การบริการทางด้านทันตกรรมในประเทศไทย : การศึกษาการจัดองค์การและการบริหาร
วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Theses and Dissertations |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2012
|
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22117 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
id |
th-cuir.22117 |
---|---|
record_format |
dspace |
institution |
Chulalongkorn University |
building |
Chulalongkorn University Library |
country |
Thailand |
collection |
Chulalongkorn University Intellectual Repository |
language |
Thai |
description |
วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519 |
author2 |
ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง |
author_facet |
ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง ยลสลวย อิศรางกูร ณ อยุธยา |
format |
Theses and Dissertations |
author |
ยลสลวย อิศรางกูร ณ อยุธยา |
spellingShingle |
ยลสลวย อิศรางกูร ณ อยุธยา การบริการทางด้านทันตกรรมในประเทศไทย : การศึกษาการจัดองค์การและการบริหาร |
author_sort |
ยลสลวย อิศรางกูร ณ อยุธยา |
title |
การบริการทางด้านทันตกรรมในประเทศไทย : การศึกษาการจัดองค์การและการบริหาร |
title_short |
การบริการทางด้านทันตกรรมในประเทศไทย : การศึกษาการจัดองค์การและการบริหาร |
title_full |
การบริการทางด้านทันตกรรมในประเทศไทย : การศึกษาการจัดองค์การและการบริหาร |
title_fullStr |
การบริการทางด้านทันตกรรมในประเทศไทย : การศึกษาการจัดองค์การและการบริหาร |
title_full_unstemmed |
การบริการทางด้านทันตกรรมในประเทศไทย : การศึกษาการจัดองค์การและการบริหาร |
title_sort |
การบริการทางด้านทันตกรรมในประเทศไทย : การศึกษาการจัดองค์การและการบริหาร |
publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
publishDate |
2012 |
url |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22117 |
_version_ |
1681413609219948544 |
spelling |
th-cuir.221172014-02-28T10:19:29Z การบริการทางด้านทันตกรรมในประเทศไทย : การศึกษาการจัดองค์การและการบริหาร Dental service in thailand : a study of organization and administration ยลสลวย อิศรางกูร ณ อยุธยา ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษา การบริการทางด้านทันตกรรมของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นสำคัญโดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงทางด้านการจัดหน่วยงาน และการบริหารงานของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่บริการเพื่อสุขภาพอนามัยโดยทั่วไปของประชาชนโดยตรง ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาทำนองวิเคราะห์องค์การ ( Organization Analysis ) ซึ่งเน้นถึงการจัดหน่วยงานและการบริหารงานรวมทั้ง การประสานงานด้านทันตกรรม ทั้งภายในหน่วยงานทันตกรรมของกระทรวงสาธารณสุขเองโดยตรง และความสัมพันธ์ประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข ว่า แต่ละหน่วยงานมีการดำเนินงานและการประสานงานด้านทันตกรรมกันอย่างไรบ้าง รวมทั้งพิจารณาระดับความสนับสนุนที่หน่วยงานทันตกรรมของประเทศได้รับจากผู้มีอำนาจในระดับบริหารประเทศด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะทราบถึง การดำเนินงานทันตกรรมของกระทรวงสาธารณสุข ในด้านการจัดหน่วยงานและการบริหารงานทันตกรรมของประเทศ ว่าเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่เพียงใด ในอันที่จะนำการบริการทันตกรรมไปสู่ประชาชนของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง วิธีดำเนินการศึกษาส่วนใหญ่ เป็นการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและหนังสือต่างๆทางด้านทันตกรรมและหลักการจัดหน่วยงานและการบริหารงาน นอกจากนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ยังได้สัมภาษณ์ทันตแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิบางท่านด้วยตนเอง และส่งแบบสอบถามไปยังทันตแพทย์หัวหน้าแผนกทันตกรรมในโรงพยาบาลต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศไทยทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคด้วย จากการศึกษา พบว่าสาเหตุที่ทำให้ประชาชนของประเทศไทยในจังหวัดต่างๆซึ่งเป็นโรคฟันและโรคต่างในช่องปากอยางแพร่หลายไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ยังไม่ได้รับการบำบัดหรือควบคุมหรือป้องกันโรคต่างๆดังกล่าวอย่างทั่วถึงหรือกว้างขวางพอ จนส่งผลกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศชาตินั้น ก็คือประเทศไทยขาดการบริหารงานทันตสาธารณสุขของชาติที่เหมาะสม การที่กระทรวงสาธารณสุข ไม่มีหน่วยงานระดับชาติที่มีอำนาจหน้าที่บริหารงานทันตกรรมโดยเฉพาะซึ่งมีทันตแพทย์เป็นหัวหน้าหน่วยงาน บังคับบัญชาและดำเนินการเอง ทำให้ผู้บริหารงานทันตสาธารณสุขของรัฐในปัจจุบัน ซึ่งไม่ใช่ทันตแพทย์ ไม่มีความรู้ทางด้านทันตแพทยศาสตร์เพียงพอที่จะบริหารงานทันตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีความเข้าใจกิจกรรมทางด้านทันตกรรมอย่างแท้จริง มองไม่เห็นความสำคัญของงานด้านนี้ ตลอดจนขาดความสนใจที่จะขยายงานและปรับปรุงงานทันตกรรมให้เจริญก้าวหน้ากว่าที่เป็นอยู่ และที่สำคัญก็คือ ทั้งๆที่ประเทศไทยขาดแคลนทันตแพทย์อยู่แล้ว แต่จาการขาดการบริหารงานทันตกรรมที่เหมาะสมนี้เอง จึงทำให้ไม่สามารถนำเอาทันตแพทย์ที่มีอยู่แล้ว และที่รัฐบาลผลิตขึ้นเองมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติได้อย่างเต็มที่ เป็นการสูญเปล่าในการลงทุนของรัฐอย่างยิ่ง และยังเป็นการบั่นทอนกำลังใจของทันตแพทย์ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการอีกด้วย ซึ่งในที่สุด ก็ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่บริการ เพื่อทันตสุขภาพของประชาชนได้อย่างเต็มที่และทั่วถึง งานทันตกรรมเป็นงานที่มีลักษณะเฉพาะ มีหลักการและวิธีดำเนินงานที่แตกต่างจากงานในสาขาวิชาอื่นๆอย่างมาก ผู้ที่ศึกษาสาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์มาโดยเฉพาะ อันได้แก่ทันตแพทย์เท่านั้น จึงจะมีความรู้ความสามารถในการจัดดำเนินการต่างๆทางด้านนี้ได้อย่างถูกต้องและได้ผลดี สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่โดยตรงในการส่งเสริมสุขภาพอนามัยโดยทั่วไปและความเป็นอยู่ของประชาชน จึงเห็นสมควรอย่างยิ่ง ที่รัฐบาลน่าจะพิจารณาหน่วยงานทันตกรรมขึ้น ให้เป็นหน่วยราชการในระดับกรมอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบทางด้านการบริหารงานต่างๆทางด้านทันตกรรมของประเทศโดยมีทันตแพทย์เป็นหัวหน้าหน่วยงานและมีตำแหน่งตลอดจนอำนาจเท่าเทียมกับผู้บริหารหน่วยงานเพื่อสุขภาพด้านอื่นๆในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้การบริการทันตกรรมไปสู่ประชาชนได้อย่างกว้างขวาง สามารถดูแลและส่งเสริมทันตสุขภาพของประชาชนได้อย่างมีสมรรถภาพ อันเป็นการช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน และส่งเสริมให้เป็นประชาชนที่มีคุณภาพ กล่าวคือ มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ตามเจตนาของรัฐบาล ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนี้ ก็จะเป็นไปตามหลักเอกภาพในการบังคับบัญชา ( Unity of Command ) และเป็นไปตามข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลก ( World Health Organization ) จึงคาดได้ว่าจะนำความก้าวหน้ามาสู่การทันตสาธารณสุขของชาติสืบไปอย่างแน่นอน This thesis aims principally to study the existing dental services in Thailand by analysing the facts regarding organization and administration of the Ministry of Public Health , which is a Government unit that is - directly responsible for the general hygiene of the public. This study is along the line of Organization Analysis , concentrating on organization and administration including dental cooperation with other relevant units both within the Ministry of Public Health and outside with the purpose of ascertaining .the management of the Ministry of Public Health's denta.1 organization in respect to the national dental organization and services to see how correct and suitable they are for offering the services to the general public effectively. The method of study is mainly research and data collection from various documents and books dealing with dentistry, organization and administration. Moreover, in order to supplement the existing data, the writer had personally interviewed senior dental surgeons and had sent out questionaires to head of dental departments in various Ministry of Public health hospitals in Thailand both in Bangkok and in the provinces. From these studies, it is discovered that the reason for at least 90 % of Thai rural public who have been affected with dental and oral diseases and who have not received adequate treatment or prevention is that Thailand lacks suitable national dental hygiene administration. This is a serious problem which has affected the national economy and security. The fact that the Ministry of Public Health has no national - organization under the responsibility of dental surgeons to administer dental activities, causes the current directors of the national dental hygiene who are not dental surgeons themselves to have insufficient dental knowledge to efficiently administer the dental activities. They have no true comprehension of dental activities. They do not see the importance of the work in this field, including the lack of interest for expansion of activities and improvement of dental activities. What is more important is the fact that as it is Thailand is already deficient in the number of dental surgeons and this lack of suitable dental administration has made it impossible to effectively put to use the existing dental surgeons , and those that the Government will have produced in the future. This is a bic loss in investment f and discourages the dental surgeons from discharging their duties and ultimately incapacitates them to fully and effectively discharge their services to the general public. The dental work is unique, and has an entirely different process of operation from that of other fields. Only the qualified dental surgeon will be able to effectively organize different phases of the work. In Thailand, the Ministry of Public Health has the direct responsibility to promote public hygiene and well being. It is recommended that the Government should consider establishment of a dental unit in the ministry of Public Health having the status of a Government Department, with the responsibility to administer various phases of the national dental services by having a dental surgeon as head, having the status and authority equivalent to other head of units so as to be able to supervise and efficiently promote public dental hygiene in accordance with the government’s policy. The fore said operation is in accordance with the principles of Unity of command, and follows the advice of World Health Organization. Therefore, it can be expected that it will certainly bring a great progress to the national dental hygiene. 2012-09-15T03:22:36Z 2012-09-15T03:22:36Z 2519 Thesis http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22117 th จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 783810 bytes 1601056 bytes 1370693 bytes 4864155 bytes 1759902 bytes 1415680 bytes 791227 bytes application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |