ผลของการเสริมไลซินต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพซากของสุกร : รายงานผลการวิจัย

สุกรลูกผสมสามสายเลือด จำนวน 40 ตัว เป็นเพศผู้ตอน และเพศเมียอย่างละ 20 ตัว เลี้ยงแบบขังเดี่ยว สุกรถูกแบ่งโดยสุ่มออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 10 ตัว เป็นเพศผู้ตอนและเพศเมียอย่างละ 5 ตัว สุกรแต่ละกลุ่มได้รับอาหารทดลองที่มีโปรตีน 14.07 และ 13.09% มีไลซีน 0.61 และ 0.46% ในช่วงน้ำหนัก 30-60 และ 60-100 กก. เสริมด้ว...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สุวรรณา กิจภากรณ์, วรรณี เมืองเจริญ, จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ, สุวัฒน์ กลิ่นหอม
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสัตวบาล
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2602
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:สุกรลูกผสมสามสายเลือด จำนวน 40 ตัว เป็นเพศผู้ตอน และเพศเมียอย่างละ 20 ตัว เลี้ยงแบบขังเดี่ยว สุกรถูกแบ่งโดยสุ่มออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 10 ตัว เป็นเพศผู้ตอนและเพศเมียอย่างละ 5 ตัว สุกรแต่ละกลุ่มได้รับอาหารทดลองที่มีโปรตีน 14.07 และ 13.09% มีไลซีน 0.61 และ 0.46% ในช่วงน้ำหนัก 30-60 และ 60-100 กก. เสริมด้วยไลซีนสังเคราะห์ในระดับ 0, 0.2, 0.4, 0.5 และ 0, 0.1, 0.2, 0.3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ อาหารทดลองทั้งสองช่วงน้ำหนักมีพลังงานใช้ประโยชน์ 3200 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมของอาหาร น้ำหนักสุกรเริ่มทดสอบ 29.73 +- 1.97 กก. และหลังทดสอบ 100.7 +- 1.44 กก. จากนั้นจึงนำไปฆ่าเพื่อวัดคุณภาพซากวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Analysis of Variance เพื่อทดสอบผลของระดับไลซีน เพศของสุกร รวมทั้งปฏิกิริยาร่วมระหว่างระดับไลซีนกับเพศ และตรวจสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยโดยใช้ Duncan's New Multiple Range Test. ผลการทดลองพบว่า การเพิ่มระดับไลซีนในอาหารสุกรช่วงน้ำหนัก 30-60 และ30-100 กก. ทำให้การเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสุกรที่เสริมไลซีนสังเคราะห์ในระดับ 0.4% ในช่วงน้ำหนัก 30-60 กก. (P<.01) แต่ไม่มีผลในสุกรช่วงน้ำหนัก 60-100 กก. สุกรเพศผู้ตอนโตเร็วกว่า และใช้เวลาในการทำน้ำหนักสั้นกว่าเพศเมีย (P<.01) ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและไลซีนพบว่า การเพิ่มระดับไลซีนในอาหารมีผลทำให้สุกรได้รับไลซีนต่อวันสูงขึ้นตามระดับไลซีนที่เพิ่มขึ้น (P<.01) ประสิทธิภาพการใช้ไลซีนลดลง (P<.01) ในทุกช่วงน้ำหนัก สุกรที่ได้รับไลซีนสูงจะมีประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และอัตราส่วนระหว่างไลซีนและพลังงานสูงตามไปด้วย (P<.01) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสุกรช่วงน้ำหนัก 30-60 กก. ไม่พบความแตกต่างในเรื่องเพศต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานและไลซีน คุณภาพซาก พบว่าความแตกต่างของเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงต่อน้ำหนักซากอุ่นและเย็น และเปอร์เซ็นต์ไขมันต่อน้ำหนักซากอุ่นและเย็น (P<.05) สุกรที่ได้รับอาหารเสริมไลซีนในระดับ 0.2 และ 0.1% ในช่วงน้ำหนัก 30-60 และ 60-100 กก. ให้เปอร์เซ็นต์เนื้อแดงต่อน้ำหนักซากอุ่นและเย็นสูงกว่า และมีเปอร์เซ็นต์ไขมันต่อน้ำหนักซากอุ่นและเย็นต่ำกว่าสุกรที่ได้รับไลซีนระดับอื่น สุกรเพศเมียมีความยาวซาก ปริมาณเนื้อแดงทั้งหมด และเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงต่อน้ำหนักซากอุ่นและซากเย็นสูงกว่า ขณะที่มีความหนาไขมันสันหลังเฉลี่ย พื้นที่หน้าตัดไขมันต่อพื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน และเปอร์เซ็นต์ไขมันต่อน้ำหนักซากอุ่นและซากเย็นต่ำกว่าสุกรเพศผู้ตอน ทางด้านต้นทุนค่าอาหารพบว่าไม่มีความแตกต่างในทางสถิติของต้นทุนค่าอาหารต่อระดับไลซีนและเพศ และไม่พบปฏิกิริยาร่วมระหว่างระดับไลซีนกับเพศในทุกลักษณะที่สังเกต