วิเคราะห์เดี่ยวซออู้เพลงกราวใน ทางครูฉลวย จิยะจันทน์

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: ณัฐพงศ์ แก้วสุวรรณ์
Other Authors: ขำคม พรประสิทธิ์
Format: Theses and Dissertations
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2014
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42299
http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.962
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
id th-cuir.42299
record_format dspace
institution Chulalongkorn University
building Chulalongkorn University Library
continent Asia
country Thailand
Thailand
content_provider Chulalongkorn University Library
collection Chulalongkorn University Intellectual Repository
language Thai
topic ฉลวย จิยะจันทน์
ซออู้
ดนตรีไทย
การวิเคราะห์ทางดนตรี
Musical analysis
spellingShingle ฉลวย จิยะจันทน์
ซออู้
ดนตรีไทย
การวิเคราะห์ทางดนตรี
Musical analysis
ณัฐพงศ์ แก้วสุวรรณ์
วิเคราะห์เดี่ยวซออู้เพลงกราวใน ทางครูฉลวย จิยะจันทน์
description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
author2 ขำคม พรประสิทธิ์
author_facet ขำคม พรประสิทธิ์
ณัฐพงศ์ แก้วสุวรรณ์
format Theses and Dissertations
author ณัฐพงศ์ แก้วสุวรรณ์
author_sort ณัฐพงศ์ แก้วสุวรรณ์
title วิเคราะห์เดี่ยวซออู้เพลงกราวใน ทางครูฉลวย จิยะจันทน์
title_short วิเคราะห์เดี่ยวซออู้เพลงกราวใน ทางครูฉลวย จิยะจันทน์
title_full วิเคราะห์เดี่ยวซออู้เพลงกราวใน ทางครูฉลวย จิยะจันทน์
title_fullStr วิเคราะห์เดี่ยวซออู้เพลงกราวใน ทางครูฉลวย จิยะจันทน์
title_full_unstemmed วิเคราะห์เดี่ยวซออู้เพลงกราวใน ทางครูฉลวย จิยะจันทน์
title_sort วิเคราะห์เดี่ยวซออู้เพลงกราวใน ทางครูฉลวย จิยะจันทน์
publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
publishDate 2014
url http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42299
http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.962
_version_ 1724630204948676608
spelling th-cuir.422992019-09-30T08:01:26Z วิเคราะห์เดี่ยวซออู้เพลงกราวใน ทางครูฉลวย จิยะจันทน์ A musical analysis of kraw-nai solo for saw-u by Khru Charouy Jiyajun ณัฐพงศ์ แก้วสุวรรณ์ ขำคม พรประสิทธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ ฉลวย จิยะจันทน์ ซออู้ ดนตรีไทย การวิเคราะห์ทางดนตรี Musical analysis วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 ผลการวิจัยพบว่าเพลงกราวในทางครูฉลวย จิยะจันทน์มีชื่อเสียงจากอดีตจนปัจจุบันนี้ได้ สืบเนื่องมาจากการแสดงเดี่ยวกราวในเพื่อเป็นการเผยแพร่ออกสู่สาธารณชน คุณครูได้รับการถ่ายทอดจากครูพระสรรเพลงสรวง (บัว กมลวาทิน) ต่อมาครูฉลวย จิยะจันทน์ จึงได้ถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ในสายคุณครูอีกทอดหนึ่ง โครงสร้างการเดี่ยวซออู้เพลงกราวในทางครูฉลวย จิยะจันทน์ มีโครงสร้างการโยนตาม กลุ่มเสียงต่างๆครบ ๖ เสียง ๖ กลุ่มการโยน เช่นเดียวกับทำนองหลักโดยสมบูรณ์ มีการยึดหลักโครงสร้างเดียวกับทำนองหลัก หากแต่มีการใช้หลักการประพันธ์ในการยืดยุบสำนวนเดิมจากโครงสร้างทำนองหลักทางฆ้องมาแปรทำนองให้เป็นลักษณะของทางเดี่ยวซออู้ตามขนบอย่างลุ่มลึกและน่าสนใจจากการวิเคราะห์สังคีตลักษณ์และกลวิธีพิเศษในการเดี่ยวซออู้เพลงกราวในทางครูฉลวย จิยะจันทน์ ผู้วิจัยพบว่ามีการใช้โทน-รำมะนา ตีหน้าทับกราวนอกประกอบจังหวะ มีลักษณะการดำเนินทำนองและกลวิธีพิเศษต่างๆอย่างเป็นลักษณะเฉพาะ แบ่งเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรกคือ สำนวนกลอน พบ ๕ ประการ ได้แก่ สำนวนการเรียงตัวของนิ้ว สำนวนกลอนเถาวัลย์ ลักษณะการเล่นของสำนวน เช่น การยืนเสียง การซ้ำสำนวน การทอนสำนวน เป็นต้น สำนวนการครวญเสียงโดยสอดแทรกกลวิธีพิเศษต่างๆไว้ สำนวนปี่ในลักษณะการย้ำกลุ่มโน้ตมากกว่า ๑ ครั้งและครั้งเดียวจบ ส่วนที่สองคือ กลวิธีพิเศษ พบ ๑๔ ประการ ได้แก่ การเปิดเสียง การรูดสาย การเลียนสำเนียงปี่ การคลึงเสียงหรือคลึงนิ้ว การขยักเสียง การสะอึกเสียง การสะบัดนิ้ว ๒-๕เสียง การสะบัดคันชัก การรวบเสียงหรือรวบนิ้ว การขยี้ การเน้นเสียงด้วยการพรมเสียงสั้น การพรมเสียงยาว การรัวคันชัก การครวญเสียง ส่วนที่สาม คือ วิธีการบรรเลง พบ ๕ ประการ ได้แก่ การใช้นิ้วกดสายด้วยนวมนิ้วและปลายนิ้วสลับกัน การใช้ ๒-๓ นิ้วในการจับคันชัก การขึ้นประโยคด้วยคันชักเข้าก่อน