การประเมินความเสี่ยงและความเชื่อถือได้ของ เสถียรภาพของการขุดเจาะบนพื้นผิวดินและใต้ผิวดิน : รายงานผลการวิจัย

งานขุดเจาะแหล่งก่อสร้างมีการดำเนินงานทั้งบนพื้นผิวดินและใต้พื้นผิวดิน หลักการที่สำคัญของการประเมินเสถียรภาพงานขุดเจาะมีการทบทวน ผู้วิจัยได้เสนอแนะวิธีการที่ใช้แก้ปัญหาในภาคสนามเชิงความเชื่อถือได้ของแหล่งข้อมูลต้นทาง กับการคาดคะเนความเสี่ยงในการปฏิบัติงานเพื่อให้มีความปลอดภัยในการปฏิบัติงานสูงขึ้น คว...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: สง่า ตั้งชวาล
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2244
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:งานขุดเจาะแหล่งก่อสร้างมีการดำเนินงานทั้งบนพื้นผิวดินและใต้พื้นผิวดิน หลักการที่สำคัญของการประเมินเสถียรภาพงานขุดเจาะมีการทบทวน ผู้วิจัยได้เสนอแนะวิธีการที่ใช้แก้ปัญหาในภาคสนามเชิงความเชื่อถือได้ของแหล่งข้อมูลต้นทาง กับการคาดคะเนความเสี่ยงในการปฏิบัติงานเพื่อให้มีความปลอดภัยในการปฏิบัติงานสูงขึ้น ควบคู่กับการใช้จ่ายในการขุดเจาะที่เหมาะสม กรณีศึกษาของงานวิจัยโครงการนี้มีหลายรูปแบบของการวิเคราะห์ผล ได้แก่ การพังทลายรูปแบบอาร์กที่ไม่ใช่ส่วนของวงกลม การพังทลายของมวลรูปลิ่ม และการเสริมเสถียรภาพของคันดินถม วิธีการเข้าสู่การวิเคราะห์ความน่าจะเป็นอย่างเป็นระบบมีการเปรียบเทียบกับค่าของตัวเลขปัจจัยความปลอดภัยเชิงกำหนด เนื่องจากความไม่แน่นอนของตัวประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งค่าคุณสมบัติมวลสาร ความแปรปรวนในการสุ่มเก็บตัวอย่าง กับวิธีการเข้าสู่ปัญหาเชิงปฏิบัติการ เป้าหมายของงานวิจัยโครงการนี้ ต้องการให้ได้ค่าดัชนีความเชื่อถือได้ ที่หาจากระยะสั้นที่สุดที่วงรีวิกฤตสัมผัสกับพื้นผิวการพังทลาย ซึ่งในการหาผลเฉลยมีการนำโปรแกรมแผ่นตารางมาใช้ ความสะดวกของการประยุกต์กับความชัดเจนในการกำหนดแนวคิด ตลอดจนความหลากหลายในการนำเข้าไปใช้ในการแก้ปัญหาได้กว้างขวางกว่าวิธีการหาค่าปัจจัยความปลอดภัยเชิงอนุรักษ์ จึงสมควรนำหลักการวิเคราะห์ที่อิงค่าความเชื่อถือได้ไปในงานวิเคราะห์กับออกแบบ