การรำในพิธีทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ในอุบลราชธานี
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Theses and Dissertations |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2013
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32528 http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1009 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
id |
th-cuir.32528 |
---|---|
record_format |
dspace |
institution |
Chulalongkorn University |
building |
Chulalongkorn University Library |
continent |
Asia |
country |
Thailand Thailand |
content_provider |
Chulalongkorn University Library |
collection |
Chulalongkorn University Intellectual Repository |
language |
Thai |
topic |
ฌาปนกิจ -- ไทย -- อุบลราชธานี พิธีศพ -- ไทย -- อุบลราชธานี การรำ -- ไทย -- อุบลราชธานี การรำ -- แง่ศาสนา การรำ -- ประวัติและวิจารณ์ Cremation -- Thailand -- Ubon Ratchathani Funeral rites and ceremonies -- Thailand -- Ubon Ratchathani Dance -- Thailand -- Ubon Ratchathani Dance -- Religious aspects Dance -- History and criticism |
spellingShingle |
ฌาปนกิจ -- ไทย -- อุบลราชธานี พิธีศพ -- ไทย -- อุบลราชธานี การรำ -- ไทย -- อุบลราชธานี การรำ -- แง่ศาสนา การรำ -- ประวัติและวิจารณ์ Cremation -- Thailand -- Ubon Ratchathani Funeral rites and ceremonies -- Thailand -- Ubon Ratchathani Dance -- Thailand -- Ubon Ratchathani Dance -- Religious aspects Dance -- History and criticism วิราณี แว่นทอง การรำในพิธีทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ในอุบลราชธานี |
description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
author2 |
สวภา เวชสุรักษ์ |
author_facet |
สวภา เวชสุรักษ์ วิราณี แว่นทอง |
format |
Theses and Dissertations |
author |
วิราณี แว่นทอง |
author_sort |
วิราณี แว่นทอง |
title |
การรำในพิธีทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ในอุบลราชธานี |
title_short |
การรำในพิธีทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ในอุบลราชธานี |
title_full |
การรำในพิธีทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ในอุบลราชธานี |
title_fullStr |
การรำในพิธีทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ในอุบลราชธานี |
title_full_unstemmed |
การรำในพิธีทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ในอุบลราชธานี |
title_sort |
การรำในพิธีทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ในอุบลราชธานี |
publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
publishDate |
2013 |
url |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32528 http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1009 |
_version_ |
1724630012668149760 |
spelling |
th-cuir.325282021-12-02T03:47:09Z การรำในพิธีทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ในอุบลราชธานี Hasadiling dance in Ubolratchathani cremation ceremony วิราณี แว่นทอง สวภา เวชสุรักษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ ฌาปนกิจ -- ไทย -- อุบลราชธานี พิธีศพ -- ไทย -- อุบลราชธานี การรำ -- ไทย -- อุบลราชธานี การรำ -- แง่ศาสนา การรำ -- ประวัติและวิจารณ์ Cremation -- Thailand -- Ubon Ratchathani Funeral rites and ceremonies -- Thailand -- Ubon Ratchathani Dance -- Thailand -- Ubon Ratchathani Dance -- Religious aspects Dance -- History and criticism วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 การศึกษาเรื่องการรำในพิธีทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ในอุบลราชธานีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาองค์ประกอบการแสดง และวิเคราะห์กระบวนท่ารำที่ใช้ในการประกอบพิธีทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ในจังหวัดอุบลราชธานีโดยศึกษาจากเอกสารประวัติศาสตร์ การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ การสังเกตการแสดงสด วีดีทัศน์และภาพถ่าย ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดศาสนาพุทธได้แพร่หลายจากประเทศอินเดียเข้ามาสู่สุวรรณภูมิรวมทั้งประเทศไทยความเชื่อในทางศาสนาได้แทรกอยู่ในงานจิตรกรรม ประติมากรรม