ระบบการใช้คันชักทั้งแบบตามขนบและไม่ตายตัว การเคลื่อนระดับมือลงมาปฏิบัติในช่วงเสียงสูงสลับ (ลง-ขึ้น) ไปมามากกว่า ๑ รอบและการเคลื่อนลงมารอบเดียวจบ ทั้งนี้ จุดประสงค์ของการใช้ลักษณะดังกล่าวปรากฏขึ้นเพื่อคุณภาพเสียงเป็นสำคัญ เน้นเสียงที่นุ่มนวล มีเสียงโต มีความต่อเนื่องของเสียง สำนวนและอารมณ์เพลง อีกทั้งเพื่อเป็นการเอื้อต่อความคล่องตัวของผู้บรรเลงและทำให้ไม่ขัดต่อสำนวนกลอนในขณะที่บรรเลงในอัตราที่กระชับ Khru Charouy’s Kraw-Nai Solo is a famous style from past to present, his performance always impress the public audiences. Furthermore, his signature musical tricks and special features derived from Khru Phrasarn plengsruang (Bua Komolwatin) and the mater himself strongly conserved the traditional manner of Thai musical teaching, bequeathed from his ancient masters. The structure of his solo has 6 crucial keynotes and 6 clusters of look-yon, as same as the main melody. The solo relies on the mains structure like the main melody does, but Khru Charouy eloquently and interestingly asserted his composing technique by abridging the original tone that relied on the structure of main melody from the gong keynotes into his very own saw-bu solo style. According to the analysis on musical forms and the special techniques found in Khru Charouy’s solo, there were the uses of Tone-Rmana and drum pattern of Kraw-nok to decorate the rhythm. It has unique characteristics of rhythm and tones, as well as the special techniques. The solo style divided into 3 categories; the unique style first and second. There are how to play and melody with 10 techniques: the two strings pressing styles on the strings by switching between pouch and finger tips on the string board. The fingers position and melody tone are like curled vine; the use of two or three fingers for saw bow handling, performing the thang-pun, the beginning part of melody by pulling in the bow first. The bow system can be either traditional or improvised, for examples, maintaining the pattern tone, pattern repetition and pattern abridgement. Furthermore, the groaning melancholy part of this solo composed by various special techniques; the rapid scratching of the bow, swinging the fingers to create 3 to 4 different sounds, the improvised chaotic crushing of patterns, sound pressing and strings drawing. The research also reveals that the rhythms imitate Thai flute pattern by repeating the keynotes once and several times. The level of the musician’s hand on the string board moved down during the switching of high tone (down-up), once and multiple times. For the third category of these unique characteristics, there are 14 features of this solo, comprising; the opening of tone, strings drawing, the imitation of the flute’s sound patterns, sound pressing with fingers, punctuation for pauses in the rhythm, hiccup-like pausing technique, swinging the fingers in order to create 2-5 different tones, single bow swing for the singular tone, combining the sound consistency by folding up the fingers on the string board, sound crushing, emphasizing the short tone sound, long clusters of sound, the rapid scratching of the bow and finally the melancholic-sobbing tone. With these techniques, the performer would be able to generate a decent quality of smooth and broad sound with continuous tone as well as maintaining the song sentiment. Furthermore, these complex techniques would facilitate the performer to adapt the rhythm harmoniously without any inconsistency during the brief-compact part of the song. 2014-05-06T03:08:33Z 2014-05-06T03:08:33Z 2555 Thesis http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42299 10.14457/CU.the.2012.962 th http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.962 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย application/pdf จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย