การศีกษาเปรียบเทียบตัวรับเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในมดลูกของสุกรสาวในระยะต่าง ๆ ของวงรอบการเป็นสัด
ระดับของฮอร์โมนสเตียรอยด์เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนเป็นตัวการสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในวงรอบการเป็นสัดของระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ดังนั้นการศึกษาเปรียบเทียบตัวรับของเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในมดลูกจะช่วยในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการทำงานของฮอร์โมนสเตียรอยด์ในส่วนต่าง ๆ ของมดลูกได้ การศึกษานี้...
Saved in:
Main Authors: | , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2006
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2607 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | ระดับของฮอร์โมนสเตียรอยด์เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนเป็นตัวการสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในวงรอบการเป็นสัดของระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ดังนั้นการศึกษาเปรียบเทียบตัวรับของเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในมดลูกจะช่วยในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการทำงานของฮอร์โมนสเตียรอยด์ในส่วนต่าง ๆ ของมดลูกได้ การศึกษานี้ใช้วิธีอิมมูนโนฮิสโตเคมีตรวจสอบตัวรับสเตียรอยด์จากตัวอย่างมดลูกสุกรสาวในระยะต่าง ๆ ของวงรอบการเป็นสัดได้แก่ oestrus, early dioestrus และ late dioestrus ผลการทดลองพบว่าเซลล์ที่ให้ผลบวกจะย้อมติดสีในนิวเคลียสและพบเซลล์ที่ให้ผลบวกได้ทุกส่วนของมดลูก ในระยะ oestrus สามารถพบตัวรับเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนได้สูงสุดในเซลล์เยื่อบุและเซลล์กล้ามเนื้อ ในระยะ early dioestrus สามารถพบเซลล์เยื่อบุที่ติดสีในไซโตพลาสซึมสำหรับการย้อมดูตัวรับเอสโตรเจน แต่ไม่พบลักษณะเช่นนี้ในการย้อมตัวรับโปรเจสเตอโรน เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างตัวรับเสตียรอยด์ทั้งสองชนิดในระยะ early dioestrus พบว่าตัวรับโปรเจสเตอโรนติดสีเข้มกว่าในทุก ๆ ส่วนของมดลูกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชั้นกล้ามเนื้อของมดลูก ในระยะ late dioestrus พบว่าการย้อมติดสีของตัวเสตียรอยด์ทั้งสองชนิดมีจำนวนลดลงทั้งตัวรับเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน จากการศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่าตัวรับเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในบางส่วนของมดลูกสุกรสาวและในบางระยะของวงรอบการเป็นสัดถูกควบคุมด้วยกลไกชนิดเดียวกัน และจากการที่พบความแตกต่างของตัวรับเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในแต่ละส่วนของเนื้อเยื่อมดลูกอาจเป็นเพราะแต่ละส่วนมีหน้าที่ทางสรีรวิทยาในระบบสืบพันธุ์ที่ต่างกัน |
---|