ความแข็งแรงพันธะในการยึดอินซีแรมกับเคลือบฟันหรือเนื้อฟัน ด้วยซีเมนต์และการปรับสภาพผิวด้วยวิธีต่างๆ : รายงานผลการวิจัย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความแข็งแรงพันธะเฉือนในการยึดติด อะลูมินัสเซรามิก อินซีแรม กับเคลือบฟันหรือเนื้อฟันโดยใช้เรซินซีเมนต์และการปรับสภาพผิวต่างๆ กัน การทดลองทำโดยใช้โลหะผสมนิเกิลและโครเมี่ยมเป็นตัวกลางในการเปรียบเทียบโดยทำการยึดด้านเรียบของชิ้นโลหะผสมรูปทรงกระบอก (เส้นผ่านศูนย์กลาง 5...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: ปรารมภ์ ซาลิมี
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3224
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความแข็งแรงพันธะเฉือนในการยึดติด อะลูมินัสเซรามิก อินซีแรม กับเคลือบฟันหรือเนื้อฟันโดยใช้เรซินซีเมนต์และการปรับสภาพผิวต่างๆ กัน การทดลองทำโดยใช้โลหะผสมนิเกิลและโครเมี่ยมเป็นตัวกลางในการเปรียบเทียบโดยทำการยึดด้านเรียบของชิ้นโลหะผสมรูปทรงกระบอก (เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มม. ยาว 10 มม.) กับเคลือบฟัน เนื้อฟัน และอินซีแรม ที่ทำการตัดผิวเรียบและฝังอยู่ในเรซิน ด้วยเรซินซีเมนต์ ก่อนการยึดติด ทำการปรับสภาพผิวตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต เรซินซีเมนต์ที่ใช้ได้แก่ พานาเวีย21 ซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี และเรซิโนเมอร์ (ร่วมกับออลบอนด์2) นำชิ้นตัวอย่างที่ยึดติดแล้วเก็บไว้ในความชื้นสัมพัทธ์ 100% อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมงก่อนนำไปทดสอบความแข็งแรงพันธะเฉือนด้วยเครื่องทดสอบยูนิเวอร์ซัล ความเร็วตัดขวาง 2 มม./นาที ผลการทดสอบและการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่าพานาเวีย21 สามารถยึดเคลือบฟัน เนื้อฟัน ติดกับ อินซีแรมได้ดีกว่าและซูเปอร์บอนด์ ซีแอนด์บี อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่เรซินโนเมอร์ร่วมกับออลบอนด์ 2 ไม่สามารถวิเคราะห์ผลได้เนื่องจากไม่สามารถยึดติดกับโลหะตัวกลางที่ใช้ในการทดลองได้ดีพอ