การแช่เย็นและการแช่แข็งตัวอ่อนสุกร : รายงานผลการวิจัย

ศึกษาความเป็นไปได้ในการแช่เย็นและแช่แข็งตัวอ่อนสุกร โดยเก็บตัวอ่อนอายุ 7 วันจากสุกรสาวหลังกระตุ้นด้วยฮอร์โมน เพรกแนนท์ แมร์ ซีรั่ม โกนาโดโทรปิน และฮิวแมน โคริโอนิกโกนาโดโทรปิน ในอัตราส่วน 400:200 ไอยู แบ่งเป็น 4 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 แช่เย็นตัวอ่อนระยะ morula, early blastocyst, blastocyst และ e...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: มงคล เตชะกำพุ, วันเพ็ญ อดุลยานุภาพ, จินดา สิงห์ลอ
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2618
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:ศึกษาความเป็นไปได้ในการแช่เย็นและแช่แข็งตัวอ่อนสุกร โดยเก็บตัวอ่อนอายุ 7 วันจากสุกรสาวหลังกระตุ้นด้วยฮอร์โมน เพรกแนนท์ แมร์ ซีรั่ม โกนาโดโทรปิน และฮิวแมน โคริโอนิกโกนาโดโทรปิน ในอัตราส่วน 400:200 ไอยู แบ่งเป็น 4 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 แช่เย็นตัวอ่อนระยะ morula, early blastocyst, blastocyst และ expanded blastocyst จำนวน 48 ตัวอ่อน ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ในน้ำยา TCM199 2.5 Hepes+10%DMSO นาน 1, 6, 12 และ 24 ชม. ผลปรากฏว่าหลังเลี้ยงนาน 24 ชม. ไม่มีตัวอ่อนใดรอดเลยหลังจากเก็บไว้ การทดลองที่ 2 แช่แข็งตัวอ่อนระยะ blastocyst และ expanded blastocyst จำนวน 69 ตัวอ่อนแบบใช้ลดอุณหภูมิช้าๆ โดยลดอุณหภูมิจาก -6 องศาเซลเซียส จนถึง -30 องศาเซลเซียส ด้วยความเร็ว 0.3 องศาเซลเซียส/นาที แล้วแช่ในไนโตรเจนเหลว -196 องศาเซลเซียส โดยให้ตัวอ่อนแขวนลอยในน้ำยา TCM 199 2.5 Hepes ที่มีสารป้องกันการแช่แข็ง 3 ชนิด คือ 1.5M glycerol, 1.5M DMSO และ 1.5M ethylene glycol ผลการศึกษาพบว่าตัวอ่อนมีสภาพปกติหลังทำละลาย 47.8%(33/69) ในน้ำยาที่มี ethylene glycol เป็นสารป้องกันการแช่แข็ง มีอัตรารอดเท่ากับ 54.3%(13/24) เทียบกับ glycerol 44%(11/25) และ DMSO 45%(9/20) การทดลองที่ 3 แข่แข็งตัวอ่อนระยะ blastocyst และ expanded blastocyst แบบวิทรีฟิเกชั่น ในน้ำยา VS3a (6.5M glycerol+6%BSA) จำนวน 102 ตัวอ่อน ที่มีขนาดแตกต่างกัน 3 ขนาดคือ ขนาดเล็ก (<150 micrometre) ขนาดกลาง (150-300 micrometre) และขนาดใหญ่ (>300 micrometre) ผลการศึกษาพบว่าตัวอ่อนรอดจากการแช่แข็งเท่ากับ 59.8%(61/102) โดยตัวอ่อนขนาดกลางและขนาดใหญ่มีของอัตรารอดสูงกว่าขนาดเล็กเท่ากับ 65.7%(23/35), 65.6%(21/32) เปรียบเทียบกับ 48.6%(17/35) (P>0.05) ตามลำดับ การทดลองที่ 4 นำตัวอ่อนระยะ blastocyst และ expanded blastocyst ไปแช่ในสารละลายที่มีไซโตคาลาซิน-บี ในขนาดความเข้มข้น 5.0, 7.5 และ 10 microgram/ml นาน 30 นาที แล้วจึงนำไปแช่แข็งแบบวิทรีฟิเกชั่น เช่นเดียวกับการทดลองที่ 3 ผลการศึกษาพบว่าตัวอ่อนที่แช่ในสารไซโตคาลาซิน-บี มีแนวโน้มของอัตรารอดสูงกว่า 60%(50/84) กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้สัมผัสกับสารไซโตคาลาซิน-บี เท่ากับ 46.4%(13/28) (P>0.05) โดยในแต่ละกลุ่มได้อัตรารอดหลังทำละลายเท่ากับ 46.4%(13/28), 65%(17/26) และ 67%(20/30) ตามลำดับ จากการศึกษานี้พบว่ามีความเป็นไปได้ในการแช่แข็งตัวอ่อนแบบใช้ความเร็วช้าๆ และแบบวิทรีฟิเกชั่น โดยการให้ตัวอ่อนสัมผัสกับสารไซโตคาลาซิน-บี ก่อนการแช่แข็งสามารถเพิ่มอัตรารอดของตัวอ่อนหลังแช่แข็งและทำละลายได้