโลยีเกินจำเป็นมากขึ้น โดยสาเหตุของการป่วยและสาเหตุของการเสียชีวิตเปลี่ยนจากการคลอดบุตร โรคติดเชื้อ เป็นป่วยและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร การฉ่าตัวตาย ฆาตกรรม มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โดยสาเหตุการป่วยที่สำคัญได้แก่ การป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ การข่มขืน ส่วนปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และการทำแท้งยังเป็นปัญหาที่สำคัญของวัยรุ่นสตรี มีแนวโน้มว่าปัญหาดังกล่าวเกิดในกลุ่มสตรีวัยรุ่นที่มีอายุลดลง (14-20 ปี) สถิติที่น่าสนใจรวมไปถึงการทำแท้งในกลุ่มสตรีที่สมรสแล้วเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากคุมกำเนิดที่ล้มเหลวและค่านิยมใหม่ในสังคมที่ต้องการครอบครัวขนาดเล็กลงเนื่องจากความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ในเรื่องสถานการณ์ทั่วไปของการคุมกำเนิด ประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างสูงในการลดอัตราการเพิ่มของประชากร (ร้อยละ 0.8) ทำให้รัฐบาลมีนโยบายลดการสนับสนุนการคุมกำเนิด ซึ่งอาจส่งผลต่ออัตราการเพิ่มประชากรได้ในอนาคต อย่างไรก็ดี ผู้หญิงยังเป็นหลักในการแบกรับภารวะในการคุมกำเนิดต่อไป โดยสตรีไทยมีสัดส่วนของการใช้ยาเม็ดชนิดรับประทานสูงที่สุด และมีแนวโน้มของการใช้ยาฉีดคุมกำเนิดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งย่อมหมายความว่าในระยะยาว สตรีไทยมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยเนื่องอาการไม่พึงประสงค์ของคุมกำเนิดมากขึ้น ในขณะที่ผู้ชายมีบทบาทในการคุมกำเนิดน้อยมากและขาดนโยบายจากการรัฐที่สนับสนุนต่อบทบาทผู้ชายอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำหมันชายหรือการใช้ถุงยางอนามัย ตลอดจนมีแนวโน้มของการสนับสนุนการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อการคุมกำเนิดลดลง ทั้ง ๆที่ทุกฝ่ายต่างยืนยันว่าการใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิธีเดียวที่สามารถคุมกำเนิด และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ไปพร้อมกัน จากการที่นโยบายด้านประชากรของไทยที่ผ่านมา เน้นการตอบสนองเฉพาะเรื่องการคุมกำเนิดเพียงเรื่องเดียว ทำให้มีการละเลยในเรื่องความปลอดภัยในการใช้ยาไป ดังจะเห็นตัวอย่างได้จากการพบสูตรตำรับยาคุมกำเนิดที่ไม่เหมาะสม ไม่มีข้อมูลทางวิชาการที่ครบถ้วนรับรอง แต่ได้รับอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนและจำหน่ายอย่างแพร่หลาย ในขณะที่การดำเนินการเพื่อการติดตาม การตรวจสอบ การทบทวนและการยกเลิกทะเบียน หรือแก้ไขข้อมูลในฉลากและเอกสารกำกับยาให้ถูกต้องมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และใช้เวลานานจากการศึกษาสถานการณ์การให้บริการคุมกำเนิดในภาครัฐ โดยการเก็บข้อมูลจากสถานบริการสุขภาพ 14 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร 1 แห่ง โรงพยาบาลในเขตปริมณฑล 1 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร 10 แห่ง และสถานีอนามัยในเขตปริมณฑล 2 แห่ง การเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์ผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ ประกอบกับการสังเกตการให้บริการโดยผู้วิจัย พบว่าการให้บริการของสถานบริการส่วนใหญ่ยังเน้นการตอบสนองต่อนโยบายด้านการคุมกำเนิดอยู่เช่นเดิมมากกว่าการคำนึงถึงสุขภาพ ความต้องการของผู้หญิง และการคำนึงถึงสุขภาพความต้องการของผู้หญิง และการคำนึงถึงสิทธิอนามัยเจริญพันธ์และศักดิ์ศรีของผู้หญิง โดยมุ่งส่งเสริมเฉพาะรูปแบบการให้บริการที่ง่ายและสะดวกสำหรับเจ้าหน้าที่ซึ่งได้แก่ ยาเม็ดคุมกำเนิดและยาฉีดคุมกำเนิด นอกจากนี้คุณภาพของการให้บริการก็ยังเป็นที่น่าสงสัยในความรู้ความเข้าใจของผู้รับบริการที่ได้จากเจ้าหน้าที่ที่พบว่ามีหลากหลายและบางครั้งไม่ใช่ความรู้ในเชิงวิชาการที่เพียงพอต่อการจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาคุมกำเนิดทำให้ผู้หญิงที่มีฐานะยากจน ที่มีทางเลือกน้อย ต้องรับสภาพการให้บริการเช่นนี้ต่อไป สำหรับการศึกษาสถานการณ์บริการคุมกำเนิดในร้านยา มุ่งศึกษาลักษณะการให้บริการคุมกำเนิดมาตรฐานการให้บริการ แบบแผนการจ่ายยา รวมทั้งความรู้ ความเข้าใจที่เกี่ยวกับยาคุมกำเนิดฉุกเฉินของผู้รับบริการ ผลการศึกษาจากร้านยา 23 แห่ง แบ่งเป็นร้านยาในเขตกรุงเทพมหานคร 15 แห่ง และร้านยาในเขตปริณฑล 8 แห่งแสดงว่าคุณภาพมาตรฐานของการให้บริการระหว่างร้านขายยาที่ผู้ให้บริการเป็นเภสัชการกับและผู้ที่ไม่ใช่เภสัชการไม่แตกต่างกันมากนัก แม้ว่าส่วนใหญ่ไม่ใช่การให้บริการเชิงวิชาการที่เต็มรูปแบบ ร้านยาผู้ให้บริการเป็นเภสัชกรจะซักประวัติการใช้ยาและโรคประจำตัว และให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีใช้ยาคุมกำเนิด ตลอดจนอาการข้างเคียงมากกว่าเพียงเล็กน้อย แต่ในกรณีของยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ลักษณะของการให้บริการในเชิงวิชาการนั้นยิ่งลดน้อยลงไปอีก ข้อมูลความรู้เชิงวิชาการที่ผู้บริโภคได้รับจึงมีเพียงข้อมูลในฉลากและเอกสารกำกับยา แต่จากการประเมินข้อมูลที่ได้รับจาก "ฉลากและเอกสารกำกับยา" ที่ผู้รับบริการได้รับมาพร้อมกับยา โดยวิเคราะห์คุณภาพของข้อมูลตามกฎหมายยา ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก และตามหลักวิชาการและรายงานการวิจัยใหม่ ๆ พบว่าการแสดงข้อมูลเฉพาะในส่วนที่กฎหมายบังคับให้แสดงนั้น ในฉลากและเอกสารกำกับยาคุมกำเนิด ยังทำได้ไม่ครบถ้วนทุกหัวข้อ และไม่เพียงพอต่อความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้บริโภค ตลอดจนขากข้อมูลคำเตือนที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และที่สำคัญยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในฉลากและเอกสารกำกับยานั้นจัดทำเพื่อใคร ความไม่ชัดเจนเช่นนี้ ส่งผลให้ข้อมูลจากฉลากและเอกสารกำกับยามีประโยชน์น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ส่วนการศึกษาในประเด็นการรับรู้เกี่ยวกับยาคุมกำเนิดฉุกเฉินของวัยรุ่น ทำการศึกษาในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาภาครัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร พบว่าวัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจค่อนข้างดี และยังมีประสบการณ์ในการแนะนำยากลุ่มนี้ให้เพื่อนด้วยในสัดส่วนที่สูง แม้ว่าจะมีผู้เคยใช้ในสัดส่วนที่น้อยมาก ข้อเสนอแนะต่อการกำหนดนโยบายอนามัยเจริญพันธ์ของประเทศในภาพรวม คือ กระทรวงสาธารณสุขต้องปรับเปลี่ยนทิศทางด้านนโยบายอนามัยเจริญพันธ์ของประเทศเสียใหม่ โดยมุ่งให้ความสำคัญกับความปลอดภัยจากการใช้บริการและการใช้ยาของสตรี เคารพในศักดิ์ศรีและการมีส่วนร่วมในตการตัดสินใจของสตรี ตลอดจนสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพสตรีที่คำนึงถึงสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์