ตลอดจนวรรณกรรมเรื่องไตรภูมิพระร่วงจัดเป็นวรรณกรรมศาสนาเรื่องหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนกหัสดีลิงค์ในป่าหิมพานต์ มีการพบหลักฐานของนกหัสดีลิงค์หลายลักษณะตามศาสนสถานต่าง ๆ ด้วยเหตุที่สังคมไทยในอดีตมีความเชื่อว่าสัตว์บางชนิดรวมทั้งนกหัสดีลิงค์เป็นพาหนะในการนำดวงวิญญาณของชนชั้นสูงสู่สวรรค์ ดังนั้นจึงนิยมใช้พาหนะรูปสัตว์อยู่ในขบวนแห่ศพของชนชั้นสูงมาจนถึงปัจจุบัน พิธีทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ในจังหวัดอุบลราชธานีเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2316 โดยเจ้านายหรือคนที่สืบเชื้อสายอัญญาสี่ที่มาจากเมืองเชียงรุ้งได้นำพิธีศพดังกล่าวมาแพร่หลาย ใช้ประกอบพิธีเฉพาะเจ้านายและพระเถระ ในการทำพิธีมีขบวนแห่หลายขบวน เมรุลอยรูปนกหัสดีลิงค์เป็นขบวนหนึ่งที่เน้นความโดดเด่นของนกหัสดีลิงค์โดยมีลักษณะสำคัญคือ หัวเป็นช้าง ลำตัวเป็นนก หางเป็นหงส์ ขั้นตอนในพิธีแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนคือ 1.เตรียมขบวนแล้วเคลื่อนขบวน 2.ตั้งขบวนในสถานที่ประกอบพิธี 3.ก่อนประกอบพิธีเผาศพ 4.ประกอบพิธีเผาศพ 5.หลังพิธีเผาศพ องค์ประกอบด้านเครื่องแต่งกายของ 2 กลุ่มแต่งแบบชนชั้นสูงของลาว แต่แตกต่างกันในรายละเอียดโดยกลุ่มที่ 1 แต่งกายประณีตกว่ากลุ่ม 2 ถือศรเหมือนกันแต่วัสดุและขนาดแตกต่างกัน เครื่องดนตรีใช้เครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองเพลงมีจำนวน 3 เพลงเหมือนกันทั้งสองกลุ่ม แต่ทำนองเพลงต่างกัน กลุ่มแรกใช้ทำนองระดับปานกลางและเร็ว กลุ่ม 2 ใช้ทำนองเพลงทั้งระดับช้าปานกลางและเร็ว ทั้งนี้กลุ่มแรกเลือกใช้เพลงในช่วงสุดท้ายเพลงใดเพลงหนึ่งอย่างอิสระกว่ากลุ่ม 2 การแสดงนาฏยศิลป์ในพิธีกรรมปรากฏอยู่ในขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 3 เนื้อหาแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับนางเทียมเจ้านางสีดาเข้าทรงแล้วเดินทางไปฆ่านกหัสดีลิงค์ในเหตุการณ์ตอนนี้มีผู้แสดง 2 คน คือผู้แสดงหญิงสวมบทบาทนางเทียมเจ้านางสีดา และผู้ชาย 1 คนอยู่ในตัวนกเพื่อคอยควบคุมการเคลื่อนไหวส่วนศีรษะนก ในปัจจุบันผู้แสดงเป็นนางเทียมเจ้านางสีดาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มแรกกลุ่มดั้งเดิมเป็นกลุ่มที่สืบเชื้อสายจากเจ้านาย และกลุ่มที่สองกลุ่มที่เกิดขึ้นใหม่เป็นกลุ่มที่สมัครใจแสดงโดยมิได้สืบเชื้อสายจากเจ้านาย แบบแผนของการแสดงทั้งสองกลุ่มเป็นการรำประกอบทำนองเพลงแบ่งออกเป็น 3 ช่วงได้แก่ 1.การรำเพื่อเดินทาง 2.การต่อสู้กับนกด้วยศร 3.การแสดงความดีใจที่ฆ่านกได้สำเร็จ ลักษณะเด่นในแต่ละช่วงคือ ช่วงแรกการใช้ท่ารำท่าเดียวในกลุ่ม 1 และท่ารำหลายท่าในกลุ่ม 2 ช่วงที่สอง กลุ่ม 1 รำท่าเดียวและรำอาวุธ กลุ่ม 2 ท่ารำมีหลายท่าและรำอาวุธ ช่วงสุดท้ายแสดงท่าทางดีใจด้วยการร้องไชโย 3 ครั้ง ลีลาการเคลื่อนไหวที่สำคัญคือ กลุ่ม 1 เน้นพลังที่แขน กลุ่ม 2 เน้นพลังส่วนล่างด้วยการส่ายสะโพกโดยส่วนบนแสดงท่านิ่ง อารมณ์ในการแสดงคือกลุ่ม 1 แสดงอารมณ์ดุดันและมุ่งมั่น กลุ่ม 2 แสดงอารมณ์เคร่งขรึมสีหน้าและแววตาเน้นการใช้สมาธิต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การใช้พื้นที่ในการแสดงของทั้งสองกลุ่ม ประกอบด้วย การใช้ทิศทางเคลื่อนไปข้างหน้า และการใช้พื้นที่กระจายไปทั่วทุกจุดของสถานที่ประกอบพิธี ในปัจจุบันคนหันไปนิยมจ้างกลุ่ม 2 ทำพิธี เนื่องจากค่าจ้างถูกกว่ากลุ่ม 1 ด้วยเหตุนี้อาจทำให้องค์ความรู้ดั้งเดิมของกลุ่ม 1 เริ่มไม่แพร่หลายและอาจเสื่อมสูญไปในที่สุด ผู้วิจัยจึงเห็นว่างานวิจัยชิ้นนี้ จะช่วยอนุรักษ์พิธีกรรมดังกล่าวให้เป็นวิทยาทานในการศึกษาศิลปะพื้นบ้านสืบไป This study aims to explore the history of the elements of the Hasadiling dance and analyze the dancing postures used by investigating historical records, expert interviews, observations of live performances, and analyses of videos and photographs. The research results were as follows. With respect to the history of the Hasadiling dance, Buddhist philosophies had spread from India into the Suvarnabhumi region, including Thailand, influencing murals, sculptures, and literary works. Tripoom Pra Ruang was one of the religious works incorporating content about the Hasadiling bird of the Himmapan Forest. Evidence for various forms of the bird can also be found at several religious places. Because in the past, Thai society believed that some animals, including the Hasadiling bird, were vehicles which led aristocrats’ souls to heaven, the use of vehicles with animal-like features has become popular among this group of people. Only for members of royalty or monks, the Hasadiling-style cremation ceremony first appeared in Ubolratchathani in 2316 B.E and was disseminated by royalty family members or descendents of the fourth Anya generation from Chiangroong. In the ceremony, there were several corteges, one component of which was the Hasadiling-bird-styled floating crematorium emphasizing the extraordinary features of the bird, namely the head of an elephant, the body of a bird, and the tail of a swan. This style of ceremony consisted of five stages: 1) cortege preparation and proceeding, 2) cortege formation at the cremation venue, 3) before the ceremony, 4) during the ceremony, and 5) after the ceremony. In addition, the performers could be divided into two groups, based on the person acting as Princess Sida (see below). The first group was those descending from royalty, while the second was those who would like to take part in the dance without being born as royals.As for costume components, both groups were dressed in a high Laotian style, but the first group’s costume was more elaborate than that of the second one. In addition, although both groups held arrows, the materials and sizes of the arrows differed. Third, both groups used local northeastern musical instruments and featured three songs. However, the difference in this regard was that the first group’s songs were mid- to fast tempo, whereas those of the second group were slow, mid- and fast tempo. Also, the first group’s selection of music in the last part of the ceremony was freer than the second group’s. Regarding performance, the Hasadiling dance appeared in the first and third stages of the ceremony. The contents of the show were about Princess Sida traveling to kill the Hasadiling bird. In this part, a woman acted as Princess Sida, and a man was in a Hasidiling-bird dummy to control the movement of the head. The pattern of performance was the same for both groups, consisting of three stages: 1) travel dance, 2) fighting with the bird with an arrow, and 3) expressing joy from success in killing the bird. For each stage, there were exceptional features and differences between the two groups. In the beginning stage, the first group performed only one set of dancing postures, whereas the second one performed several. During the second stage, the first group again performed only one set, followed by a weapon dance, while the second one performed several sets of dancing postures and then a weapon dance. In the final stage, both groups similarly expressed joy by shouting “Chaiyo” (hooray in English) three times. However, they were also differences. For the first group, the focus was on arm strength. On the other hand, the second group emphasized the strength of the lower part of the body by shaking hips while keeping the upper part still. In terms of emotional expressions, the first group displayed aggression and determination, whereas the second one showed solemnity in the face and the eyes. Finally, the two groups utilized the space by moving forward and spreading out over the cremation venue. At present, hiring popularity turned to the second group due to lower costs. For this reason, the first group’s long-standing knowledge became less widespread and might finally disappear. Thus, it is hoped that this research would preserve these people’s body of knowledge and this form of local art. 2013-06-26T14:24:02Z 2013-06-26T14:24:02Z 2551 Thesis http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32528 10.14457/CU.the.2008.1009 th http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1009 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย application/pdf จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |