ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกของแพทย์ในภาครัฐ

สถานการณ์การลาออกของแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นหัวข้อที่อยู่ในความสนใจของประชาชน และของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อที่จะวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกของแพทย์ในภาครัฐและสร้างโมเดลสมการเชิงโครงสร้าง ที่สามารถอธิบาย...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: กำธร พฤกษานานนท์, วิรุฬห์ พรพัฒนกุล, เกริกยศ ชลายนเดชะ, ลักษนันท์ รัตนคูหา, กมลทิพย์ ดุลยเกษม
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2552
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:สถานการณ์การลาออกของแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นหัวข้อที่อยู่ในความสนใจของประชาชน และของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อที่จะวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกของแพทย์ในภาครัฐและสร้างโมเดลสมการเชิงโครงสร้าง ที่สามารถอธิบายปัจจัยอิทธิพลต่อการลาออก โดยใช้โปรแกรม LISRAL สมมติฐานการวิจัย ได้แก่ ประการแรก สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น เพศ อายุ ภูมิลำเนา รายได้ และครอบครัวส่งผลต่อการลาออก ประการที่สอง ลักษณะงาน เช่น ภาระงานหนัก ความจำเจ ส่งผลต่อการลาออก ประการที่สาม การขาดกระตุ้นขวัญและกำลังใจในส่วนที่เกี่ยวกับงาน เช่น ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นธรรม การขาดโอกาสก้าวหน้า และการลาศึกษาต่อมีความสัมพันธ์กับการลาออก ประการที่สี่ นโยบายและระบบบริหารเกี่ยวข้องกับการทำให้แพทย์ลาออก ประการที่ห้า ความพึงพอใจในงาน ส่งผลลบกับการลาออก และประการสุสดท้าย ความผูกพันกับองค์กร เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการลาออก สถิติที่ใช้วิเคราะห์และทดสอบสมมติฐาน ได่แก่ ไค-สแควร์ t-test multiple regression การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สันและ LISRAL กลุ่มตัวอย่างได้แก่แพทย์ที่ลาออกจากราชการในช่วง 1 มาราคม 2544 ถึง 15 มีนาคม 2546 จำนวน 1105 คน แบบสอบถามจำนวน 958 ชุด ถูกส่งไปยังแพทย์ที่ลาออกทุกคน ตามที่สามารถหาที่อยู่ได้จากแพทยสภา แบบสอบถามจำนวนได้รัรบการตอบกลับมา 312 ชุด คิดเป็นร้อยละ 32.57 ซึ่ง 278 ชุด (ร้อยละ 29.02) มีข้อมูลเพียงพอ ที่จะนำมาวิเคราะห์ทางสถิติต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยด้านนโยบาย ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการลาออกอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงาน การขาดขวัญและกำลังใจ ความพึงพอใจในงาน ตลอดจนความผูกพันกับองค์กร ส่งผลต่อการตัดสินใจลาออก การวิเคราะห์ปัจจัยอิทธิพลของแพทย์ผู้ลาออก โดยโมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม LISRAL พบว่า โมเดลแสดงให้เห็นถึงปัจจัยอิทธิพลต่าง ๆส่วนมากส่งผลในเชิงบวกต่อการลาออกของแพทย์ ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 2.218 (p=0.330, df=2, GFI=0.998) แสดงว่ามีความสอดคล้องของโมเดลและข้อมูลเชิงประจักษ์ ปัจจัยความผูกพันกับองค์กรส่งผลสูงสุดต่อการลาออก (0.698) ปัจจัยเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลในทางลบต่อความผูกพันกับองค์กร (-0.049) ขณะที่ปัจจัยด้านขวัญและกำลังใจ (0.515) และ ด้านความพึงพอใจในงาน (0.112) ส่งผลในทางบวก ปัจจัยเศรษฐกิจและสังคม (0.275) และขวัญกำลังใจ (0.185) มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในงาน แต่ลักษณะงาน (-0.28) และนโยบาย (-0.039) ส่งผลลบต่อความพึงพอใจ ผลของการศึกษานี้สรุปได้ว่า ปัจจัยเรื่องความพึงพอใจในงาน และความผูกพันกับองค์กรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อการลาออกของแพทย์ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากคำถามปลายเปิดและการสัมภาษณ์แพทย์ที่ลาออกจากภาครัฐ