อิทธิพลของคอลลาเจนต่อการแสดงออกของเอนไซม์ MMP-2 และ MMP-9 ในเซลล์ไลน์ที่เตรียมจากมะเร็ง สแควมัสเซลล์คาชิโนมา : รายงานผลการวิจัย

มะเร็งชนิดสแควมัสเซลล์เป็นมะเร็งชนิดที่พบมากในบริเวณช่องปากและใบหน้า และมีอัตราการแพร่กระจายที่สูง ดังนั้นการเข้าใจธรรมชาติของมะเร็งชนิดนี้มากขึ้นน่าจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำนายการดำเนินไปของโรครวมทั้งแนวทางในการรักษาต่อไป วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาการแสดงออกของเอนไซม์ในกลุ่มเ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: นีรชา สารชวนะกิจ, ประสิทธิ์ ภวสันต์, อาทิพันธุ์ พิมพ์ขาวขำ
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3233
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:มะเร็งชนิดสแควมัสเซลล์เป็นมะเร็งชนิดที่พบมากในบริเวณช่องปากและใบหน้า และมีอัตราการแพร่กระจายที่สูง ดังนั้นการเข้าใจธรรมชาติของมะเร็งชนิดนี้มากขึ้นน่าจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำนายการดำเนินไปของโรครวมทั้งแนวทางในการรักษาต่อไป วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาการแสดงออกของเอนไซม์ในกลุ่มเจลาติเนส (MMP-2 และ MMP-9) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องในกระบวนการแทรกซึมและแพร่กระจายของมะเร็งโดยทั่วไป โดยใช้เซลล์ไลน์ที่เตรียมได้จากมะเร็งชนิดสแควมัสเซลล์ของมนุษย์ (HSCs; HSC-3, 6 และ 7) ทดสอบกับโปรตีนในเมทริกซ์นอกเซลล์ คือคอลลาเจน และเซลล์ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันคือ ไฟโปรบลาสต์ที่ได้จากเนื้อเยื่อเหงือกของมนุษย์ (HGF) รวมทั้งศึกษาถึงอิทธิพลของคอลลาเจนที่มีต่อการเคลื่อนที่ของเซลล์ (HSCs ผลการทดลองพบว่าคอลลาเจนชนิดที่ I ที่มีโครงสร้างสามมิติ (เจล) สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ MMP-2ใน HSC-3, 6 และ 7 ได้ดีกว่าคอลลาเจนชนิดที่ I ดราย ในขณะที่คอลลาเจนชนิดที่ IV ดรายไม่มีผลต่อการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ MMP-2 นอกจากนี้คอลลาเจนทุกชนิดและรูปแบบที่ใช้งานวิจัยนี้ไม่ทำให้เกิดแอคทีป MMP-9 ผลการทดลองยังแสดงว่าระดับของแอคทีฟ MMP-2 ที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับระดับการแสดงออกของอาร์เอ็นเอนำรหัสของเอนไซม์ MT1-MMP อีกด้วย นอกจากนี้รูปร่างและการเรียงตัวของเซลล์บนคอลลาเจนชนิดที่ I ที่มีโครงสร้างสามมิติ (เจล) มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนโดย HSC-3 จะแผ่กระจายไปทั่วพื้นผิวคอลลาเจน ในขณะที่ HSC-6 และ HSC-7 จะรวมตัวอยู่เป็นกลุ่ม ๆ สำหรับการเลี้ยงเซลล์ HGF ร่วมกับเซลล์ HSC-3 หรือ HSC-7 โดยให้มีการสัมผัสกันระหว่างเซลล์ พบว่าทำให้เกิดแอคทีฟ MMP-2 ในขณะที่การเลี้ยงร่วมกับ HSC-6 ส่งผลให้มีการหลั่งเอนไซม์ MMP-9 เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าทั้งคอลลาเจนและ HGF มีอิทธิพลต่อการกระตุ้นการทำงานของ MMP-2 ใน HSCs สำหรับอิทธิพลของคอลลาเจนชนิดที่ I และ IV ต่อการเคลื่อนที่นั้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเซลล์ไลน์พบว่า จำนวนเซลล์ของ HSC-3 ที่เคลื่อนที่ผ่านคอลลาเจนทั้งสองชนิดมีมากกว่า HSC-6 และ HSC-7 ตามลำดับ ซึ่งผลการศึกษาในด้านรูปร่าง การเรียงตัว และความสามารถในการเคลื่อนที่ผ่านคอลลาเจนทั้งสองชนิด ชี้ให้เห็นในเบื้องต้นว่า HSC-3 มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรุนแรง และอยู่ในระยะของดิฟเฟอเรนซิเอชั่นที่ต่ำกว่า HSC-6 และ HSC-7 ตามลำดับ ทั้งนี้สอดคล้องกับระดับของแอคทีฟ MMP-2 ที่เซลล์สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เซลล์เข้าสู่กระบวนการแพร่กระจายต่อไป