การศึกษาความสัมพันธ์ของประชากร 3 วัยในประเทศไทย

การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ของประชากร 3 วัยนี้ ได้รับความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามจากข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 1,154 ราย จาก 5 กระทรวง คือ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์หลักของการวิจัยคือ ต้องการทราบแบบแผนและปัจจัยที่มีผล...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สุวัฒนา วิบูลย์เศรษฐ์, เกื้อ วงศ์บุญสิน, วิพรรณ ประจวบเหมาะ รูฟโฟโล
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันประชากรศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/235
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ของประชากร 3 วัยนี้ ได้รับความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามจากข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 1,154 ราย จาก 5 กระทรวง คือ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์หลักของการวิจัยคือ ต้องการทราบแบบแผนและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของประชากร 3 วัย คือ บิดามารดาของผู้ตอบ ผู้ตอบ และบุตรของผู้ตอบ ผลการวิเคราะห์ พบว่า โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ตอบมีความสนิทสนมกับบิดามารดา และมีเพียงเล็กน้อยที่มีปัญหาของช่องว่างระหว่างวัย ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตอบกับบิดามารดา คือ อายุ เพศ การศึกษา สถานที่เกิด และที่อยู่อาศัยของมารดา ในกรณีของช่องว่างระหว่างวัย มีเพียงอายุ และการศึกษาของผู้ตอบที่มีผลต่อปัญหาของช่องว่างระหว่างวัย ผู้ตอบส่วนใหญ่ไปเยี่ยมบิดามารดาด้วยตนเอง ในขณะที่มีสัดส่วนของผู้ตอบไม่น้อยใช้วิธีการติดต่อทางโทรศัพท์ ในเรื่องของการช่วยเหลือพึ่งพา พบว่า ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัว และปัญหาการติดสินใจครั้งสำคัญ ๆ ของชีวิต ส่วนใหฐ่ผู้ตอบจะพึ่งพาผู้สมรส แต่ถ้าพึ่งพาในเรื่องของการเงินจะไปขอความช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง สำหรับทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับครอบครัว พบว่าผู้ตอบส่วนใหญ่คิดว่า บุตรควรต้องรับผิดชอบต่อบิดามารดาที่สูงอายุแล้ว และถ้าจะให้เลือกบุคคลที่จะมาดูลตนเองในยามสูงอายุ หรือต้องนอนรักษาพยาบาลเป็นเวลานาน ผู้ตอบหญิงส่วนใหญ่ต้องการให้บุตรมาดูแล ในขณะที่ผู้ตอบชายส่วนใหญ่ต้องการให้ผู้สมรสมาดูแล