การออกแบบบ้านพักอาศัยเพื่อการประหยัดพลังงานด้วยแนวคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืน

วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: อมรรัตน์ พงศ์พิศิษฎ์สกุล, 2525-
Other Authors: ธนิต จินดาวณิค
Format: Theses and Dissertations
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2368
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
id th-cuir.2368
record_format dspace
spelling th-cuir.23682008-05-24T07:06:06Z การออกแบบบ้านพักอาศัยเพื่อการประหยัดพลังงานด้วยแนวคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืน Residential design for energy saving with sustainable architecture concept อมรรัตน์ พงศ์พิศิษฎ์สกุล, 2525- ธนิต จินดาวณิค อรรจน์ เศรษฐบุตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ที่อยู่อาศัย--การออกแบบและการสร้าง วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การศึกษาการออกแบบบ้านพักอาศัยด้วยแนวคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืนและนำแนวคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืนมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบบ้านพักอาศัยในกรุงเทพมหานครที่มีความยั่งยืน การศึกษาเริ่มจากการศึกษาแนวคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืนซึ่งเป็นแนวคิดที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรม มนุษย์และสิ่งแวดล้อม และได้แตกแขนงออกไปเป็นแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น สถาปัตยกรรมสีเขียว, สถาปัตยกรรมยั่งยืน เป็นต้น สรุปได้ว่าในการออกแบบสถาปัตยกรรมยั่งยืนคำนึงถึงหลัก 4 ประการ ได้แก่ พลังงาน, วัสดุ, น้ำ และคุณภาพชีวิตผู้ใช้อาคาร กล่าวคือสถาปัตยกรรมยั่งยืนคือสถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ มิได้หมายถึงอาคารที่มีอายุยาวนานกว่าอาคารทั่วไป ในการออกแบบบ้านพักอาศัยด้วยแนวคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืนได้รวบรวมหลักการออกแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมสภาวะน่าสบายในอาคาร โดยใช้ประโยชน์จากธรรมชาติให้มากที่สุดและใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนเสริม นอกจากนี้ยังคำนึงถึงผลกระทบของวัสดุก่อสร้างต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์และการอนุรักษ์น้ำด้วย โดยในการออกแบบได้ให้ความสำคัญกับพลังงานที่ใช้ในอาคารและสภาวะน่าสบายในอาคารเนื่องจากพลังงานเป็นปัญหาที่สำคัญในปัจจุบัน สรุปผลการใช้ทรัพยากรพลังงาน น้ำและวัสดุของบ้านแนวคิดยั่งยืนด้วยการจำลองสภาพด้วยโปรแกรม DOE2 และการคำนวณเปรียบเทียบกับบ้านทั่วไปที่มีขนาดใกล้เคียงกัน พบว่าปริมาณทรัพยากรที่ใช้ในบ้านแนวคิดยั่งยืนน้อยกว่าบ้านทั่วไป และมีจำนวนชั่วโมงที่อยู่ในสภาวะน่าสบายภายในอาคารมากกว่าบ้านทั่วไปด้วย นอกจากการเปรียบเทียบกับบ้านทั่วไปแล้วยังนำแบบประเมินที่มีมาตรฐานขององค์กรในประเทศอังกฤษมาใช้ในการประเมินบ้านแนวคิดยั่งยืน ซึ่งบ้านที่ออกแบบสามารถผ่านมาตรฐานนี้ได้ การนำแนวความคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืนมาใช้ในการออกแบบอาคารทำให้อาคารใช้ทรัพยากรลดลงซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง และยังส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคารด้วย และจะเกิดประโยชน์มากขึ้นหากมีการนำแนวคิดนี้มาใช้ในการออกแบบในระดับชุมชนและระดับเมืองต่อไป The purpose of this study was to gain an insight into the sustainable architecture concept and apply it to residential design in Bangkok. This concept advocates harmony between architecture and man as well as environment. Later, it developed into Green Architecture and Sustainable Architecture. In general, the sustainable architecture concept involves 4 aspects: energy, materials, water and the lifestyle of those living in such a house. It does not imply that a house designed using this concept will last longer than other houses designed using different concepts. The major concern of residential design with this concept is that the house must be comfortable to live in while at the same time expending less energy and water as well as being part of the environment. To study how much energy and how much water this kind of house used, the DOE2 program was used to build a house model and it was compared to a common house of the same size. It was found that the model house used fewer resources and created longerperiods of pleasant ambiance internally. In addition, it passed the criteria used to assess housing. These standard criteria have been proposed by an institution in the United Kingdom. The sustainable architecture design requires fewer resources and thus, it poses little threat to the environment. Moreover, the quality of life of the residents are better. As a result, this concept should be promoted at community and city levels. 2006-09-06T05:55:10Z 2006-09-06T05:55:10Z 2547 Thesis 9741767129 http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2368 th จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5106263 bytes application/pdf application/pdf จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
institution Chulalongkorn University
building Chulalongkorn University Library
country Thailand
collection Chulalongkorn University Intellectual Repository
language Thai
topic สถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน
ที่อยู่อาศัย--การออกแบบและการสร้าง
spellingShingle สถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน
ที่อยู่อาศัย--การออกแบบและการสร้าง
อมรรัตน์ พงศ์พิศิษฎ์สกุล, 2525-
การออกแบบบ้านพักอาศัยเพื่อการประหยัดพลังงานด้วยแนวคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืน
description วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
author2 ธนิต จินดาวณิค
author_facet ธนิต จินดาวณิค
อมรรัตน์ พงศ์พิศิษฎ์สกุล, 2525-
format Theses and Dissertations
author อมรรัตน์ พงศ์พิศิษฎ์สกุล, 2525-
author_sort อมรรัตน์ พงศ์พิศิษฎ์สกุล, 2525-
title การออกแบบบ้านพักอาศัยเพื่อการประหยัดพลังงานด้วยแนวคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืน
title_short การออกแบบบ้านพักอาศัยเพื่อการประหยัดพลังงานด้วยแนวคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืน
title_full การออกแบบบ้านพักอาศัยเพื่อการประหยัดพลังงานด้วยแนวคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืน
title_fullStr การออกแบบบ้านพักอาศัยเพื่อการประหยัดพลังงานด้วยแนวคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืน
title_full_unstemmed การออกแบบบ้านพักอาศัยเพื่อการประหยัดพลังงานด้วยแนวคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืน
title_sort การออกแบบบ้านพักอาศัยเพื่อการประหยัดพลังงานด้วยแนวคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืน
publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
publishDate 2006
url http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2368
_version_ 1681412949628944384