การบรรเทาอุทกภัยของกรุงเทพมหานครโดยใช้ทุ่งเก็บกักน้ำชั่วคราว

งานวิจัยนี้แบ่งเป็นสี่ตอน ได้แก่ การวิเคราะห์ลักษณะอุทกภัยของกรุงเทพฯ การวิเคราะห์ความจุของทุ่งมหาราช การประเมินผลกระทบของการเก็บกักน้ำที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และการจัดการการใช้ที่ดิน เพื่อลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจในทุ่งเก็บกักน้ำ อุทกภัยในกรุงเทพมหานคร และที่ราบเจ้าพระยาตอนล่าง เกิดจากลักษณะทางอุทกวิ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: ศรีสอาด ตั้งประเสริฐ
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาภูมิศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2743
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:งานวิจัยนี้แบ่งเป็นสี่ตอน ได้แก่ การวิเคราะห์ลักษณะอุทกภัยของกรุงเทพฯ การวิเคราะห์ความจุของทุ่งมหาราช การประเมินผลกระทบของการเก็บกักน้ำที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และการจัดการการใช้ที่ดิน เพื่อลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจในทุ่งเก็บกักน้ำ อุทกภัยในกรุงเทพมหานคร และที่ราบเจ้าพระยาตอนล่าง เกิดจากลักษณะทางอุทกวิทยาและธรณีสัณฐานของลุ่มน้ำและการใช้ที่ดิน ปัญหาที่น่าวิตกคือ การที่น้ำเหนือจากลุ่มน้ำตอนบนมีจังหวะเวลาเคลื่อนตัวลงมายังที่ราบตอนล่างตรงกับช่วงเวลาที่บริเวณนี้มักจะมีฝนตกหนักจากพายุหมุน ในปัจจุบันการสร้างคันกั้นน้ำสองฝั่งเจ้าพระยาเพื่อป้องกันพื้นที่เพาะปลูก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำเหนือแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น และอุทกภัยจากน้ำเหนือเกิดถี่ขึ้น น้ำจำนวนนี้ไม่อาจระบายลงทะเลได้ในช่วงน้ำทะเลขึ้นและจำเป็นต้องมีที่อยู่ ซึ่งในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เกษตรหรือเขตชุมชนศักยภาพการสูญเสียเพิ่มสูงขึ้นมาก ทุ่งมหาราชเป็นที่ลุ่มลึกมีพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ ๘๔๐,๐๐๐ ไร่ และเคยใช้เป็นทุ่งรับน้ำจากประตูระบายฉุกเฉินเหนือเขื่อนชัยนาทจากระดับคันกั้นน้ำที่มีอยู่ปัจจุบัน ทุ่งนี้มีความจุถึง ๔,๔๐๐ ล้าน ลบ.ม. เพียงพอที่จะเก็บกักน้ำหลากขนาด 25 ปี เช่น ปี 2523 ซึ่งมียอดน้ำหลากประมาณ ๓,๗๐๐ ล้าน ลบ.ม. การเก็บกักน้ำจะไม่มีผลกระทบต่อเขตชุมชนเมือง เนื่องจากส่วนใหญ่ตั้งอยู่นอกแนวคันกั้นน้ำ ภายในแนวคันกั้นน้ำบ้านเรือนตั้งอยู่บนโคกเนินสูง และร้อยละ ๗๐-๙๐ มีใต้ถุนสูงกว่า 2 เมตรขึ้นไป จากการวิเคราะห์ระดับเก็บกักน้ำคาดว่าบ้านเรือนส่วนใหญ่ในทุ่งจะอยู่พ้นน้ำ เกษตรกรในทุ่งมหาราชมีความเป็นอยู่ที่ปรับเข้ากับภาวะน้ำหลากได้อย่างดี ประชากรในพื้นที่นี้แสดงความรับรู้ต่อปัญหาอุทกภัยของกรุงเทพมหานครและส่วนใหญ่แสดงความยินยอมที่จะให้ใช้ทุ่งมหาราชเป็นทุ่งเก็บกักน้ำถ้ามีการชดเชยอย่างเหมาะสมผลกระทบทางเศรษฐกิจที่สำคัญคือ ความเสียหายของข้าวนาปี การเก็บกักน้ำขนาด ๒๕ ปี จะมีผลทำให้ข้าวนาปีเสียหายถึงประมาณหนึ่งพันล้านบาทเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้ โครงการนี้เสนอให้เลื่อนเวลาการปลูกข้าวนาปีให้เร็วขึ้น โดยที่การเก็บเกี่ยวจะแล้วเสร็จก่อน ช่วงที่จะมีการผันน้ำเข้าเก็บกัก (กันยายน-ตุลาคม) ซึ่งการจัดเวลาเพาะปลูกเช่นนี้ในปัจจุบันมีปฏิบัติในโครงการชลประทานในที่ราบเจ้าพระยาตอนล่างอยู่แล้ว สิ่งที่สำคัญก็คือ ประชากรในลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างควรจะมีความสำนึกร่วมกันที่จะรับภาระค่าใช้จ่ายในการบรรเทาอุทกภัย